ซินโครตรอน-GIT จับมือใช้งานวิจัยพาไทยสู่ฮับการค้าการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับโลก

ศุกร์ ๒๐ มกราคม ๒๐๒๓ ๑๗:๑๓
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ประสานความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า ด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มมูลค่าให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และผลักดันไทยสู่ศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับโลกในทุกมิติ

นครราชสีมา - สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดย รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดย นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการวิจัยและพัฒนาอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า ด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จ.นครราชสีมา

รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ กล่าวว่า "สถาบันฯ และ GIT มีเจตนารมณ์ในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกันในการวิจัย การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ การตรวจสอบ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า เพื่อส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยใช้แสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ร่วมพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวข้อง และร่วมสร้างความร่วมมือเครือข่ายงานวิจัยที่เข้มแข็งระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามที่หน่วยงานเห็นสมควร"

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย กล่าวว่า "GIT และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนจะร่วมส่งเสริมและสนับสนุนด้านการวิจัย พัฒนาเทคนิคกระบวนการตรวจสอบ กระบวนการปรับปรุงคุณภาพ อัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า การสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการวิจัย การวิเคราะห์ ตรวจสอบ และทดสอบ การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยใช้แสงซินโครตรอน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสนับสนุนการฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนบุคลากร และการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะ ศักยภาพ และขีดความสามารถของนักวิจัยอันเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยในอนาคต"

"ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการลงนามในบันทึกความเข้าใจในวันนี้ จะเป็นการบูรณาการในเชิงขีดความสามารถและสมรรถนะของทั้ง 2 หน่วยงาน ในการผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับโลกในทุกมิติ" นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย กล่าว

โอกาสนี้ ผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองสถาบันฯ ยังได้บรรยายพิเศษเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ โดย ดร.ชาตรี ไสยสมบัติ รักษาการผู้จัดการระบบลำเลียงแสงที่ 7.2 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้บรรยายเรื่อง "การประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนกับงานวิจัยทางด้านอัญมณี" และ นายทนง ลีลาวัฒนสุข รองผู้อำนวยการ (เทคนิค) และ ดร.ภูวดล วรรธนะชัยแสง หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ได้บรรยายเรื่อง "แนวทางการดำเนินการวิจัยด้านอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศ"

ที่มา: สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version