ฟิทช์คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ที่ 'BBB+(tha) แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

จันทร์ ๑๙ ธันวาคม ๒๐๒๒ ๑๓:๒๙
ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือ FSS ที่ 'BBB+(tha)' โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ พร้อมกันนี้ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ 'F2(tha)'

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
อันดับเครดิตมีปัจจัยสนับสนุนจากความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัท: อันดับเครดิตของ FSS สะท้อนถึงการที่บริษัทมีเครือข่ายธุรกิจสำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ของประเทศไทยซึ่งมีการแข่งขันสูง และการมีการกระจุกตัวของรายได้ที่มาจากธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งการมีความเสี่ยงในด้านการดำเนินงานตามแผนธุรกิจ (Execution risks) จากแผนการกระจายรายได้ไปในธุรกิจอื่น และอันดับเครดิตยังพิจารณาถึงฐานะเงินทุนและสภาพคล่องของ FSSที่อยู่ในระดับพอเพียง ซึ่งน่าจะช่วยเป็นกันชนและบรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงได้

การดำเนินธุรกิจที่พึ่งพาภาวะตลาดทุน: FSS ยังคงเป็นหนึ่งใน 5 บริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทยที่มีปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์มากที่สุดอย่างต่อเนื่อง ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่ 5.4% ณ สิ้นเดือนกันยายน ปี 2565 แต่อย่างไรก็ตาม การกระจายรายได้ยังค่อนข้างกระจุกตัว โดยธุรกิจหลักทรัพย์ยังคิดเป็น 80% ของรายได้รวม ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2565 เทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 55% ซึ่งทำให้ผลประกอบการของบริษัทต้องพึ่งพิงกับสภาวะตลาดการซื้อขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ความพยายามอย่างต่อเนื่องของบริษัทในการเพิ่มสัดส่วนของรายได้นอกเหนือจากธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น รายได้จากค่าธรรมเนียมจากธุรกิจ wealth management จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของโครงสร้างธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามรายได้จากธุรกิจดังกล่าวยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับธุรกิจโดยรวมของบริษัท

ความสามารถในการทำกำไรที่ผันผวน: ฟิทช์คาดว่าว่าความสามารถในการทำกำไรของ FSS จะยังคงมีความผันผวนค่อนข้างมาก จากการพึ่งพารายได้จากการธุรกิจหลักทรัพย์ที่ผันผวนตามภาวะตลาด อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (operating profit/average equity) ของ FSS ปรับลดลงเป็น 9.4% ในงวด 9 เดือนแรกปี 2565 จาก 14.6% ในปี 2564 ซึ่งสอดคล้องกับภาวะอุตสากรรมที่ปรับตัวชะลอลง ซึ่งเห็นได้จากปริมาณการซื้อขายของตลาดที่ลดลง 13.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ในอดีตบริษัทมีเคยมีรายได้ที่ผันผวนมากกว่าระดับปัจจุบันเนื่องจากความผันผวนของรายได้ที่มาจากธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์กลุ่มลูกค้ารายย่อย

มีสัดส่วนหนี้สินปานกลาง: ฟิทช์คาดว่า FSS จะสามารถรักษาการระดับหนี้สินไว้ในระดับปานกลางต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่ยืดหยุ่น ซึ่งน่าจะช่วยรองรับความผันผวนของสภาวะตลาดได้ในระดับหนึ่ง อัตราส่วน net adjusted leverage ของ FSS ยังคงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ที่ประมาณ 1.9-2.7 เท่า ตั้งแต่ปี 2560 สัดส่วนหนี้สินในระดับปานกลางและอัตราส่วนสภาพคล่องที่พอเพียงของบริษัทน่าจะช่วยจำกัดความเสี่ยงในด้านการชำระคืนหนี้สินของ FSS ได้ แม้ต้องเผชิญกับภาวะตลาดที่ซบเซาและแรงกดดันด้านรายได้

มีการจัดการสภาพคล่องในระดับที่เพียงพอ: FSS มีการพึ่งพาการระดมทุนจากตลาดทุนภายในประเทศ (wholesale funding) แต่ฐานะสภาพคล่องของ FSS ยังสะท้อนถึงระดับหนี้สินที่ค่อนข้างต่ำและการมีสัดส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องที่พอเพียงง ซึ่งน่าจะช่วยรองรับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่งในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤติของรายได้และสภาพคล่องในตลาด

ปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่ออันดับเครดิตในอนาคต
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับลดอันดับเครดิตอาจเกิดขึ้นได้ หากสถานะทางการเงินของ FSS มีการปรับตัวอ่อนแออย่างมากและบ่งชี้ถึงการปรับตัวด้อยลงอย่างมีนัยสำคัญของฐานะการเงินของบริษัท ตัวอย่างเช่น การปรับลดลงของฐานะเงินทุนของบริษัทจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราส่วน net adjusted leverage ที่มากกว่า 5 เท่า และผลประกอบการมีแนวโน้มที่ไม่น่าจะรักษาความสามารถในการสร้างกำไรสะสมได้อย่างต่อเนื่อง (sustained internal capital generation) โดยเหตุการณ์ดังกล่าว อาจบ่งชี้ได้ถึงการปรับด้อยลงอย่างต่อเนื่องของโครงสร้างธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะปัจจัยลบต่อโครงสร้างเครดิตของบริษัท นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจหรือระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ที่ส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญ ยังอาจนำไปสู่การปรับลดอันดับเครดิตได้อีกด้วย

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับเพิ่มอันดับเครดิตอาจเกิดขึ้นได้ หากโครงสร้างธุรกิจมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การมีแหล่งรายได้จากธุรกิจอื่นที่หลากหลาย พร้อมทั้งการมีสัดส่วนของแหล่งรายได้ประจำ(recurring income) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ยที่สามารถทรงตัวอยู่ในระดับที่มากกว่า 10% ได้ในระยะปานกลาง และเป็นกำไรที่มาจากโครงสร้างธุรกิจที่มีความสมดุลและยั่งยืน ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อของโครงสร้างเครดิตของบริษัท ทั้งนี้ FSS จะต้องสามารถรักษาความสามารถในการรองรับความเสี่ยงในด้านเงินทุนและสภาพคล่องของบริษัทให้อยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องและสอดคล้องกับอันดับเครดิตที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

รายละเอียดอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้
--อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ BBB+(tha) แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
--อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ F2(tha)

ที่มา: ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๗ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จับมือ JAM ส่งอีเวนต์สุดปังตลอดปี 2568 ปลุกตลาดอนิเมะในไทย ประเดิมงานแรกนิทรรศการอนิเมะสุดยิ่งใหญ่ Muse Anime Festival 2025 ชมฟรี!! ชั้น 4 โซน
๑๖:๒๕ สองสถาบันประชุมเตรียมความพร้อม จัดงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 75
๑๖:๒๙ ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น Masked Depression ภัยเงียบที่คุณอาจมองไม่เห็น
๑๖:๔๑ สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 52
๑๖:๑๙ กทพ. สร้างประวัติศาสตร์ใหม่! มหกรรมสุขเต็มสิบ ฉลองสะพานทศมราชัน ดึงผู้ร่วมงานกว่า 2 แสนคน พร้อมเตรียมพบกิจกรรมเดิน - วิ่งลอยฟ้า บนสะพานทศมราชัน 26 ม.ค.
๑๕:๑๒ วิทยาลัยดุสิตธานี จัดการแข่งขันภายใน โครงการ DTC X Unilever food solutions The Future Food Menu 2024 ร่วมกับ Unilever Food
๑๕:๒๑ ร้านอาหารจีน เฮยยิน ต้อนรับตรุษจีนปีมะเส็ง กับ 11 เมนูอะลาคาร์ตมงคล และ 3 เซตตรุษจีนมงคล
๑๕:๐๐ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ส่งความสุข และกำลังใจ มอบอั่งเปา ชุดของขวัญ และจัดเลี้ยงอาหารแก่คนชราไทย -จีน รวม 5 แห่ง เนื่องในเทศกาลตรุษจีน ประจำปี
๑๕:๑๘ บางกอกทูเดย์จัดเสวนา 2568 สัญญาณอันตรายรัฐบาล ในสายตากูรูการเมือง
๑๔:๑๖ เจแปน ไพรซ์ ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลประจำปี 2568