ออราเคิล ชี้บริการประมวลผลบนคลาวด์ระบบเดียว ไม่สามารถตอบโจทย์โลกทั้งใบในวันนี้

จันทร์ ๓๐ มกราคม ๒๐๒๓ ๑๓:๒๑
เปิด 6 คำทำนายธุรกิจคลาวด์เมื่อโลกก้าวสู่ยุคไอทีเต็มรูปแบบ ซีอีโอ ออราเคิล ประเทศไทย ร่วมไขทางออกสำหรับกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ในปัจจุบัน

กระแสการใช้คลาวด์ที่แพร่หลายไม่ใช่เรื่องใหม่แล้วในวันนี้ แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปก็คือ องค์กรทุกประเภทต่างตระหนักแล้วว่าไม่มีผู้ให้บริการคลาวด์ "สำเร็จรูป" รายใดที่จะสามารถทำงานได้ทั้งหมดแบบเบ็ดเสร็จ เพราะธุรกิจต่าง ๆ ต้องการระบบคลาวด์ที่ดีที่สุดซึ่งเหมาะกับภาระงานหลักของบริษัทที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างถ้าคลาวด์ระบบ A เหมาะที่สุดสำหรับการรันแอปบนเดสก์ท็อป และคลาวด์ระบบ B ทำได้ดีเยี่ยมบนฐานข้อมูลของเซิร์ฟเวอร์ นั่นก็คือต้องเลือกคลาวด์ A และ B ตามรูปแบบงานนั้น

เมื่อเราก้าวเข้าสู่ปี 2023 บริษัทลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการใช้แค่คลาวด์สาธารณะเท่านั้น แต่พวกเขายังต้องการทางเลือกที่เอื้อต่อการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพื่อให้สามารถจัดการภาระงานบางอย่างได้บนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ของบริษัทตัวเอง

หนึ่งในคำทำนายอย่างง่าย ๆ ก็คือธุรกิจบริการประมวลผลบนคลาวด์ (Cloud Computing) ที่มีขนาดใหญ่ในปัจจุบันจะมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลเดือนเมษายนของ Gartner ประเมินว่าค่าใช้จ่ายสำหรับบริการคลาวด์สาธารณะของไทยในปี 2023 จะสูงขึ้น 31.8% โดยสูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 20.7%

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวันนี้คือลูกค้าต้องการทางเลือกอื่น ๆ (และจะได้รับในไม่ช้า) โดยตัวลูกค้าซึ่งแม้จะไม่ใช่ผู้ให้บริการ แต่ก็จะกลายเป็นผู้ขับเคลื่อนและบริหารจัดการระบบคลาวด์ได้ด้วยตัวเอง

รายละเอียดและสาระสำคัญของคำทำนายทั้ง 6 มีดังนี้

1. ระบบมัลติคลาวด์จะถูกใช้งานเป็นเรื่องปกติ

บริษัทต่าง ๆ จะใช้ระบบคลาวด์สาธารณะที่เหมาะสมภาระงานหลักของตนเองมากที่สุด และการใช้งานจะเพิ่มสูงขึ้นตลอดทศวรรษข้างหน้า

แม้แต่อุตสาหกรรมที่อยู่มาอย่างยาวนานซึ่งมักหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อาทิ บริการทางการเงิน ก็ยังนำคลาวด์มาใช้มากกว่าหนึ่งระบบ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ทุกแห่งในวันนี้ล้วนใช้คลาวด์มากกว่าหนึ่งระบบสำหรับการรันแอปพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐาน และนั่นทำให้ความจำเป็นในการใช้คลาวด์หลายระบบ (มัลติคลาวด์) เพิ่มสูงขึ้น

ผู้ให้บริการคลาวด์บางรายสนับสนุนเทรนด์นี้ด้วยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกของระบบคลาวด์ไว้บริเวณใกล้เคียงกัน เพื่อลดความหน่วงสัญญาณให้น้อยที่สุด ซึ่งช่วยรับประกันว่าลูกค้าที่ใช้บริการจากผู้ให้บริการทั้งสองรายจะได้ประสิทธิภาพด้านเวลาสัญญาณตอบสนอง (Response Time) ที่รวดเร็ว

ยกตัวอย่างเช่น Oracle Interconnect for Azure ซึ่งสนับสนุนการทำงานของบริษัทต่าง ๆ ทั้ง IntegraLife Sciences และ Mestec ก็มีการรันแอปพลิเคชันบางตัวข้ามไปมาระหว่างคลาวด์ทั้งสองระบบ

สาระสำคัญสองเรื่องในหัวข้อนี้ก็คือ 1. ลูกค้าต้องการคลาวด์มากกว่าหนึ่งระบบ และ 2. ผู้ให้บริการคลาวด์ต้องสร้างการเชื่อมต่อ (Bridge) ไม่ใช่กำแพงปิดกั้นบริการอื่น ๆ เพื่อหวังลดการใช้งานคลาวด์หลายระบบ

กล่าวโดยสรุป ลูกค้าต้องการให้บรรดาผู้ให้บริการคลาวด์ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อมอบบริการลที่ดีร่วมกันในฐานะผู้ให้บริการมืออาชีพ โดยลูกค้าควรสอบถามข้อมูลกับผู้ให้บริการคลาวด์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันหรือที่คิดจะใช้ในอนาคตให้ชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ให้บริการรายนั้นจะช่วยอำนวยความสะดวก ไม่ใช่ปิดกั้นการใช้คลาวด์หลายระบบ

2. ภาคธุรกิจต้องการทางเลือกเพื่อการพัฒนา

การใช้งานสิ่งที่ครั้งหนึ่งเราเคยเรียกว่า "ไฮบริด" และเรียกว่าคลาวด์ "แบบกระจายศูนย์ (Distributed)" ในวันนี้ กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างมาก โดยในโมเดลคลาวด์แบบกระจายศูนย์ บริษัทจะจัดการภาระงานบางอย่างบนคลาวด์สาธารณะภายนอกและจัดการระบบในศูนย์ข้อมูลที่ควบคุมโดยบริษัท ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎระเบียบ กฎหมาย เหตุผลด้านประสิทธิภาพ หรือด้านอื่น ๆ

การใช้งานแบบผสมนี้ถือว่าเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับบริษัทที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลขององค์กรหรือของลูกค้า แต่ก็ยังจำเป็นต้องนำข้อมูลมา "ระเบิดออก" เพื่อทำการวิเคราะห์หรือจัดการภาระงานที่ต้องใช้ทรัพยากรมากในการอัปโหลดไปเป็บไว้ในคลาวด์สาธารณะ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องยากเนื่องจากองค์กรต้องชั่งน้ำหนักอย่างรอบคอบระหว่างการใช้เทคโนโลยีภายในองค์กร โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ส่วนบุคคล และระบบคลาวด์สาธารณะ

กล่าวอย่างชัด ๆ ก็คือ แม้ว่างานบางอย่างจะดำเนินการ "ในสถานที่ปฏิบัติงาน" ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่ได้ "เกี่ยวข้องกับระบบคลาวด์" แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด แต่ผู้ให้บริการบางรายก็กำลังนำเสนอบริการที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถรันงานบางอย่างได้ทั้งในสถานที่ปฏิบัติงานและในคลาวด์สาธารณะผ่านกระแสข้อมูลที่ทำงานง่ายและไม่ต้องจ่ายแพง ซึ่งเมื่อลูกค้าใช้บริการคลาวด์ภายในสถานที่ปฏิบัติงานก็จะได้ประโยชน์จากต้นทุนแบบใช้เท่าไหร่จ่ายเท่านั้น โดยศูนย์วิจัย NRI ได้จัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์เฉพาะด้านสำหรับ Oracle Cloud Infrastructure (OCI) แห่งที่สองในศูนย์ข้อมูลของตัวเองที่โอซากาเมื่อต้นปีที่แล้ว หลังจากประสบความสำเร็จจากการใช้งานแห่งแรกที่ศูนย์ข้อมูลโตเกียว ซึ่งเมื่อรัน OCI แล้ว ระบบคลาวด์แบบกระจายศูนย์ภายในศูนย์ข้อมูลของ NRI ทั้งที่โตเกียวและโอซากาก็สามารถยกระดับประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการใช้ทรัพยากรของ OCI ได้อย่างดีเยี่ยม โดยยังสามารถรักษาธรรมาภิบาลทางการเงินขั้นสูงและการเรียกใช้งานได้ทุกเวลาที่ต้องการ

ตอนนี้ไม่ควรมีใครสงสัยแล้วว่ามัลติคลาวด์และการใช้งานไฮบริดควรเปิดใช้ฟรีสำหรับทุกคน ซึ่งจะเป็นการเปิดทางสู่ยุคการประมวลผลบนคลาวด์ หากย้อนไปในอดีต แผนกต่าง ๆ หรือแม้แต่ในระดับคนทำงานในบริษัทต่างจำเป็นต้องเริ่มใช้บริการคลาวด์ โดยมักไม่ได้รับอนุญาตหรือแม้แต่ความรู้ด้านไอที แต่ในวันนี้ การใช้งานคลาวด์แบบกระจายศูนย์จำเป็นต้องได้รับการวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อรองรับความสามารถในการทำงานร่วมกันและการตรวจสอบธรรมาภิบาลที่ดีได้ตั้งแต่ในขั้นตอนแรก

สาระสำคัญก็คือผู้ให้บริการคลาวด์ต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งภาคธุรกิจและหน่วยงานรัฐบาลในจุดที่พวกเขาต้องการ ไม่ใช่ผลักใสภาระการรันข้อมูลและแอปพลิเคชันทั้งหมดให้ไปตกอยู่บนคลาวด์ระบบเดียวของผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง

3. ทุกคนต้องการอธิปไตยในระบบคลาวด์ที่มั่นคง

ข้อดีของคลาวด์สมัยใหม่คือมีรูปแบบและขนาดที่หลากหลาย เนื่องจากประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ทุกวันนี้ล้วนต้องการคลาวด์ในรูปแบบของตัวเอง หลายประเทศมีกฎระเบียบด้านอธิปไตยของข้อมูลที่กำกับว่าข้อมูลต้องถูกเก็บและประมวลผลภายในประเทศ โดยต้องไม่ถูกส่งไปยังสหรัฐอเมริกาหรือเมืองที่อยู่นอกพรมแดน ทำให้โมเดลการใช้ศูนย์ข้อมูลคลาวด์เชิงเดี่ยวเพื่อให้บริการหลาย ๆ ประเทศในหนึ่งภูมิภาคแบบเดิมกลายเป็นเรื่องล้าหลังไปแล้ว

โพสต์ล่าสุดในบล็อก Forrester Research ได้ระบุถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้ให้บริการคลาวด์ในสหภาพยุโรปที่มั่นคงปลอดภัย รวมถึงข้อมูลของรัฐบาลหรือพลเมืองที่คงอยู่ในประเทศและโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ซึ่งดำเนินการโดยพลเมืองของประเทศนั้น โดยผู้ให้บริการระบบคลาวด์ต้องยินยอมแสดงหลักฐานให้เห็นว่าตนปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่นและข้อบังคับด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ภาคธุรกิจต้องตระหนักว่าการไม่ปฏิบัติตามกฎอธิปไตยของข้อมูลอาจนำไปสู่การเสียเงินค่าปรับอย่างมหาศาล ซึ่งอาจสูงหลายร้อยล้านดอลลาร์ นี่ยังไม่ต้องพูดถึงความเสียหายต่อแบรนด์ที่ประเมินค่าไม่ได้

ประเทศและท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ต้องเก็บข้อมูลในพื้นที่เฉพาะ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบคลาวด์ที่ตนเลือกใช้สอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าว แท้จริงแล้วผู้ให้บริการคลาวด์ Gen 1 บางรายก็ยังไม่เคยทำสิ่งใดมากไปกว่าออกข่าวประชาสัมพันธ์แสดงความตั้งใจที่จะให้บริการคลาวด์ที่มั่นคงปลอดภัยเท่านั้นเอง

ปัจจุบัน คลาวด์ที่มีความมั่นคงปลอดภัยซึ่งใช้เทคโนโลยีของออราเคิล เปิดให้บริการแล้วในบางประเทศ

4. องค์กรต่าง ๆ จะใช้ HCM บนคลาวด์เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนทางธุรกิจ

ทศวรรษที่ 2020 ทำให้เราได้เห็นถึงความซับซ้อนในการบริหารงานบุคคล เมื่อบริษัทต่าง ๆ ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่จนต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบการทำงานนอกสถานที่และยังประสบกับช่องว่างด้านทักษะจาก "การลาออกครั้งใหญ่" โดยหลายแห่งต้องมีการเลิกจ้างและการปรับสถานะพนักงานเนื่องจากเศรษฐกิจที่ผันผวน ปัจจัยเหล่านี้รวมถึงความจำเป็นในการฝึกอบรมทักษะที่ต้องรวดเร็วขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด ล้วนเป็นความท้าทายที่ระบบการบริหารทุนมนุษย์ (HCM) บนคลาวด์สามารถช่วยชี้นำทิศทางการทำงานของบริษัทได้

การเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ทั้งเฮลธ์แคร์ บริการโรงแรมที่พัก ธุรกิจค้าปลีก และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ล้วนต้องว่าจ้าง จัดตารางเวลา บริหารจัดการ และจ่ายเงินให้กับพนักงานพาร์ตไทม์หรือพนักงานสัญญาจ้างจำนวนมาก ซึ่งพนักงานจำนวนมากในภาคธุรกิจดังกล่าวไม่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ แม้ว่าพวกเขาไม่ต้องอยู่ที่โต๊ะทำงานหรือต้องปฏิบัติงานในสถานที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่นพยาบาลซึ่งไม่ต้องนั่งทำงานที่โต๊ะ แต่ก็ต้องเดินไปมาระหว่างห้องตรวจภายในโรงพยาบาล เป็นต้น โดยระบบ HCM บนคลาวด์สมัยใหม่และแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องจะช่วยบริหารจัดการและสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานแบบ "ไร้โต๊ะทำงาน" เหล่านี้ได้อย่างเหมาะสมที่สุด

ในทำนองเดียวกัน ธุรกิจต่าง ๆ ยังต้องสนับสนุนผู้ที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ทั้งแบบเต็มเวลาหรือไม่เต็มเวลาให้ได้รับประสบการณ์แบบเดียวกับผู้ที่ทำงานอยู่ในบริษัท เพราะความต้องการความยืดหยุ่นในสถานที่ปฏิบัติงานจะไม่มีทางลดลงแม้ว่าการแพร่ระบาดจะผ่อนคลายลงแล้วก็ตาม ผลสำรวจ "Asia Pacific Workforce Hopes & Fears Survey 2022" โดย PwG เมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า พนักงานในไทยกว่า 73% คาดหวังให้นายจ้างเสนอรูปแบบการทำงานทางไกลในช่วง 12 เดือนข้างหน้า และมีเพียง 4% ที่ชอบการทำงานแบบพบหน้ากันจริง ๆ ในสำนักงาน

ย้ำอีกครั้งว่า HCM บนคลาวด์ที่มีการติดตั้งปัญญาประดิษฐ์จะเป็นตัวช่วยที่ดีมาก ด้วยการทำให้ภาระงานทั่วไปที่ต้องใช้เวลานานเปลี่ยนเป็นแบบอัตโนมัติ ซึ่งระบบเหล่านี้จะช่วยให้การจ้างงานใหม่ทำได้ง่ายและเร็วขึ้น

ผู้ช่วยดิจิทัลที่ติดตั้งปัญญาประดิษฐ์จะช่วยรวบรวมข้อมูลจากพนักงาน ทำการตีความและตอบคำถามโดยใช้การประมวลผลด้วยภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) แชตบอตเหล่านี้จึงช่วยให้งานทั่วไปดำเนินไปได้เร็วขึ้น ลดการโทรศัพท์ติดต่อและส่งอีเมลถึงฝ่ายบุคคล ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ช่วยดิจิทัลยังให้ประโยชน์แก่พนักงาน โดยสามารถให้คำแนะนำทั้งในเรื่องใบจัดซื้ออุปกรณ์ การรายงานค่าใช้จ่าย และงานอื่นๆ

ข่าวดีก็คือพนักงานไม่รังเกียจที่จะทำงานกับปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นข้อมูลจากการศึกษาระดับโลก AI@Work ของ Oracle เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งชี้ว่า 82% ของผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 14,500 คน รู้สึกว่าหุ่นยนต์สามารถสนับสนุนหน้าที่การงานของพวกเขาได้ดีกว่ามนุษย์ เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถให้คำแนะนำที่ปราศจากอคติ

ปัญญาประดิษฐ์ยังสามารถช่วยให้พนักงานเข้าถึงเนื้อหาการฝึกอบรมที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย โดยพิจารณาจากลักษณะงานในปัจจุบัน สถานที่ปฏิบัติงาน ภูมิหลัง และความใฝ่ฝันในอาชีพ

สิ่งสำคัญในเรื่องนี้ไม่ได้มีเฉพาะแค่ HCM เท่านั้น แต่แอปพลิเคชันทางธุรกิจทั้งหมดจะต้องเป็นมิตรกับผู้ใช้มากกว่าในอดีตด้วย ภายในปี 2024 แอปพลิเคชันรุ่นเก่าส่วนใหญ่จะได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพให้ทันสมัยโดยใช้บริการคลาวด์ตาม IDC แต่คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ช่วงเวลาดังกล่าวนี้เร็วพอหรือยัง?

การติดตั้งปัญญาประดิษฐ์ลงในแอปพลิเคชันเหล่านี้ทำให้ผู้คนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น พนักงานสามารถประหยัดเวลาสามชั่วโมงต่อสัปดาห์จากการป้อนข้อมูล ก็สามารถใช้เวลาสามชั่วโมงนั้นในการถามคำถามเกี่ยวกับข้อมูล เพื่อหาวิธีประหยัดรายจ่ายหรือเพิ่มรายรับให้กับบริษัทแทน

โดยรวมแล้ว การใช้เทคโนโลยี อาทิ HCM อย่างชาญฉลาด ช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการบริหาร จัดการ ช่วยเก็บรักษาพนักงานผู้มีความสามารถให้อยู่กับองค์กร และมอบประโยชน์อีกมากมายในอนาคต

หนึ่งในบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการใช้ HCM คือ?ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เลือกใช้ Oracle Fusion Cloud Human Capital Management (HCM) เพื่อส่งเสริมการทำงานระบบดิจิทัลด้วยการยกระดับประสบการณ์พนักงานให้ดียิ่งขึ้น และด้วยการสนับสนุนของ Oracle Cloud HCM ทำให้ ธปท. สามารถลดขั้นตอนการทำงานด้วยมนุษย์และช่วยให้ระบบงานดำเนินไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

5. บริษัทจะทำให้การเข้าถึงและการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นประชาธิปไตย

ธุรกิจต่าง ๆ ล้วนเกี่ยวข้องกับข้อมูล ทั้งข้อมูลการขายผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่าย สินค้าคงคลัง การผลิต ตลอดจนการดำเนินงานทั้งหมดของบริษัท แต่ข้อมูลที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานก็จะไม่มีประโยชน์ ปัญหาก็คือการทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ดังนั้น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง (ML) จึงถูกติดตั้งอยู่ในระบบขององค์กรเพื่อวางพื้นฐานในการทำให้ข้อมูลเป็นประชาธิปไตย

ในการสนับสนุนเรื่องนี้ บริษัทจำเป็นต้องนำเอา "การวิเคราะห์เสริม (Augmented analytics)" มาใช้เพื่อทำให้ข้อมูลเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายสำหรับ "คนธรรมดา" อย่างนักธุรกิจ เพราะการเข้าใจในการสร้างและการทดสอบโมเดลธุรกิจต้องไม่จำกัดเฉพาะแค่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเท่านั้น ซึ่งนี่เป็นเรื่องสำคัญ เหตุผลหนึ่งก็คือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลหาตัวยากและมีค่าแรงสูง อีกเหตุผลก็คือ พวกเขามักมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทน้อยกว่าผู้จัดการในสายงานจริง

หากหัวหน้าแผนกสามารถใช้ภาษามนุษย์ปกติในการถามคำถามเกี่ยวกับข้อมูลได้ ผู้จัดการคนนั้นก็ไม่จำเป็นต้องรอให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลหรือผู้เชี่ยวชาญมาคอยหาคำตอบ

สถานการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ เมื่อเราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ML ส่งรายงานหรือแจ้งเตือนไปยังผู้จัดการฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ทันที โดยพิจารณาตามผลการสืบค้น หน้าที่ของผู้จัดการ และปัจจัยอื่น ๆ เพราะคงเป็นเรื่องที่ดีมากถ้าเราสามารถได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ก่อนที่เราจะร้องขอ!

ดังที่ แบรด ชิมมิน หัวหน้านักวิเคราะห์ของ Omdia ชี้ว่า "…สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการผลักดันวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่ 'เป็นประชาธิปไตย' ที่ทุกคนเข้าถึงได้ก็คือ มันไม่ได้ให้ประโยชน์เฉพาะกับผู้คนจำนวนมากที่ซึ่งก็คือผู้ใช้งานทางธุรกิจโดยเฉลี่ยของคุณเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ ML สามารถไหลเวียนไปทั่วองค์กร เพื่อให้บุคคลที่ต้องการใช้งานสามารถหยิบมันขึ้นมาใช้ได้ทันทีในเวลาที่เหมาะสม เพื่อทำงานบางอย่างให้เสร็จลุล่วงได้อย่างรวดเร็ว"

การวิเคราะห์และการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันได้อย่างมาก นับตั้งแต่รถยนต์ฟอร์มูล่า 1 และการแข่งเรือใบ SailGP ไปจนถึงการตรวจจับการฉ้อโกง ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์จะเป็นอีกหนึ่งตัวขับเคลื่อนหลักในอนาคต

6. ธุรกิจต้องเป็นผู้นำด้านบรรษัทภิบาล

เมื่อเกิดความวิตกกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคจึงต้องการทราบว่าผลิตภัณฑ์และบริการมีแหล่งที่มา วิธีการผลิตและการจัดส่งอย่างไร โดยผู้คนจำนวนมากขึ้นต้องการทำธุรกิจกับบริษัทที่มีค่านิยมด้านสังคมและบรรษัทภิบาล (ESG) ที่เข้มแข็ง บริษัทที่ชาญฉลาดจึงต้องพบกับความท้าทายด้วยการต้องลงมือทำจริง ไม่ใช่แค่การพูดปากเปล่า โดยในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Summit) เมื่อเร็ว ๆ นี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความยั่งยืนและขอความร่วมมือทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐบาลในการรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดต้องได้รับการคำนวณผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากบริษัท เนื่องจากกว่า 90% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทมาจากขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทนั่นเอง

จึงไม่น่าแปลกใจที่บริษัทในภาคธุรกิจต่าง ๆ กล่าวว่าพวกเขาจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางการปฏิบัติงานในการจัดหาทรัพยากร การผลิต และการจัดจำหน่าย ตั้งอยู่บนความยั่งยืนอยู่เสมอ แต่ในความเป็นจริงนั้น หลายครั้งที่เป็นเพียงเรื่องผักชีโรยหน้า โดยรายงานการพัฒนาด้านความยั่งยืน Deloitte 2022 CXO Sustainability Report บริษัทที่ปรึกษาแห่งนี้พบว่าองค์กรมากกว่า 1 ใน 3 ดำเนินการเพียงหนึ่งในห้าส่วนของแผนงานด้านความยั่งยืน

ยกตัวอย่างเช่น 67% ของบริษัทที่ CXO สำรวจ กล่าวว่าบริษัทของพวกเขากำลังใช้วัสดุที่มีความยั่งยืนมากขึ้น และ 66% กล่าวว่าพวกเขากำลังเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน แต่มีเพียง 49% ของบริษัทมากกว่า 2,000 แห่งที่ CXO สำรวจ กล่าวว่าพวกเขากำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศ และมีเพียง 37% เท่านั้นที่กำหนดให้ค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงแปรผันตามประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

การสร้างเปลือกนอกให้ดูดีอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องแก้ไขห่วงโซ่อุปทานเพื่อปรับปรุงภาวะทางการเงินของตัวเองด้วย นอกเหนือจากสถิติก๊าซเรือนกระจก 90% ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทยังก่อให้เกิดต้นทุนการดำเนินงาน 50- 70% โดยรายงาน EY Supply Chain Sustainability 2022 ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "นอกจากการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎระเบียบแล้ว องค์กรต่าง ๆ กำลังแสวงหาวิธีสร้างมูลค่าระยะยาวด้วยการผสานแนวคิดความยั่งยืนไว้ในการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทานของบริษัท"

ในการรับมือกับความท้าทายที่ละเอียดอ่อนนี้ ธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องมีมุมมองที่รอบด้านและอัปเดตอยู่เสมอทั้งในเรื่องสินค้าคงคลัง รวมไปถึงซัพพลายเออร์และพันธมิตรการกระจายสินค้า และดังที่กล่าวไว้ข้างต้น พวกเขาต้องการการวิเคราะห์ในระดับโลกเพื่อแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ และเมื่อติดตั้งเครื่องมือที่จำเป็น พวกเขาจะสามารถจัดหาและผลิตสินค้าให้อยู่ใกล้กับผู้ซื้อมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดระยะทางและต้นทุนเชื้อเพลิงในการขนส่งให้น้อยที่สุด นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าได้ดีขึ้น เพื่อช่วยในการคาดการณ์หรือป้องกันสินค้าขาดตลาด และปรับปรุงการวางแผนห่วงโซ่อุปทานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมของธุรกิจ

สิ่งสำคัญคือเราต้องตระหนักว่าไม่มีบริษัทใดที่ทำงานได้ด้วยตัวคนเดียว แต่ละแห่งต้องทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์และพันธมิตรอื่น ๆ เพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพและจริยธรรม

นอกจากประโยชน์ต่าง ๆ แล้ว การย้ายการทำงานส่วนใหญ่ใช้การประมวลผลบนคลาวด์ (Cloud Computing) ก็สามารถช่วยเยียวยาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกได้ โดย IDC ประเมินว่าการนำระบบคลาวด์มาใช้ในวงกว้างสามารถป้องกันการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 1 พันล้านเมตริกตันระหว่างปี 2021 ถึง 2024

ความสำคัญของการดำเนินงาน ESG ที่แท้จริงไม่สามารถกล่าวอ้างเกินจริงได้ ในด้านหนึ่ง ลูกค้าเรียกร้องสิ่งนี้ ส่วนอีกด้านนั้น รัฐบาลต่าง ๆ กำลังมีการเคลื่อนไหวกันอย่างรวดเร็วในการออกกฎระเบียบ เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจจะมีการใช้เงินลงทุน (และนโยบาย) ไปในด้านความยั่งยืน

ที่กล่าวมานั้นคือความท้าทายที่ต้องเผชิญ หากรางวัลที่จะได้รับก็คือบริษัทที่ปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานและการดำเนินการอื่น ๆ ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้น สามารถกล่าวอ้างได้ว่าบริษัทช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อโลกให้เหลือน้อยที่สุดได้อย่างแท้จริง และเสริมสร้างชื่อเสียงให้กับแบรนด์ของตน ซึ่งผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมจะสังเกตเห็นสิ่งนี้ได้แน่นอน

กล่าวโดยสรุป เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 2020 ผู้ซื้อบริการคลาวด์ต้องการเทคโนโลยีที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถจัดการต้นทุน เพิ่มรายได้ และพวกเขาต้องการทางเลือกในการใช้งานเทคโนโลยีนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกเขาจะให้ความสำคัญกับผู้ให้บริการคลาวด์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ไม่ใช่คอยขัดขวางเมื่อพวกเขาต้องการสะสางภาระงานบนคลาวด์

นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย กล่าวว่า "ออราเคิล ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันชั้นนำสำหรับวิสาหกิจ ตระหนักถึงเทรนด์การใช้งานมัลติคลาวด์มาโดยตลอด ทำให้เรามุ่งมั่นผสานโซลูชันของเราเข้ากับระบบคลาวด์ของพันธมิตรหลายราย ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Azure เพื่อให้ลูกค้าไมโครซอฟท์สามารถเข้าถึงการทำงานในระบบฐานข้อมูลบน Oracle Cloud Infrastructure โดยตรงภายใต้มาตรฐานเดียวกัน หรือแม้แต่การเปิดให้ใช้งาน Oracle MySQL HeatWave บนแพลตฟอร์ม Amazon Web Services (AWS) เมื่อไม่นานมานี้ ออราเคิลยังคงขยายความร่วมมือไปสู่พันธมิตรไอทีรายอื่น ๆ โดยจะเริ่มจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มรายใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก เพื่อมอบความสะดวกในการทำงานและการประมวลผลผ่านคลาวด์ที่รวดเร็วแก่ลูกค้าของทุกฝ่าย และแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่าออราเคิลคือผู้ให้บริการคลาวด์และโซลูชันแบบครบวงจร ที่มุ่งมั่นมอบความสะดวกสบายและการทำงานข้ามระบบที่ไร้พรมแดนอย่างแท้จริง"

ที่มา: วิวาลดี้ อินทิเกรเต็ด พับลิค รีเลชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version