ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย สานฝันอีกขั้นสู่การเป็นผู้นำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ด้วยรางวัลเกียรติยศการบริหารจัดการท่าเรือสีเขียวระดับสากล (GPAS)

พฤหัส ๒๔ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๑๑:๓๓
บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ได้รับรางวัล Green Port Award System (GPAS) ประจำปี พ.ศ. 2565 จากโครงการที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาท่าเรือสีเขียวในภูมิภาคเอเปค (APEC) นับเป็นการตอกย้ำถึงปณิธานของบริษัทในการเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการท่าเรือสีเขียวและการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในระดับภูมิภาค โดยโครงการนี้ริเริ่มโดย APEC Port Services Network (APSN) เพื่อประเมินผลงานของท่าเทียบเรือต่าง ๆ ในภูมิภาคเพื่อรับรองแผนงานพัฒนาท่าเรือสีเขียวรวมถึงดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่เป็นการยกระดับศักยภาพสู่การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนตลอดทั่วทั้งภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมที่แท้จริง
ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย สานฝันอีกขั้นสู่การเป็นผู้นำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ด้วยรางวัลเกียรติยศการบริหารจัดการท่าเรือสีเขียวระดับสากล (GPAS)

ทั้งนี้ HPT ได้ผ่านเกณฑ์ตามมาตรวัดในแผนการดำเนินงานสำหรับ GPAS-2020 และเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในคู่มือประกอบการประเมินผล Guide to GPAS Expert Evaluation โดย HPT ยังนับเป็นหนึ่งในท่าเรือทั้งสิ้น 11 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลทรงเกียรตินี้อีกด้วย

มร. สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและสีเขียวเป็นสิ่งที่บริษัทพยายามมาอย่างต่อเนื่อง และเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลนี้ที่นับเป็นอีกก้าวสำคัญสู่เป้าหมายทางธุรกิจของเรา รางวัลนี้เป็นเสมือนการรับรองในการปฏิบัติทางด้านสิ่งแวดล้อมและความเป็นผู้นำที่โดดเด่นในด้านนี้ของเราอันสะท้อนให้เห็นได้จากพนักงานและพันธมิตรของเรา และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่เราจะทำตามคำมั่นสัญญาในการเดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ต่อไปสู่ความยั่งยืน"

ภายใต้แผนกลยุทธ์ "HPT Go Green" HPT ได้ริเริ่มทำโครงการต่าง ๆ ด้วยความต้องการที่จะลดสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานประจำวันทั้งส่วนปฏิบัติการหน้าท่าและส่วนสำนักงาน ซึ่งประกอบไปด้วยการนำเครื่องจักรประหยัดพลังงาน เช่น การนำรถบรรทุกอัตโนมัติใช้พลังงานไฟฟ้ามาทำงานร่วมกับรถบรรทุกแบบทั่วไป ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า (super post panamax ship to shore cranes) และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง (remote-control rubber tyred yard cranes) ที่ควบคุมจากระยะไกลและใช้พลังงานไฟฟ้า รวมถึงการค่อย ๆ ปรับลดการใช้เอกสารแบบกระดาษ การแยกประเภทขยะ ลดการใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำ กล่องพลาสติกและกล่องโฟม รวมถึงการปลูกต้นไม้

ความพยายามดังกล่าวข้างต้นได้ส่งผลให้เห็นเป็นรูปธรรมจากผลประเมินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประจำปี และการลดมลภาวะทางด้านเสียงลงได้จากการใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า

ไม่เพียงเท่านั้น HPT ยังได้แบ่งปันความรู้ทางด้านการพัฒนาท่าเรือเพื่อความยั่งยืนด้วยการส่งต่อสิ่งที่มีค่านี้ไปยังว่าที่พนักงานในอนาคตของบริษัทในความร่วมมือกับคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "อนาคตที่ยั่งยืนของเรา" (Our Sustainable Future) ของ HPT ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนนักศึกษาที่จะกลายเป็นบุคลากรในสายงานด้านการขนส่งทางทะเล ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้พวกเขาเหล่านั้นได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย

ที่มา: สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ