ภก.คงเกียรติ ฉัตรหิรัญทรัพย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บียอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด สถาบันฝึกอบรมชั้นนำของประเทศ ผู้ให้บริการธุรกิจด้านบริการฝึกอบรมโปรแกรมด้าน ทักษะผู้นำยุคใหม่ ที่โดดเด่นด้านการสร้างภาวะผู้นำให้พนักงานองค์กร กล่าวว่า ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวหลักสูตร Adaptive Leadership Series อย่างยิ่งใหญ่ภายในงาน Thailand HR Day เพื่อฉลองวาระการครบรอบการก่อตั้งสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ที่แสดงถึงความพร้อมในการเป็นสถาบันที่มุ่งสร้างผู้นำยุคใหม่ (Adaptive Leadership) ให้กับคนทุกระดับในองค์กร ด้วยโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำ ที่มีงานวิจัยรองรับ ที่มีผลงานโดดเด่นในการพัฒนาผู้นำจากองค์กรชั้นนำของประเทศไทย ให้สามารถเปลี่ยนมุมองความคิด และ พฤติกรรมของผู้นำได้จริง
และความสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำ (Adaptive Leadership Series) คือ การยกปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของการพัฒนาผู้นำ โดยเสริมสมรรถนะที่สำคัญ ทั้ง 8 ด้านที่ผู้นำยุคใหม่ต้องมี คือ
1.Resource Management ความสามารถด้านการบริหารทรัพยากรวางแผนจัดสรรงานและบริหารคนให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้จากการทำโครงการ (Project) ขนาดใหญ่ ให้องค์กร
2.Change Management ความสามารถในการบริหารจัดการกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งด้านสภาวะแวดล้อมกระบวนการทำงาน รวมถึงสภาพจิตใจและพฤติกรรมของคนในองค์กร
3.Disruptive การปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล ความสามารถด้านการรับมือกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาแทรกแซงกระบวนการทำงานขององค์กรยุคใหม่
4.Building Team For Future สร้างทีมรองรับการเติบโตในอนาคต ความสามารถในการสร้างอิทธิพลและเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญเพื่อ"สร้างทีมงาน"ที่พร้อมเดินหน้าสู่อนาคตไปพร้อมกับองค์กร
5.Attitudes ทัศนคติของการเป็นผู้นำ ทัศนคติของ "คนยุคใหม่" ที่พร้อมเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับอาชีพและคุณภาพชีวิตของตนเอง
6.Communication Effectiveness การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เก่ง ด้านประสานงานและสื่อสารกับบุคลากรต่างแผนก เพื่อนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการ
7.Performance Management ความสามารถด้านบริหาร ด้วยวิธีการทำงานที่เป็นระบบมีมาตรฐานและลดข้อผิดพลาดอีกทั้งยังเก่งด้านการสร้าง ROI (Return on Investment) คืนสู่องค์กร
8.Interpersonal Skills ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เชื่อมความสัมพันธ์ของคนในองค์กรเข้าใจคนแต่ละประเภท รับรู้จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อดึงศักยภาพสูงสุดของแต่ละคนออกมา
โดยทั้ง 8 ด้านนี้เราจะเริ่มใช้กระบวนการจับคู่ด้วยชุดทักษะที่เหมาะสมกับกลุ่มบุคลากรในแต่ละระดับ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่ม Frontline Leader คือกลุ่มที่เริ่มมีผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นครั้งแรก ทักษะที่ต้องพัฒนามี 3 ด้าน ได้แก่ Task Management , People Management , Change Management และ 2.กลุ่ม Manager Level คือกลุ่มที่เคยบริหารผู้ใต้บังคับบัญชามาแล้ว ต้องการต่อยอดทักษะเชิงลึกของการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มขนาดทีมและขอบข่ายความรับผิดชอบมากขึ้น
แต่ทั้งนี้สิ่งที่ทำให้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำ Adaptive Leadership Series นอกเหนือจากการเลือกวิชาแล้ว อีกความโดดเด่น คือ การวางโครงสร้างการเรียนรู้ (The New Way Of Employee Learning) ที่หลากหลายตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบ 10:20:70 ที่ประกอบไปด้วย
(10) เพื่อให้เกิด ความรู้พื้นฐานในแต่ละทักษะ ทั้งในรูปแบบ Class room Training หรือผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่าง E-Learning และ Virtual Live Class
(20) การสนับสนุนให้เกิด Learning Culture ในองค์กรด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน พร้อมกับการมี Guideline เพื่อให้หัวหน้างาน หรือ ผู้บริหารสายงาน เข้าไป Coaching & Mentoring ผู้เรียนก่อนนำทักษะจริงไปใช้กับการทำงาน เช่น กิจกรรม Sharing Session , Community Of Practice (COP) โดยผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ เข้าไปร่วมแบ่งปันประสบการณ์พร้อมตอบคำถามข้อสงสัย เพื่อให้สิ่งที่เรียนรู้นำไปใช้ในการทำงานจริง เป็นต้น
(70) การเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนด้วยการสนับสนุนให้หัวหน้างาน มอบหมายโครงการที่ท้าทายให้มีโอกาสได้ใช้ทักษะที่ได้เรียนรู้จากโครงการกับงานจริง (Project Assignment ) รวมถึงการสนับสนุนให้เกิด Knowledge Sharing ในองค์กร การทำ Experience & Exposure , Hackathon และ กิจกรรม Boostcamp เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งพฤติกรรม ทัศนคติ ทักษะ และความรู้ แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
"ดังนั้นการเปิดตัว โปรแกรม Adaptive Leadership Series ท่ามกลางงาน Thailand HR Day ที่เป็น กิจกรรมรวมคนสายงานทรัพยากรบุคคลมากมาย นับเป็นการประกาศถึงความพร้อมของบียอนด์ เทรนนิ่ง ที่จะเป็นตัวเลือกที่ได้มาตรฐานสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ที่ต้องการพัฒนาผู้นำยุคใหม่อย่างเร่งด่วน เพื่อเดินหน้าธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในยุคดิจิทัลนี้ใหม่นี้" ภก.คงเกียรติกล่าวในท้ายสุด
ที่มา: คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์