เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย และนายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (เมติ) ญี่ปุ่น ได้มีการแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือ "Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่การดำเนินงานพัฒนาทักษะบุคลากรภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีทั้งสองประเทศได้มีการหารือร่วมกันเกี่ยวกับการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะบุคลากร รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในไทยในโอกาสที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลการหารือดังกล่าว รวมทั้งความสัมพันธ์อันดีของรัฐมนตรีทั้งสองท่านจะทำให้การดำเนินโครงการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นเป็นไปอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
"โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" เริ่มมีการดำเนินการในประเทศไทยนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation: DX) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (เมติ หรือ METI) และกระทรวงอุตสาหกรรม ประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเป็นโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลไทยและญี่ปุ่นภายใต้กรอบความร่วมมือข้างต้นอีกด้วย นอกจากนี้การดำเนินโครงการดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานความร่วมมือต่าง ๆ เช่น JTECS The Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships (AOTS) องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO หรือ เจโทร) สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. และสถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น (TNI) เป็นต้น
ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาภายใต้ "โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" ได้มีการพัฒนาบุคลากรสู่การเป็นที่ปรึกษาด้าน IoT จำนวนทั้งสิ้น 50 คน และมีการให้คำปรึกษาแนะนำแก่บริษัท SME จำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ซึ่งการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำภายในสถานประกอบการนั้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ ที่ดำเนินการในรูปแบบ On-the-job- Training (OJT) ซึ่งเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างชัดเจนในด้านของการลดเวลาส่งมอบ การลดปริมาณสินค้าคงคลัง และการเพิ่มผลิตภาพ เป็นต้น โดยในการเข้าพบครั้งนี้ นายคุวาตะ ฮาจิเมะได้รายงานผลการดำเนินงานดังกล่าวให้แก่ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมทราบ รวมทั้งได้มีการรายงานผลการสำรวจ "ประเด็นปัญหาต่อการมุ่งสู่ 'Smart Factory'" ซึ่งได้แสดงให้เห็นข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า แม้ 56% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามจะอยู่ในระหว่างการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ Smart Factory แต่มากกว่า 90% ของบริษัทเหล่านี้มีความสนใจที่จะใช้บริการที่ปรึกษาเพื่อมุ่งสู่ "Smart Factory" เป็นต้น หรือ กล่าวได้ว่ามีผู้ประกอบการที่มีความต้องการเข้าร่วม"โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" เป็นจำนวนมากจากผลการสำรวจดังกล่าว
นอกจากนี้ จากการหารือร่วมกันในครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม METI JTECS ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อน "โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" ในประเทศ ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนให้สามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนภายใต้กรอบความร่วมมือในรูปแบบ G2G ที่กระทรวงอุตสาหกรรมไทย มีร่วมกันกับ METI อีกทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ รวมไปถึงการคัดเลือกบุคลากร และสถานประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวในประเทศไทยเป็นไปอย่างราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด
การสำรวจประเด็นปัญหาต่อการมุ่งสู่ "Smart Factory"
กลุ่มเป้าหมาย: บริษัทผู้ผลิตในประเทศไทย 114 แห่ง
ระยะเวลาการสำรวจ: วันอังคารที่ 13 ธันวาคม 2565 - วันพุธที่ 11 มกราคม 2565
วิธีการสำรวจ: สำรวจทางอินเทอร์เน็ต
องค์กรสำรวจ: สำรวจภายในองค์กรเอง
*สามารถดาวน์โหลดผลสำรวจโดยละเอียดได้ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 จากลิ้งค์ด้านล่าง
https://www.jtecs.or.jp/smamono/3598/
?ข้อมูลองค์กรโดยสังเขป?
ชื่อองค์กร: สมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น-ไทย
ชื่อภาษาอังกฤษ: Japan-Thailand Economic Cooperation Society (JTECS)
ตัวแทน: ประธานอาวุโส อุจิยามาดะ ทาเคชิ
ที่ตั้ง: Asian Cultural Center, 2-12-13 Honkomagome, Bunkyo-ku, Tokyo 113-0021
โทรศัพท์: 03-3946-0841 (หมายเลขกลาง)
โทรสาร: 03-3946-0896
URL:https://www.jtecs.or.jp/
วัตถุประสงค์องค์กร: ดำเนินโครงการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างญี่ปุ่นและประเทศต่าง ๆ
[สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม]
ชื่อสถาบัน: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้รับผิดชอบ: (ภาษาไทย) ณิชาภา (ภาษาญี่ปุ่น) ซูเกกาวะ/ยามาโมโตะ
อีเมล: (ภาษาไทย) [email protected] ,
(ภาษาญี่ปุ่น) [email protected] [email protected]
โทรศัพท์: 02-258-0320 ต่อ 1914 (ภาษาไทย)
ที่มา: เจโทร กรุงเทพฯ