"ไลอ้อน" ส่งเสริมชุมชนคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีกับโครงการ "แยกที่บ้าน ฝากทิ้งที่เรา"

พุธ ๐๔ มกราคม ๒๐๒๓ ๑๕:๑๙
นายบุญฤทธิ์ มหามนตรี ประธานกรรมการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อคนไทย มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด ไลอ้อน ประเทศไทย ได้จัดโครงการ "แยกที่บ้าน ฝากทิ้งที่เรา" ร่วมกับโรงเรียนผู้สูงอายุยานนาวา วัดทองบน มีกิจกรรมที่เผยให้ผู้บริโภคได้เห็นความสำคัญของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ขยะกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่แค่ปัญหา แต่เรียกว่าเป็นวิกฤตแล้ว ภาวะการเกิดฝุ่น PM 2.5 ภัยร้ายใกล้ตัวเรา สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้จากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ การเผาขยะ เป็นต้น ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันเกิดจากภาวะโลกร้อน โดยปัญหาการรีไซเคิลของประเทศไทยเกิดจากระดับครัวเรือนที่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะดีพอ โดยเฉพาะการทิ้งปะปนกับขยะอินทรีย์ซึ่งมีมากกว่า 60% โครงการนี้รณรงค์ให้ภาคประชาชน ลดการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้ง นำขยะมารีไซเคิล ใช้ให้คุ้มค่าที่สุด เริ่มต้นจากการคัดแยกขยะตามประเภท ด้วยหลัก 3R 1.Reuse การใช้ซ้ำ 2.Reduce ลดปริมาณการใช้ 3.Recycle การแปรรูปขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ อีกทั้ง เรียนรู้วิธีช่วยลดโลกร้อนที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลดการใช้พลังงานในบ้าน เปลี่ยนมาใช้หลอด LED ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ปลูกต้นไม้ทดแทน เป็นต้น

ที่ผ่านมา ไลอ้อน ประเทศไทย ได้จัดตั้ง "สถานีขยะทองคำ" สถานีคัดแยกขยะสำหรับพนักงานในองค์กรและบริษัทในเครือ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างพฤติกรรมการแยกขยะ สร้างความตระหนักก่อนทิ้ง และใส่ใจกับผลกระทบมากขึ้น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน การจัดวางจุดคัดแยกขยะ แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามวิธีการกำจัดและปลายทางของขยะแต่ละประเภท บางชนิดก็จะสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำไปแปรรูปใช้ใหม่ได้ ก็จะช่วยให้ปริมาณขยะที่ต้องส่งไปกำจัดหรือทำลายน้อยลง ลดปริมาณการเกิดก๊าซเรือนกระจก ขยะเพื่อบริจาค ขยะเพื่อรีไซเคิล ขยะเพื่อขาย และนำเงินที่ได้จากการขายขยะเข้ากองทุนพระโพธิสัตว์ช่วยเหลือเพื่อนพนักงาน

ร้อยตรี ชัชวาล รังสิกรณ์ ผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุยานนาวา เปิดเผยว่า วิธีการคัดแยกขยะในชีวิตประจำวัน เริ่มจากขั้นแรก คือ การแยกขยะในครัวเรือนของตนเอง เช่น ขยะเปียก ขยะแห้ง และขวดต่าง ๆ ซึ่งขยะที่แยกได้ยากจะเป็นถุงพลาสติก ส่วนขยะที่สามารถแยกได้ง่ายจะเป็น เศษอาหาร และขยะรีไซเคิล

นางสาวกัลยา มุ่งทวีพงษ์ ผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุยานนาวา กล่าวว่า สำหรับตนเองนั้นเมื่อดื่มนมกล่องเสร็จจะนำไปล้างน้ำ โดยน้ำที่ล้างจะเป็นน้ำจากการซักผ้า และนำนมกล่องที่ล้างเสร็จไปผึ่งแดดให้แห้ง และนำมาส่งสถานีคัดแยกขยะของไลอ้อน นอกจากนี้ที่บ้านมีขวดน้ำดื่มพลาสติก ก็จะนำมาคัดแยกและนำไปขายให้กับคนรับซื้อขวดพลาสติกต่อไป

นางเบญจวรรณ ลักขณานุวัฒน์ ผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุยานนาวา กล่าวว่า ที่บ้านมีผู้ป่วยติดเตียง 2 คน จะมีการคัดแยกขยะ ไม่ว่าจะเป็น แผงยา ถุงพลาสติก สำหรับเศษอาหารจะนำไปทิ้งนอกบ้าน ส่วนแผงยาจะนำไปบริจาคต่อ โดยหลังจากคัดแยกขยะแล้วจะเก็บไว้เป็นกอง ๆ และพยายามลดขนาดเล็กลง เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองพื้นที่

ทุกคนมีส่วนช่วยลดโลกร้อนโดยเริ่มต้นที่ตัวเอง ช่วยกันคนละไม้คนละมือ จากการแยกประเภทขยะที่บ้าน ก็สามารถช่วยชะลอหรือลดการเกิดโลกร้อนได้แล้ว เพราะไม่เพียงลดปัญหาขยะ แต่ในเศรษฐกิจหมุนเวียนนั้น ขยะรีไซเคิลมีค่าดั่งทอง

ที่มา: อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ