ส.อ.ท. ชงรัฐตรึงค่า Ft เดือน ม.ค. - เม.ย. 66 ประคองภาคอุตสาหกรรม

พุธ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๑๑:๒๕
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 23 ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ภายใต้หัวข้อ "มุมมองภาคอุตสาหกรรมต่อการปรับค่า Ft งวดใหม่" พบว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) สำหรับงวดเดือนมกราคม - เมษายน 2566 นั้น ส.อ.ท. ได้มีการสำรวจความเห็นจากผู้บริหาร ส.อ.ท. ในเรื่องดังกล่าว พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐคงค่า Ft งวดเดือนมกราคม - เมษายน 2566 ที่อัตรา 93.43 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อให้ค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย เนื่องจากมองว่าราคาเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลง และจะส่งผลทำให้ภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทยอยปรับลดลงตามไปด้วย ประกอบกับที่ผ่านมา ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งค่าไฟฟ้า ค่าแรง ราคาวัตถุดิบ และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยทั้งสิ้น
ส.อ.ท. ชงรัฐตรึงค่า Ft เดือน ม.ค. - เม.ย. 66 ประคองภาคอุตสาหกรรม

ในส่วนการบริหารจัดการหนี้ที่ต้องทยอยคืน กฟผ. จากภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิง จำนวน 83,010 ล้านบาท ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ เสนอว่า กฟผ. ควรมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้สามารถรับภาระหนี้ได้มากขึ้นและยาวนานมากกว่า 2 ปี เช่น การเพิ่มเพดานเงินกู้เฉพาะกิจ การจัดสรรวงเงินให้ยืม การชะลอการส่งเงินรายได้เข้าคลัง เป็นต้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการหนี้และลดผลกระทบที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้รับจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงเกินไป

ทั้งนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. ยังเสนอว่า ภาครัฐควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมทั้งเร่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนภายในโรงงาน เพื่อลดค่าไฟฟ้าในช่วง On Peak อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การอำนวยความสะดวกในการขออนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการติดตั้งโซล่าเซลล์ มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ การรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากเอกชน การกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าคืนที่จูงใจต่อการลงทุน เป็นต้น ส่วนด้านการบริหารจัดการไฟฟ้าของประเทศในอนาคต ผู้บริหาร ส.อ.ท. มีการเสนอให้ภาครัฐมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย และกฎระเบียบจากการทำนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าให้เป็นธรรมกับทุกฝ่ายทั้งประชาชน ผู้ประกอบการภาคผลิตและบริการ รวมถึงผู้ลงทุน รวมทั้งปรับสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศและลดภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้า

จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 171 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 23 จำนวน 5 คำถาม ดังนี้

1.สืบเนื่องจาก กกพ. ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) สำหรับงวดเดือนมกราคม - เมษายน 2566 ท่านคิดว่าแนวทางการปรับอัตราค่า Ft แบบใดจะมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน (Single choice)

อันดับที่ 1 : คงค่า Ft ที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย 88.3% เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงปี 2566
อันดับที่ 2 : ปรับค่า Ft เป็น 158.31 สตางค์ต่อหน่วย ค่าไฟฟ้าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 10.5% 5.37 บาทต่อหน่วย (เพิ่มขึ้น 14%)
อันดับที่ 3 : ปรับค่า Ft เป็น 191.64 สตางค์ต่อหน่วย ค่าไฟฟ้าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 0.6% 5.70 บาทต่อหน่วย (เพิ่มขึ้น 21%)
อันดับที่ 4 : ปรับค่า Ft เป็น 224.98 สตางค์ต่อหน่วย ค่าไฟฟ้าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 0.6% 6.03 บาทต่อหน่วย (เพิ่มขึ้น 28%)

2.ภาครัฐควรบริหารจัดการหนี้ที่ต้องทยอยคืน กฟผ. จากภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิง จำนวน 83,010 ล้านบาทอย่างไร (Single choice)

อันดับที่ 1 : กฟผ. เพิ่มการรับภาระหนี้ให้ได้มากและยาวนานขึ้นมากกว่า 2 ปี 44.4% เช่น การเพิ่มเพดานเงินกู้เฉพาะกิจ การจัดสรรวงเงินให้ยืม การชะลอการส่งเงินรายได้เข้าคลัง เป็นต้น
อันดับที่ 2 : รัฐจัดสรรงบประมาณจากส่วนอื่นมาช่วยบรรเทาภาระหนี้ให้แก่ กฟผ. 35.7%
อันดับที่ 3 : ทยอยเรียกเก็บเงินเพื่อชดเชยหนี้ที่ต้องคืน กฟผ. ผ่านการปรับขึ้นค่า Ft 19.9%

3.ภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไร (Multiple choices)

อันดับที่ 1 : ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนภายในโรงงาน 81.3% เพื่อลดค่าไฟฟ้าในช่วง On Peak เช่น อำนวยความสะดวกในการขออนุญาต สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ รับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากเอกชน เป็นต้น
อันดับที่ 2 : สนับสนุนส่วนลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ประกอบการที่สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ 49.7% จากเดือนฐาน
อันดับที่ 3 : ยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ (Minimum Charge) 45.0%
อันดับที่ 4 : สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและมีที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยน 43.9% เครื่องจักร/อุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงาน

4.ภาครัฐควรปรับนโยบายการบริหารจัดการค่าไฟฟ้าอย่างไร เพื่อลดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและสร้างความเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน (Multiple choices)

อันดับที่ 1 : แก้ไขกฎหมาย และกฎระเบียบจากการทำนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้า 70.2% ให้เป็นธรรมกับทุกฝ่ายทั้งประชาชน ผู้ประกอบการภาคผลิตและบริการ รวมถึงผู้ลงทุน
อันดับที่ 2 : รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น เช่น Solar Cell, Biogas, 69.0% Biomass เป็นต้น
อันดับที่ 3 : ทบทวนการกำหนดอัตราสำรองไฟฟ้าให้อยู่ในระดับไม่เกิน 15% 57.3% และชะลอโครงการใหม่เพื่อลดภาระ Reserve Margin ที่สูงเกินความจำเป็น
อันดับที่ 4 : ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงพลังงานที่มีราคาสูงในการนำมาผลิตไฟฟ้า 46.8%

5.ภาครัฐควรดำเนินการในเรื่องใดเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน (Multiple choices)

อันดับที่ 1 : ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 85.4% และการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น การปรับขั้นตอนการอนุญาตติดตั้ง Solar cell อัตราการรับซื้อไฟฟ้าคืน เป็นต้น
อันดับที่ 2 : เร่งเปิดให้เอกชนสามารถใช้ระบบส่ง/จำหน่ายไฟฟ้า (Third Party Access) 68.4% เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าผ่านสายส่ง/จำหน่ายของ 3 การไฟฟ้าได้
อันดับที่ 3 : ออกมาตรการสนับสนุนการลงทุนในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร/อุปกรณ์ 64.3% เพื่อการประหยัดพลังงาน ทั้งมาตรการด้านการเงินและด้านภาษี
อันดับที่ 4 : พัฒนาและจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านพลังงาน (Energy Database) 47.4% ของประเทศ เพื่อนำไปใช้วางแผนการส่งเสริมการใช้พลังงานและนำไปสู่การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ส.อ.ท. ชงรัฐตรึงค่า Ft เดือน ม.ค. - เม.ย. 66 ประคองภาคอุตสาหกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version