"บล.พาย" คาดการณ์ สัปดาห์นี้ติดตามแรงงานสหรัฐฯและเงินเฟ้อไทย

อังคาร ๐๓ มกราคม ๒๐๒๓ ๑๐:๐๐
บทวิเคราะห์จาก บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) หรือ "Pi" "พาย" คาดการณ์ ตลาดหุ้น Dow Jones คืนวันศุกร์ปรับลดลง 0.22% ภาพรวมเป็นเพียงแรงขายปกติ ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปรับเพิ่มขึ้น 2.9% หนุนจากรายงานที่ว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯลดลง

สัปดาห์นี้เชื่อว่าบรรยากาศการลงทุนจะเริ่มกลับมาใกล้เคียงภาวะปกติ โดยปัจจัยในประเทศได้แก่เงินเฟ้อไทยประจำเดือน ธ.ค. ที่จะประกาศในวันพฤหัสบดี Bloomberg คาดไว้ที่ 5.9%YoY หากต่ำกว่าที่ตลาดประเมินไว้จะเป็นบวกกับตลาดหุ้นรวมถึงทิศทางของค่าเงินบาทให้คงการแข็งค่าต่อไป ส่วนต่างประเทศจะเน้นที่ (1) ในวันพุธกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของสหรัฐฯจากสถาบัน ISM Bloomberg คาดการณ์ที่ 48.6 หากออกมา เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก็เท่ากับว่าลดลงจากเดือนก่อนและลดลงติดต่อกันแล้วเป็นระยะเวลา 1 ปี สะท้อนถึงภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ย่ำแย่ ขณะที่ในวันเดียวกันจะมีการรายงานตำแหน่งเปิดรับสมัครงานในสหรัฐฯ Bloomberg คาดไว้ที่ 10.1 ล้านตำแหน่ง (3) วันศุกร์กับภาคแรงงานสหรัฐฯ Bloomberg คาดการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯไว้ที่ 2 แสนตำแหน่งและอัตราการว่างงานที่ 3.7% ส่วนปรากฎการณ์ January Effect แม้สถิติบอกไว้ว่าในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาผลตอบแทนตลาดหุ้นเดือน ม.ค. จะให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 18 ปีแต่อีก 12 ปีให้ผลตอบแทนติดลบหรือคิดเป็นความน่าจะเป็น 60% ก็ถือว่าค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามหากพิจารณาลงปะจะพบว่าหากปีไหนที่ ธ.ค. ปรับขึ้นมาแล้ว โอกาสที่ ม.ค. จะปรับขึ้นต่อเริ่มน้อยลง และหากพิจารณาลงไปในปีที่ ธ.ค ปรับขึ้นและ ม.ค. ปรับขึ้นได้แก่ช่วง (Dec 92 , Jan 93 Dec 95 , Jan 96 , Dec 01 , Jan 02 , Dec 04 , Jan 05 , Dec 11 , Jan 12 , Dec 12 , Jan 13 , Dec 16 , Jan 17 , Dec 17 , Jan 18 , Dec 20 , Jan 21 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวพบว่าตลาดหุ้นมักอยู่โซนล่างและเป็นช่วงที่ Valuation ไม่แพงซึ่งปี 22 ในเดือน ธ.ค. SET ปรับขึ้นมา 2% และ Valuation ปัจจุบันไม่ถูกเท่าใดนักจึงคาดหวัง January Effect มิได้มากในปี 2023 ส่วนเช้านี้ตลาดหุ้น Nikkei ยังคงปิดทำการเนื่องในวันหยุดปีใหม่ ประเมินกรอบทั้งสัปดาห์ที่ 1650 - 1675 เชิงกลยุทธ์การลงทุนเน้นเป็นเพียงแค่การ Trading เนื่องจากตลาดหุ้นรับรู้ปัจจัยบวกไปเยอะและระดับ Valuation ที่ไม่ถูก เน้นหุ้นที่ยังขึ้นน้อย อาทิ Bank (BBL KBANK SCB TTB) ค้าปลีก (BJC HMPRO) สื่อสาร (ADVANC INTUCH) โรงไฟฟ้า (BGRIM GPSC RATCH)

RATCH (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 55.00 บาท) คาดกำไรไตรมาส 4/22 ลดลง QoQ จากอุปสงค์ในประเทศที่ลดลงจากปัจจัยตามฤดูกาลและค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ที่สูงขึ้น ส่วนการเติบโตในเชิง YoY จะได้แรงหนุนจากกำลังการผลิต 190MWe ที่เพิ่มเข้ามาในช่วงไตรมาส 4/21-3/22

KBANK (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 180.00 บาท) คาดว่ากำไรไตรมาส 4/22 จะโตดีต่อเนื่อง YoY จาก 1) การซื้อซ้ำ MOGU MOGU ใน 4 ตลาดหลัก (ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส) 2) ยอดขายในประเทศที่ฟื้นตัว และ 3) การขยายจุดขายในยุโรป

ที่มา: บางกอก ออทัม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ