นวัตกรรมจากวิศวะมหิดล "แพลตฟอร์มกลางสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยเอไอ" และ "แชทบอทใส่ใจ" คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ

ศุกร์ ๒๐ มกราคม ๒๐๒๓ ๑๖:๕๓
ประเทศไทยขับเคลื่อนสู่อนาคตด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ รองคณบดีฝ่ายการจัดการทุนมนุษย์และองค์กรสัมพันธ์ พร้อมด้วย รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา รองคณบดีฝ่ายวิจัย ร่วมแสดงความยินดีแก่ทีมนักวิจัย ในโอกาสได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประเภทผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ด้วย 2 นวัตกรรม คือ "แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์" และ นวัตกรรม "แชทบอทปัญญาประดิษฐ์เพื่อการดูแลสุขภาพจิตและการช่วยเหลือด้านอารมณ์และสุขภาพจิต ในภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19" หรือ "แชทบอทใส่ใจ" ซึ่งนับเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม

ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์" (AI Psychological Intervention Open Platform) เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับสร้างเครื่องมือหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติทางสุขภาพจิต เพื่อช่วยให้บุคลากรด้านสุขภาพจิต ที่มีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพจิตผู้ป่วยจากองค์กรหน่วยงานต่างๆในประเทศไทย สามารถสร้างแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาแชทบอทให้บริการได้ตรงกลุ่มเป้าหมายของตน ส่งผลให้ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงการให้บริการและได้รับการดูแลด้านสุขภาพจิตมากขึ้นอย่างทั่วถึง นวัตกรรมนี้เป็นผลงานของ ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี ผศ.ดร.นริศ หนูหอม และ ดร.สุเมธ ยืนยง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อีกหนึ่งนวัตกรรมที่ได้รางวัลการวิจัยแห่งชาติ คือ แชทบอท "ใส่ใจ" (Psyjai) เป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ผนึกความร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย "แชทบอทใส่ใจ" เป็นเสมือนเพื่อนที่มีความรู้ทางด้านจิตวิทยา สามารถพูดคุยกับผู้ใช้งานได้ตลอด 24 ชม. และใช้งานง่าย ซึ่งผู้ใช้งานจะสามารถตระหนักรู้ถึงสภาวะอารมณ์ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า และนำไปสู่การจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดความยากลำบากของประชาชนในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพจิต ช่วยให้คนไทยทุกเพศวัยสามารถดูแลสุขภาพจิตตนเองได้ ทุกที่ ทุกเวลา และทันท่วงที ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าวไม่ให้พัฒนาความรุนแรงขึ้น โดยเป็นผลงานของ ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.พญ. สุดสบาย จุลกทัพพะ หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คุณพณิดา โยมะบุตร นักจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา: เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๒๔ แจกจริง! แบรนด์ซุปไก่สกัดส่งมอบรถเทสล่า มูลค่า 1.649 ล้านบาท ให้ผู้โชคดี ในแคมเปญ ดื่มแบรนด์ สแกนเลขในขวด ปี
๑๓:๕๐ GFC ตอบโจทย์ทุกความปลอดภัยเรื่องอาคาร - ถังแช่แข็งตัวอ่อน เปิดให้บริการสำหรับผู้มีบุตรยากตามปกติครบ 3
๑๓:๕๗ KJL ลุยภาคใต้! จัดใหญ่สัมมนา 'รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR' ที่ภูเก็ต
๐๒ เม.ย. แว่นท็อปเจริญ จับมือ กรมกำลังพลทหารบก แนะแนวการศึกษาและอาชีพ สร้างโอกาสแก่ทหารกองประจำการและครอบครัว
๐๒ เม.ย. AnyMind Group คว้ารางวัล Gold ในงาน Martech Innovation Awards 2025
๐๒ เม.ย. โชว์พลังดีไซน์ไทยในงาน STYLE Bangkok 2025 รวมแบรนด์ดาวรุ่งจาก Talent Thai และ Designers' Room ที่คุณไม่ควรพลาด
๐๒ เม.ย. ธนาคารกสิกรไทย จัดสัมมนาใหญ่ K WEALTH Forum: เจาะลึก 5 ปัจจัยเปลี่ยนเกมการลงทุนโลก
๐๒ เม.ย. PSP ปิดดีลทุ่ม 409.5 ลบ. ถือหุ้นใน รีไซเคิล เอ็นจิเนียริ่ง (RE) ปักหมุดธุรกิจสู่ศูนย์กลางรีไซเคิลสารเคมีแห่งภูมิภาค
๐๒ เม.ย. กลุ่มซีไอเอ็มบี เปิดรับสมัครสอบชิงทุน CIMB ASEAN Scholarship 2025 ทุนเรียนต่อปริญญาตรี - ปริญญาโท พร้อมโอกาสร่วมงานกับกลุ่มซีไอเอ็มบี
๐๒ เม.ย. ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค เปิดพิกัดจุดสรงน้ำพระ เสริมสิริมงคลกับเทศกาล สงกรานต์อิ่มบุญ