ผู้ก่อตั้งสถาบัน KIIT และ KISS ดร.อาชยุตา ซามานตา ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยอุตกาล

จันทร์ ๒๖ ธันวาคม ๒๐๒๒ ๑๓:๓๐
นักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงโดดเด่น นักเคลื่อนไหวทางสังคม ผู้ก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีอุตสาหกรรมกาลิงคะ (KIIT) และสถาบันสังคมศาสตร์กาลิงคะ (KISS) ในเมืองภุพเนศวร ประเทศอินเดีย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโลกสภา (Lok Sabha) จากเขตกันธมาล ดร. อาชยุตา ซามานตา (Dr. Achyuta Samanta) ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวรรณคดีจากมหาวิทยาลัยอุตกาล (Utkal University) เพื่อเชิดชูคุณูปการอย่างสูงในด้านการศึกษาและสังคมสงเคราะห์ โดยนับเป็นปริญญากิตติมศักดิ์ใบที่ 50 ที่มอบให้กับเขา

มหาวิทยาลัยอุตกาล ซึ่งยังเป็นสถาบันที่ดร. ซามานตาเป็นศิษย์เก่า ได้มอบปริญญากิตติมศักดิ์ดังกล่าวนี้ให้กับเขาในพิธีมอบปริญญาบัตรครั้งที่ 52 ในวันที่ 23 ธันวาคม 2565 เขาได้รับปริญญานี้จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยและผู้ว่าการรัฐโอฑิศา ศาสตราจารย์กาเนชี ลาล (Prof. Ganeshi Lal) โดยมีผู้เข้าร่วมพิธีประกอบด้วยอดีตประธานศาลฎีกา จัสติซ วี. โกปาลา โกวดา (Justice V. Gopala Gowda), รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ซาบิตา อาชาร์ยา (Prof. Sabita Acharya) และเลขาธิการใหญ่กรมอุดมศึกษาแห่งรัฐโอฑิศา บิชนูพาดา เศรษฐี (Bishnupada Sethi) เป็นต้น

ในปราศรัยต่อผู้ทรงเกียรติที่เข้าร่วมพิธี ผู้ว่าการรัฐได้กล่าวเป็นพิเศษถึงดร. ซามานตา โดยได้ระบุว่าเขาเป็น 'ตำนานระดับแนวหน้าในพิธีนี้' และบรรยายว่า ดร. ซามานตามีคุณสมบัติที่สำคัญของมนุษย์ อย่างเช่น ความเรียบง่าย ความถ่อมตน ความกตัญญู ความกล้าหาญ ความมานะอุตสาหะ ความเอื้อเฟื้อ ความใจเย็น ความรักสันติ และความดีงาม

ดร. ซามานตาได้แสดงความขอบคุณอย่างสูงสุดต่ออธิการบดีสำหรับเกียรติยศในครั้งนี้ ตลอดจนรองอธิการบดีและคณะกรรมการมหาวิทยาลัย "ทุกท่านตระหนักถึงชีวิตของผมที่ได้อุทิศให้กับการรับใช้ผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกย่องชีวิต การทำงาน และความสำเร็จของผม ผมได้รับมอบการเชิดชูเกียรติและรางวัลมากมาย อย่างไรก็ดี บางรางวัลมีความพิเศษโดยเฉพาะ อย่างเช่นในครั้งนี้ ผมยินดีอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยอุตกาล ซึ่งเป็นสถาบันที่ผมจบมา ได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวรรณคดีนี้ให้แก่ผม ซึ่งเป็นปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ใบที่ 50 สำหรับผมและเป็นจำนวนสูงที่สุดสำหรับชาวอินเดีย ผมขออุทิศรางวัลนี้ให้แก่วีรสตรีของผม คือมารดา รวมถึงความบากบั่นพยายามและการเสียสละทั้งหมดของแม่ พรจากผู้เป็นเจ้าและความปรารถนาดีของผู้คนคือสิ่งที่ช่วยให้ผมมาอยู่ในจุดนี้ ความปรารถนาดีเหล่านั้นยังคงมอบความแข็งแกร่งให้ผมฝันยิ่งขึ้นต่อไปถึงการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น" ดร.ซามานตากล่าว

ก่อนหน้านี้ไม่นาน ดร.ซามานตาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเบอร์ลา โกลบอล (Birla Global University) และปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเบอร์ฮัมปูร์ (Berhampur University)

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1973924/KIIT_Event.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ