ฟาร์มิ่งประกาศการตีพิมพ์ข้อมูลจากการศึกษาเลนิโอลิซิบระยะ 3 ในผู้ป่วยโรค APDS ในวารสารบลัดของสมาคมโลหิตวิทยาแห่งอเมริกา

พฤหัส ๐๘ ธันวาคม ๒๐๒๒ ๐๘:๐๐
เลนิโอลิซิบมีความปลอดภัยด้านผลข้างเคียงที่ดี และการบรรลุผลที่ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญมีความโดดเด่นในผลลัพธ์หลักร่วม สะท้อนการส่งผลกระทบเชิงบวกต่อภาวะความผิดปกติและความบกพร่องของภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย

การตีพิมพ์ที่ได้รับการพิชญพิจารณ์นี้เพิ่มความเข้าใจในระดับนานาชาติเกี่ยวกับโรค APDS ซึ่งเป็นภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดหายากและเพิ่งมีการระบุลักษณะ

ฟาร์มิ่ง กรุ๊ป เอ็น.วี. (Pharming Group N.V.) ("ฟาร์มิ่ง" หรือ "บริษัทฯ") (EURONEXT Amsterdam: PHARM / Nasdaq: PHAR) ประกาศว่า ผลลัพธ์เชิงบวกของการศึกษาทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 เกี่ยวกับยาที่อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย เลนิโอลิซิบ (leniolisib) ยาออกฤทธิ์จำเพาะยับยั้งฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา (phosphoinositide 3-kinase delta หรือ PI3K?) แบบรับประทาน ในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่เป็นโรค APDS หรือ แอคติเวเตด ฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา ซินโดรม (activated phosphoinositide 3-kinase delta syndrome) ซึ่งเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิชนิดหายาก ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบลัด (Blood)[1] วารสารการแพทย์ระดับนานาชาติของสมาคมโลหิตวิทยาแห่งอเมริกา (American Society of Hematology) ที่มีการพิชญพิจารณ์ ทั้งนี้ได้มีการประกาศข้อมูลจากการศึกษานี้ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565

บทความชื่อว่า 'การศึกษาทดลองระยะ 3 กับยายับยั้ง PI3K? เลนิโอลิซิบ แบบสุ่มและมีการควบคุมด้วยยาหลอกสำหรับการรักษาโรคที่เกิดจาก PI3K?' (Randomized, Placebo-Controlled, Phase 3 Trial of PI3K? Inhibitor Leniolisib for Activated PI3K? Syndrome) ระบุผลลัพธ์จากการทดลองทางคลินิกระดับนานาชาติแบบสุ่มที่มีการอำพรางสามทางและควบคุมด้วยยาหลอก ซึ่งรับผู้ป่วยโรค APDS อายุ 12 ปีขึ้นไปเข้าร่วมการทดลองจำนวน 31 คน ผู้ป่วยได้รับการสุ่มแบ่งกลุ่มในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 เพื่อรับเลนิโอลิซิบขนาด 70 มิลลิกรัมหรือยาหลอกสองครั้งต่อวันเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ การบรรลุผลที่ดีกว่ายาหลอกมีนัยสำคัญในผลลัพธ์หลักร่วม ซึ่งประเมินการลดลงของขนาดต่อมน้ำเหลืองและการเพิ่มขึ้นของเซลล์นาอีฟบี (na?ve B cell) สะท้อนผลกระทบต่อความผิดปกติและการแก้ไขความบกพร่องของภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยเหล่านี้ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงที่ปรับแล้ว (ช่วงความเชื่อมั่น หรือ CI 95%) ระหว่างเลนิโอลิซิบกับยาหลอกสำหรับขนาดต่อมน้ำเหลืองอยู่ที่ -0.25 (-0.38, -0.12; P=0.0006; N=26) และสำหรับอัตราร้อยละของเซลล์นาอีฟบีอยู่ที่ 37.30 (24.06, 50.54; P=0.0002; N=13) เลนิโอลิซิบมีความปลอดภัยด้านผลข้างเคียงที่ดี และผู้ป่วยจำนวนน้อยกว่าที่ได้รับเลนิโอลิซิบรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาในการศึกษานี้ (ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับ 1-2) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (23.8% เทียบกับ 30.0%)

วิคกี้ โมเดล ( Vicki Modell) ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเจฟฟรีย์ โมเดล (Jeffrey Modell Foundation) องค์กรไม่แสวงกำไรระดับระหว่างประเทศที่มุ่งช่วยเหลือบุคคลและสมาชิกครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ กล่าวแสดงความเห็นว่า

"ฟาร์มิ่งให้การสนับสนุนที่สำคัญสำหรับชุมชนภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างต่อเนื่อง มูลนิธิเจฟฟรีย์ โมเดล มุ่งเน้นการวินิจฉัยในระยะแรกเริ่มและการค้นพบวิธีการรักษาที่มีความหมายสำหรับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ และเราตระหนักดีถึงความท้าทายที่ผู้ที่เป็นโรค APDS ต้องเผชิญ การตีพิมพ์ผลการศึกษาในประชากรผู้ป่วยกลุ่มนี้ในวารสารที่โดดเด่นและมีผู้อ่านในวงกว้างเช่นนี้ช่วยส่งเสริมเป้าหมายเหล่านี้"

นายแพทย์อนุรัก เรลาน ( Anurag Relan) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ของฟาร์มิ่ง กล่าวว่า

"ขณะที่เรายังคงแสวงหาความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับโรค APDS ต่อไปในฐานะโรคหายากที่เพิ่งมีการระบุลักษณะ เรายังคงยึดมั่นในการแบ่งปันข้อค้นพบของเรากับนักวิจัยและแพทย์ทั่วโลก ด้วยพันธกิจเช่นนี้ เรายินดีที่ผลลัพธ์ของการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 นี้เกี่ยวกับเลนิโอลิซิบได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับเรือธงของสมาคมโลหิตวิทยาแห่งอเมริกา

ที่ผ่านมากลุ่มประชากรผู้ป่วยโรค APDS และครอบครัวใช้ชีวิตอยู่กับความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองและไม่มีการรักษาแบบมุ่งเป้า การตีพิมพ์การศึกษานี้ถือเป็นก้าวสำคัญอย่างยิ่งในการยกระดับเส้นทางของผู้ป่วยสำหรับชุมชนนี้ เราภูมิใจที่ได้แบ่งปันผลลัพธ์เหล่านี้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเลนิโอลิซิบเป็นยารักษาโรค APDS แบบมุ่งเป้าที่มีผลข้างเคียงด้านความปลอดภัยที่ดี เราขอขอบคุณผู้เข้าร่วมในการศึกษาและนักวิจัยทุกท่านสำหรับความพยายามและบทบาทสำคัญของพวกเขาในการพัฒนาเลนิโอลิซิบ"

เกี่ยวกับแอคติเวเตด ฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา ซินโดรม ( APDS)

APDS เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิที่พบได้ยาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนประมาณหนึ่งถึงสองคนต่อล้านคน โดยเกิดจากตัวแปรในยีน PIK3CD หรือไม่ก็ยีน PIK3R1 ที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวแปรของยีนเหล่านี้ทำให้เกิดการทำงานมากกว่าปกติของวิถี PI3K? (ฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา)[2],[3] การส่งสัญญาณที่สมดุลในวิถี PI3K? จำเป็นสำหรับการทำงานของภูมิคุ้มกันทางสรีรวิทยา เมื่อวิถีนี้ทำงานมากกว่าปกติ เซลล์ภูมิคุ้มกันจะไม่เติบโตเต็มที่และทำงานไม่ถูกต้อง นำไปสู่ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและภูมิคุ้มกันผิดปกติ[2],[4] โรค APDS มีลักษณะเฉพาะคือการติดเชื้อรุนแรงบริเวณทางเดินหายใจและไซนัส และติดเชื้อซ้ำได้ ไปจนถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง และโรคลำไส้[5],[6] เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจมีเงื่อนไขที่หลากหลายประกอบกัน รวมถึงภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิอื่น ๆ ผู้ที่เป็นโรค APDS จึงมักได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดและได้รับการวินิจฉัยล่าช้าเฉลี่ยถึง 7 ปี[7] เนื่องจาก APDS เป็นโรคที่ลุกลามมาก ความล่าช้านี้อาจทำให้เกิดความเสียหายสะสมเมื่อเวลาผ่านไป รวมทั้งความเสียหายที่ปอดอย่างถาวรและเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง[5]-[8] วิธีเดียวที่จะวินิจฉัยภาวะนี้ได้อย่างชัดเจนคือผ่านการทดสอบทางพันธุกรรม

เกี่ยวกับเลนิโอลิซิบ

เลนิโอลิซิบ (Leniolisib) เป็นตัวยับยั้งโมเลกุลขนาดเล็กของไอโซฟอร์มเดลตาของหน่วยย่อยตัวเร่งปฏิกิริยา 110 kDa ของคลาส IA PI3K โดย PI3K? แสดงออกอย่างเด่นชัดในเซลล์เม็ดเลือดและจำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันปกติโดยการเปลี่ยนฟอสฟาติดิลโนซิทอล-4-5-ไตรฟอสเฟต (PIP2) เป็นฟอสฟาติดิลโนซิทอล-3-4-5-ไตรฟอสเฟต (PIP3) เลนิโอลิซิบยับยั้งการผลิต PIP3 ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวส่งสารในเซลล์ที่สำคัญซึ่งกระตุ้น AKT (ผ่าน PDK1) และควบคุมการทำงานของเซลล์มากมาย เช่น การเพิ่มจำนวนของเซลล์ การพัฒนาให้มีความจำเพาะของเซลล์ การผลิตไซโตไคน์ การอยู่รอดของเซลล์ การสร้างเส้นเลือดใหม่ และเมแทบอลิซึม ทั้งนี้ PI3K? และ PI3K? มีอยู่ทั่วไป แต่ PI3K? และ PI3K? พบในเซลล์ต้นกำเนิดที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดเป็นหลัก บทบาทสำคัญของ PI3K? ในการควบคุมการทำงานของเซลล์จำนวนมากของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (เซลล์บีและเซลล์ทีในระดับที่น้อยกว่า) ตลอดจนระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล แมสต์เซลล์ และเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ) บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า PI3K? เป็นเป้าหมายการรักษาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสำหรับโรคภูมิคุ้มกันประเภทต่าง ๆ เช่น โรค APDS จนถึงปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยทนต่อยาเลนิโอลิซิบได้ดี ทั้งในการทดลองระยะที่ 1 เป็นครั้งแรกในมนุษย์ โดยทดลองในคนที่มีสุขภาพดี และการทดลองระยะที่ 2/3 ที่มีการเปิดรับผู้ป่วยโรค APDS เข้าร่วมการทดลอง

เกี่ยวกับฟาร์มิ่ง กรุ๊ป เอ็น.วี.

ฟาร์มิ่ง กรุ๊ป เอ็น.วี. (Pharming Group N.V.) (Euronext Amsterdam: PHARM) (NASDAQ: PHAR) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกที่มุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ป่วยที่เป็นโรคหายาก ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และเป็นอันตรายถึงชีวิต ฟาร์มิ่งพัฒนาและทำการตลาดยาทดแทนโปรตีนและยารักษาแบบแม่นยำ ซึ่งรวมถึงยาโมเลกุลขนาดเล็ก ยาชีววัตถุ และยีนบำบัด ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาทั้งในระยะแรกและระยะสุดท้าย ทั้งนี้ ฟาร์มิ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองไลเดิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ และมีพนักงานทั่วโลกที่คอยช่วยเหลือผู้ป่วยในตลาดกว่า 30 แห่ง ทั้งในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pharming.com และติดตามเราได้ทางลิงด์อิน

ข้อความคาดการณ์อนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ประกอบด้วยข้อความคาดการณ์อนาคตที่อ้างอิงการคาดการณ์และสมมติฐานในปัจจุบันของทีมผู้บริหาร โดยมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทั้งที่ทราบและไม่ทราบ ซึ่งอาจทำให้ผลลัพธ์ ผลการดำเนินงาน หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมีความแตกต่างอย่างมากจากที่แสดงหรือกล่าวเป็นนัยในข้อความคาดการณ์อนาคต ข้อความคาดการณ์อนาคตมักมีการใช้คำหรือวลีต่าง ๆ เช่น "ตั้งเป้า" "จุดมุ่งหมาย" "คาดการณ์" "เชื่อว่า" "อาจจะ" "ประมาณการ" "คาดว่า" "เป้าหมาย" "ตั้งใจ" "อาจ" "หมุดหมาย" "วัตถุประสงค์" "แนวโน้ม" "วางแผน" "น่าจะ" "แผนงาน" "ความเสี่ยง" "กำหนดการ" "แสวงหา" "ควรจะ" "จุดมุ่งหมาย" "จะ" และคำหรือวลีอื่น ๆ ที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน ยกตัวอย่างข้อความคาดการณ์อนาคต เช่น ข้อความเกี่ยวกับกรอบเวลาและความก้าวหน้าในการศึกษาระยะก่อนคลินิกของฟาร์มิ่ง และการทดลองทางคลินิกของผลิตภัณฑ์ , แนวโน้มทางคลินิกและพาณิชย์ของฟาร์มิ่ง และความคาดหวังของฟาร์มิ่งเกี่ยวกับข้อกำหนดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนและทรัพยากรเงินสดที่วางแผนไว้ ข้อความเหล่านี้มีความเสี่ยง ความไม่แน่นอน และสมมติฐานมากมาย ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง ขอบข่าย ความคืบหน้า และการขยับขยายการทดลองทางคลินิกและผลลัพธ์ในเรื่องต้นทุนจากการดำเนินการดังกล่าว ไปจนถึงความก้าวหน้าทางคลินิก วิทยาศาสตร์ ระเบียบกำกับดูแล และเทคนิค ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้ รวมถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอื่น ๆ มีการระบุไว้ในรายงานประจำปี 2564 ของฟาร์มิ่ง และรายงานประจำปีบน Form 20-F สำหรับปีที่สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งยื่นให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐแล้ว โดยเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในข้อความคาดการณ์อนาคตเหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้น และผลการดำเนินงานจริงของฟาร์มิ่งอาจแตกต่างไปอย่างมากจากที่คาดการณ์หรือระบุเป็นนัยไว้ในที่นี้ ข้อความคาดการณ์อนาคตทั้งหมดในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีคุณสมบัติครบถ้วนโดยชัดแจ้งด้วยข้อความเตือนที่ปรากฏหรืออ้างถึงในส่วนนี้ ผู้อ่านไม่ควรพึ่งพาข้อความคาดการณ์อนาคตมากเกินไป เพราะข้อความคาดการณ์อนาคตให้ข้อมูล ณ วันที่เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เท่านั้น และจัดทำขึ้นโดยอิงกับข้อมูลที่ฟาร์มิ่งมีอยู่ ณ วันที่เผยแพร่ ฟาร์มิ่งไม่มีพันธะผูกพันในการปรับปรุงหรือแก้ไขข้อความคาดการณ์อนาคต

อ้างอิง

1.  Rao VK, et al. Blood. 2022. https://doi.org/10.1182/blood.2022018546.

2.  Lucas CL, et al. Nat Immunol. 2014;15:88-97.

3.  Elkaim E, et al. J Allergy Clin Immunol. 2016;138(1):210-218.

4.  Nunes-Santos C, Uzel G, Rosenzweig SD. J Allergy Clin Immunol. 2019;143(5):1676-1687.

5.  Coulter TI, et al. J Allergy Clin Immunol. 2017;139(2):597-606.

6.  Maccari ME, et al. Front Immunol. 2018;9:543.

7.  Jamee M, et al. Clin Rev Allergy Immunol. 2019;May 21.

8.  Condliffe AM, Chandra A. Front Immunol. 2018;9:338.

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ฟาร์มิ่ง กรุ๊ป ( Pharming Group) เมืองไลเดิน ประเทศเนเธอร์แลนด์
ไมเคิล เลวิทัน (Michael Levitan) รองประธานฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
เฮเทอร์ โรเบิร์ตสัน (Heather Robertson) ผู้จัดการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
อีเมล: [email protected]

เอฟทีไอ คอนซัลติง ( FTI Consulting) กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
วิกตอเรีย ฟอสเตอร์ มิตเชลล์ (Victoria Foster Mitchell) / อเล็กซ์ ชอว์ (Alex Shaw) / เอมี เบิร์น (Amy Byrne)
โทร: +44 203 727 1000

ไลฟ์สปริง ไลฟ์ ไซเอนเซส คอมมิวนิเคชัน ( LifeSpring Life Sciences Communication) กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
ลีออน เมเลนส์ (Leon Melens)
โทร: +31 6 53 81 64 27
อีเมล: [email protected]

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกา อีธาน เมเทเลนิส (Ethan Metelenis)
อีเมล: [email protected] โทร: +1 (917) 882 9038

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ในสหภาพยุโรป แดน เคลีย์ (Dan Caley)
อีเมล: [email protected] โทร: +44 (0) 787 546 8942

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1454235/Pharming_Group_NV_Logo.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version