ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด : ประเทศไทยเข้าสู่วัฏจักรเศรษฐกิจขยายตัว มองปัจจัยภายในสำคัญ 2 เรื่องจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2566

พฤหัส ๐๘ ธันวาคม ๒๐๒๒ ๐๘:๕๑
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) คาดเศรษฐกิจไทยจะค่อยๆ ฟื้นตัวต่อเนื่องตลอดปีหน้า มองทั้งปีเติบโตเกินร้อยละ 4
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด : ประเทศไทยเข้าสู่วัฏจักรเศรษฐกิจขยายตัว มองปัจจัยภายในสำคัญ 2 เรื่องจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2566

การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญและมีสัดส่วนร้อยละ 15 ของจีดีพีประเทศ ประกอบกับการคาดว่าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้งในปี 2566 จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนภายในประเทศที่ทำให้ประเทศไทยเติบโตเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านและทิศทางเศรษฐกิจโลกในปีหน้า

"ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยไม่โดดเด่นเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ด้วยปัจจัยภายในหลัก 2 ประการนี้ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จึงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อการเติบโตของไทยในปี 2566" ดร.ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าว

"เรามองว่าเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัว และอาจจะมีภาวะเศรษฐกิจถดถอยเล็กน้อยในบางประเทศ โดยเราจะติดตามว่าปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรกอย่างไร อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวของไทยส่งสัญญาณบวกของการฟื้นตัวต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่ช่วงไฮซีซั่น (ฤดูท่องเที่ยว) ในปี 2566 จะแข็งแกร่งกว่าปี 2565 โดยเราคาดว่า ในปีหน้าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 15-20 ล้านคน และอาจได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากนักท่องเที่ยวจีนหากจีนผ่อนปรนมาตรการควบคุม นอกจากนี้ เรายังมีมุมมองบวกต่อดุลบัญชีเดินสะพัดในปีหน้า ถึงแม้ว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ประเทศไทยเคยทำได้ก็ตาม"

ดร.ทิม กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารมองความเสี่ยงการเมืองอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งช่วยส่งเสริมภาพการฟื้นตัวในภาพการท่องเที่ยวและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และนอกจากนี้ การฟื้นตัวน่าจะมีความต่อเนื่องหลังการเลือกตั้งเนื่องจากคาดว่าทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่น่าจะชัดเจนขึ้น

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 4.5 ในปี 2566 และ 2567 โดยคาดว่าในปี 2565 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 3.3

คาดคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 2 ครั้งในปี 2566

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดว่า กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 2 ครั้งในปี 2566 ส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายไปอยู่ที่อย่างน้อยร้อยละ 1.75 ในสิ้นปีหน้า  

"เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในภาวะไม่แน่นอน เราคาดว่า กนง. จะประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อในช่วงต้นปี โดยเราคาดว่าการดำเนินนโยบายการเงินของไทยเพื่อให้กลับสู่ภาวะปกติจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากเรามองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยให้น้ำหนักการฟื้นตัวของเศรษฐกินมากกว่าเงินเฟ้อและเสถียรภาพทางการเงิน" ดร.ทิม กล่าว

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท และการเคลื่อนไหวของเงินทุน ดร.ทิม กล่าวเสริม

ดอลลาร์/บาทน่าจะอยู่ที่ประมาณ 35 ณ สิ้นปี 2566

ค่าเงินบาทน่าจะยังคงอ่อนตัวอยู่ที่ราว 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังตามปัจจัยที่ได้กล่าวข้างต้น เงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ราว 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี

ที่มา: ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version