ROI ของแพลตฟอร์ม Low-Code ที่องค์กรธุรกิจอาจไม่รู้

พฤหัส ๒๔ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๐๘:๕๑
โดย นายเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์
ROI ของแพลตฟอร์ม Low-Code ที่องค์กรธุรกิจอาจไม่รู้

ภายใต้แรงกดดันของการนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้าและพนักงาน ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนระบบภายในองค์กรธุรกิจที่มีอยู่สำหรับรับมือกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป ฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช (Forrester Research) ประเมินว่าภายในสิ้นปี 2564 องค์กรธุรกิจ 75% จะหันมาใช้แพลตฟอร์ม Low-Code ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน

ประโยชน์ของแพลตฟอร์ม Low-Code มีมากมาย เช่น ช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความคล่องตัวให้องค์กรและเพิ่มความรวดเร็วในการเปิดให้บริการแอปพลิเคชัน ขณะที่การสร้างซอฟต์แวร์ด้วยวิธีการพัฒนาแบบเดิมจะต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง อย่างไรก็ดี คำถามที่น่าสนใจก็คือ แพลตฟอร์ม Low-Code ให้ผลตอบแทนการลงทุน (Return on Investment - ROI) แก่ธุรกิจมากน้อยเพียงใด

กรอบโครงสร้าง ROI ของแพลตฟอร์ม Low-Code

รายงานการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมของเอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems' Total Economic Impact (TEI) Study) ฉบับนี้เป็นข้อมูลวิเคราะห์จากฟอร์เรสเตอร์ คอนซัลติ้ง (Forrester Consulting) ที่ประเมินผลกระทบด้านการเงินจากการปรับใช้เทคโนโลยี โดยพิจารณาต้นทุน ค่าใช้จ่าย ประโยชน์ที่ได้รับ ความยืดหยุ่น และปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน

รายงานดังกล่าวอ้างอิงการสัมภาษณ์ของฟอร์เรสเตอร์กับองค์กรธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม Low-Code ของเอาท์ซิสเต็มส์ และเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่องค์กรได้รับช่วงระยะเวลา 3 ปีกับองค์กรต้นแบบ โดยพิจารณาจากโครงสร้างและลักษณะรูปแบบขององค์กรที่ถูกสัมภาษณ์

  1. ประหยัดค่าใช้จ่ายการพัฒนาแอปพลิเคชัน 24% สูงสุดถึง 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ขณะที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างประสบปัญหาขาดแคลนนักพัฒนา แต่องค์กรที่ใช้แพลตฟอร์ม Low-Code กลับสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมงานฝ่ายพัฒนาและปรับปรุงการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานฝ่ายธุรกิจและฝ่ายพัฒนา เพื่อให้สามารถนำเสนอแอปพลิเคชันได้รวดเร็วขึ้น เทียบเท่ากับองค์กรแบบดิจิทัลเนทีฟ (Digital Natives Organization)

การใช้แนวทางพัฒนานี้ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยคิดเป็นสัดส่วนที่ 24% ของผลประโยชน์โดยรวมที่องค์กรจะได้รับ หรือสูงสุด 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามที่ระบุไว้ในรายงาน TEI

คุณสมบัติหลักของแพลตฟอร์ม Low-Code ประสิทธิภาพสูง ที่เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงานแก่นักพัฒนา มีดังนี้:

  • ความสามารถการนำกลับมาใช้: ทีมงานฝ่ายพัฒนาเร่งการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยการใช้คอมโพเนนต์ที่สร้างไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีวางจำหน่ายใน Forge (มาร์เก็ตเพลสของเอาท์ซิสเต็มส์) หรือสร้างคอมโพเนนต์ที่สามารถนำกลับมาใช้ด้วยตนเอง ("ยิ่งคุณสร้างเตรียมไว้มากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ความจำเป็นในการสร้างใหม่น้อยลงเท่านั้น")
  • DevOps แบบคลิกเดียว: ระบบอัตโนมัติช่วยให้ธุรกิจเริ่มต้นใช้งานแอปพลิเคชันเวอร์ชั่นใหม่ได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาที โดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดความสามารถที่โดดเด่นในกระบวนการนี้ คือ TrueChange(TM) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของบริการอัตโนมัติเพื่อรองรับการปรับใช้เวิร์กโฟลว์ของแอปพลิเคชัน
  • การเขียนโค้ดแบบ High-Abstraction: การเขียนโค้ดแบบ Full-Stack ทำได้ทั้งในรูปแบบของการสร้างโมเดลแบบ Visual ระดับสูงเพื่อรองรับการประสานงานร่วมกับฝ่ายธุรกิจ และการเขียนโค้ดที่มี Abstraction ระดับต่ำ ซึ่งเหมาะกับมือโปรอย่างเช่น ภาษา JS, C# เป็นต้น
  1. ประหยัดค่าใช้จ่าย 7% หรือสูงสุด 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการปรับปรุงและการซัพพอร์ตแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง

แอปพลิเคชันที่พัฒนาด้วยแพลตฟอร์ม Low-Code มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและการปรับเปลี่ยนน้อยกว่า จากผลการศึกษายังชี้ว่าการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะมีการสะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีต่อปี และโดยปกติแล้วอยู่ในสัดส่วนที่สูงกว่า 7% ของประโยชน์โดยรวมที่ลูกค้าได้รับ และอาจสูงถึง 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ฟีเจอร์พื้นฐานของแพลตฟอร์ม Low-Code ประสิทธิภาพสูงที่ช่วยให้ธุรกิจได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวตรงกับที่ระบุไว้ในข้อก่อนหน้า ซึ่งได้แก่:

  • การนำกลับมาใช้ (Reusability)
  • ระบบอัตโนมัติ (Automation)
  • การซ่อนรายละเอียดในการเขียนโค้ด (Abstraction)
  1. รายได้เพิ่มขึ้น 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการนำเสนอโครงการธุรกิจใหม่ได้รวดเร็วขึ้น (ประมาณ 26% ของผลประโยชน์โดยรวม)

ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนา ธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม Low-Code สามารถเปิดตัวโครงการธุรกิจใหม่ ๆ ที่สำคัญได้รวดเร็วมากขึ้น เช่น ระบบที่รองรับการติดต่อกับลูกค้า

นอกจากนี้ องค์กรยังได้รับผลประโยชน์ด้านการเงินเร็วขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้วิธีการพัฒนาโปรแกรมแบบเดิม ๆ

  1. ประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 38% หรือสูงสุด 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีของเอาท์ซิสเต็มส์ องค์กรธุรกิจจะสามารถลดระยะเวลาในการดำเนินโครงการพัฒนา และเปิดตัวโครงการริเริ่มภายในองค์กรได้ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงความคล่องตัวและประสิทธิภาพผลลัพธ์ทางธุรกิจของบริษัทได้รวดเร็วมากขึ้น

โครงการริเริ่มที่ว่านี้หมายรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือที่จะเข้ามาแทนที่กิจกรรมที่ต้องทำด้วยตนเองและสิ้นเปลืองเวลา ซึ่งช่วยให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

  1. ประหยัดค่าใช้จ่าย 765,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยการยกเลิกการใช้แอปพลิเคชันรุ่นเก่า

นอกจากนี้ องค์กรยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายหลายแสนดอลลาร์สหรัฐฯ จากการจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้แพลตฟอร์ม Low-Code สร้างแอปพลิเคชันใหม่ทดแทนระบบรุ่นเก่า

ประโยชน์เพิ่มเติมที่ไม่สามารถวัดเป็นมูลค่าได้: ได้แก่ ความปลอดภัย คุณภาพ การยกระดับทักษะ และระบบโมบายล์

นอกเหนือจากผลประโยชน์ที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจนแล้ว บริษัทที่ปรับใช้แพลตฟอร์ม Low-Code ประสิทธิภาพสูงยังได้รับประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในรายงาน TEI ได้แก่

  • ปรับปรุงความสามารถในการปรับขนาด: ผู้ให้สัมภาษณ์ระบุว่าสามารถปรับขนาดแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายมากขึ้น
  • การตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ: องค์กรต่าง ๆ ได้รับผลประโยชน์จากการตรวจสอบด้านความปลอดภัย การควบคุมการเข้าถึง และการยืนยันตัวตน ซึ่งใช้กับทุกแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นด้วยแพลตฟอร์ม Low-Code
  • ปรับปรุงการพัฒนาและความคล่องตัวขององค์กร: องค์กรสามารถปรับตัวและดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้รวดเร็วกว่า และแพลตฟอร์ม Low-Code ยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการพัฒนาเพื่อรองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งช่วยยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันและเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและพนักงาน
  • โค้ดมีคุณภาพสูงขึ้น: หลังจากที่ปรับใช้เทคโนโลยี Low-Code ทีมงานฝ่ายพัฒนาสามารถลดข้อผิดพลาดโดยรวมในการทำงาน รวมไปถึงแก้ไขจุดบกพร่องของแอป และปิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัย
  • ยกระดับทักษะของบุคลากรสำหรับการพัฒนาด้วยวิธีการแบบใหม่: องค์กรจะสามารถเสริมสร้างศักยภาพให้แก่บุคลากรด้วยประสบการณ์ด้านเทคนิคที่ไม่ได้มาจากการพัฒนาตามแนวทางแบบเก่า
  • และเพิ่มความสะดวกในการพัฒนาโมบายล์แอปพลิเคชัน: แพลตฟอร์ม Low-Code ช่วยเพิ่มความสะดวกในการนำเสนอฟีเจอร์แบบโมบายล์ ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะที่เชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันบนเดสก์ท็อป/แล็ปท็อป หรือในรูปแบบของโมบายล์แอปที่ใช้งานได้อย่างอิสระ

เกี่ยวกับเอาท์ซิสเต็มส์

เอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 ด้วยพันธกิจในการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่องค์กรต่าง ๆ สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน OutSystems ประกอบด้วยเครื่องมือประสิทธิภาพสูงที่เชื่อมต่อกันและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างและติดตั้งใช้งานแอปพลิเคชันที่หลากหลายได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วนภายในองค์กร ด้วย Community member กว่า 435,000 ราย พนักงานมากกว่า 1,500 คน พันธมิตรกว่า 350 ราย และลูกค้าหลายพันรายใน 87 ประเทศ ใน 22 กลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจของเอาท์ซิสเต็มส์ครอบคลุมทั่วโลก และช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทฯ ได้ที่ www.outsystems.com หรือติดตามเราบน Twitter @OutSystems หรือ LinkedIn ที่ https://www.linkedin.com/company/outsystems.

ที่มา: พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง

ROI ของแพลตฟอร์ม Low-Code ที่องค์กรธุรกิจอาจไม่รู้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version