คณะนิติศาสตร์ SPU ร่วมกับ ITA & BEC-TERO จัดเสวนา "ฆ่าโง่: ความรู้กฎหมายเพื่อคนรุ่นใหม่ สู้ภัยมิจฉาชีพ"

อังคาร ๒๔ มกราคม ๒๐๒๓ ๑๕:๓๖
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (LAW SPU) และกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ITA) ร่วมกับรายการ "ฆ่าโง่" โดยบริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)  จัดกิจกรรมเสวนาด้านกฎหมายภายใต้หัวข้อ "กฏหมายฉบับคนรุ่นใหม่ สู้ภัยกลโกงมิจฉาชีพ" โดยมี ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อย คณบดีคณะนิติศาสตร์ ,ผศ.ดร. ช้องนาง วิพุธานุพงษ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พร้อมด้วย ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และทนายสงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม เข้าร่วมในการเสวนา เพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้รู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพในปัจจุบันที่มีหลากหลายรูปแบบ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม  ณ Auditorium Room 1 ชั้น 14 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน) และผ่านช่องทางออนไลน์ของกองทุนสื่อฯ และ TERO Digital เมื่อเร็วๆนี้

ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อย คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้กล่าวว่า ทางคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีช่องทางช่วยเหลือสังคม 2 ด้าน ด้านแรกคือการใช้บุคลากรทำงานอยู่ภายใน ให้บริการและความช่วยเหลือแก่ประชาชนทางกฎหมาย โดยสามารถเข้ามาปรึกษากับคลินิกกฎหมายของมหาวิทยาลัยได้ อีกด้านหนึ่งคือการให้บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ให้ความรู้และพูดคุยกับประชาชนผ่านเฟซบุ๊ก "คลินิกกฎหมายศรีปทุม" นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกและชุมชนอีกด้วย

ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า "สื่อ" เป็นเครื่องมือที่มีพลังอย่างมาก แต่ท้ายที่สุดแล้วสื่อนั้นอยู่ได้ด้วยเงิน และวิธีการซึ่งนำมาซึ่งเงิน คือ การเรียกเรตติ้ง ให้สูง ๆ ซึ่งวิธีการอาจจะไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง เช่น การนำเสนอความรุนแรง เป็นต้น ทำให้ทุกวันนี้สื่อที่ถูกผลิตออกมาจึงมีอยู่มากมายเต็มไปหมด ตามความต้องการของตลาดหรือนายทุน แต่คำถามคือ สื่อเหล่านั้นได้สร้างให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม หรือทำให้เราได้ตระหนักรู้ถึงหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดีหรือไม่ อย่างไร กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมระหว่างเยาวชนคนรุ่นใหม่ กับการสร้างสรรค์สื่อที่ปลอดภัย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ภายในสังคม ตั้งแต่ระดับจุลภาค ไปจนถึงระดับมหภาค โดยใช้ "สื่อ" เป็นเครื่องมือ เพื่อทำให้สังคมที่เราอยู่มีการพัฒนาไปในทางที่ดียิ่งขึ้นไป

ด้าน ทนายสงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ได้ตอบคำถามและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนภายในงานเสวนา และกล่าวเพิ่มเติมว่า หัวใจสำคัญขอการผลิตสื่อต้องผลิตให้เข้าใจง่าย และการเป็นนักศึกษากฎหมายเองก็สามารถผลิตสื่อขึ้นมาได้ เพียงสั้น ๆ 2-3 นาที เพื่อประโยชน์ของสังคมต่อไป และยังได้กล่าวเสริมอีกว่า การเสพสื่อในยุคปัจจุบันมีความต่างจากเดิมมาก ข่าวทุกอย่างอยู่บนมือของทุกคน โดยข่าวสารเหล่านั้น มีทั้งส่วนดีและไม่ดี ในการใช้สื่อที่ถูกต้อง ต้องมีการระมัดระวัง ใช้วิจารณญาณ ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ ไม่เพียงเฉพาะสื่อบันเทิงเท่านั้น เพื่อเป็นเกาะป้องกันของตนเอง 

ทางด้าน ผศ.ดร. ช้องนาง วิพุธานุพงษ์ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เสริมว่า  การที่เราจะรอดพ้นจากการเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรือการเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง คือ เราต้องมีสติอยู่ตลอดเวลาขณะใช้สื่อออนไลน์

ทั้งนี้ สามารถติดตามชมรายการ "ฆ่าโง่" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.15-11.25 น. ทางช่อง 7HD และช่องทางออนไลน์ของ TERO Digital

ที่มา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ