ซินโครตรอน-ม.พะเยาจับมือสร้างเครือข่ายงานวิจัยเข้มแข็งระหว่างหน่วยงานภาครัฐ

จันทร์ ๐๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๓ ๑๖:๓๘
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และมหาวิทยาลัยพะเยา จับมือสร้างเครือข่ายงานวิจัยเข้มแข็งระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หนุน คาดหวังเกิดความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีโดยอาศัยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน พัฒนากำลังคน สร้างผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ สู่การประยุกต์ใช้เชิงอุตสาหกรรมและชุมชน

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดย รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และมหาวิทยาลัยพะเยา โดย รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ณ อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โอกาสนี้ รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามด้วย

รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ กล่าวว่า "หนึ่งในพันธกิจของสถาบันฯ คือการส่งเสริมและถ่ายทอดการเรียนรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและการใช้ประโยชน์ สู่การยกระดับและพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ความร่วมมือครั้งนี้จะส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา สามารถใช้เทคนิคแสงซินโครตรอน และเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบของสถาบันได้ ร่วมกับพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวข้อง และร่วมสร้างความร่วมมือเครือข่ายงานวิจัยที่เข้มแข็งระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน"

ศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยพะเยาให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและการวิจัยให้อาจารย์ นักวิจัย และนิสิตที่มีความสนใจ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์เฉพาะด้าน ได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ก่อให้เกิดระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่จำเป็นในอนาคต ความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี โดยอาศัยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคน การสร้างสรรค์กิจกรรมทางวิชาการใหม่ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในวงกว้าง สู่การประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ ชุมชนและสังคม เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคม"

นอกจากนี้ ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันสนันสนุนด้านวิชาการ การฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนาด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน และด้านเทคนิควิศวกรรมขั้นสูง เพื่อใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการความรู้ ข้อมูลสารสนเทศ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และเอกสารทางวิชาการ ร่วมทั้งสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามที่เห็นสมควรด้วย

ที่มา: สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย