"... วว. มุ่งเน้น Total solution ตอบโจทย์ในองค์รวม และทำงานใกล้ชิดกับผู้ประกอบการ SMEs ยกระดับความสามารถการแข่งขันโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบ วว. JUMP ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระบบบริการลูกค้าออนไลน์ของ วว. มีความสะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์ลูกค้าและลดขั้นตอนดำเนินงาน โดยเฉพาะการใช้บริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครสมาชิก การเลือกใช้บริการ การขอใช้บริการ การขอใบเสนอราคา การรับใบแจ้งเก็บเงินการใช้บริการ การรับใบเสร็จ/ใบกำกับภาษี โดยลูกค้าสามารถดูรายการให้บริการ ซึ่งเป็นข้อมูลทางด้านเทคนิคของแต่ละศูนย์ ที่มีขอบเขตการให้บริการของแต่ละศูนย์แตกต่างกัน ผ่านเว็บไซต์ วว. www.tistr.or.th (https://tistrservices.tistr.or.th/) เพื่อเตรียมเป็นองค์กรดิจิทัลในอนาคต..." ผู้ว่าการ วว. กล่าว
ศ .(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวต่อว่า วว. ดำเนินงานการวิเคราะห์ทดสอบ ด้านผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและกระบวนการดำเนินงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยตรวจผลิตภัณฑ์ตามมาตรา 5 (ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ของ สมอ. ครอบคลุมสินค้าอุปโภคบริโภคและการแพทย์ในวิถีชีวิตใหม่ New Normal ทั้งในด้านรายการบริการทดสอบของแต่ละมาตรฐานและรายละเอียดเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ รวมทั้งใบรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน มอก. 17025 ในขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยตรวจผลิตภัณฑ์ของ วว. ตามมาตรา 5 ที่ครอบคลุมการตรวจสอบ กลุ่มอาหาร กลุ่มการแพทย์ กลุ่มเครื่องประดับ/ของใช้ทั่วไป กลุ่มอุปกรณ์ที่ใช้กับอาหาร กลุ่มก่อสร้าง และกลุ่มอุปกรณ์รถยนต์/จักรยานยนต์/จักรยาน
การสัมมนาดังกล่าว วว. ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมถ่ายทอดความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเสริมความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการของไทย ดังนี้ การบรรยายเรื่อง "การเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการด้วย NQI" โดย นายวิรัช จันทรา ที่ปรึกษาด้านบริหารคุณภาพและบริการอุตสาหกรรม วว. เนื้อหาโดยสรุปว่า โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure : NQI) มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนากิจกรรมเชิงเศรษฐกิจของประเทศ โดยต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานระดับชาติหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นด้านการมาตรวิทยา (metrology) การกำหนดมาตรฐาน ( standardisation ) การรับรองระบบงาน (accreditation) การตรวจสอบและรับรอง (conformity assessment) และการกำกับดูแลตลาด (market surveillance) การมี NQI ที่สมบูรณ์แบบ เป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศ นั่นก็คือ สินค้าและบริการมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีสินค้านวัตกรรมหลากหลายที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการเสวนาหัวข้อ "การรับรองมาตรฐานสินค้า...ไม่ยาก และคุ้มค่า...กว่าที่คิด" โดยมีผู้แทนหน่วยงานพันธมิตรด้านมาตรฐานร่วมเสวนา ได้แก่ นางภัทรพร เพ้งหล้ง นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ สมอ. ภก.วราวุธ เสริมสินสิริ ผู้อำนวยการ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ อย. ดร.ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์ ผู้อำนวยการ สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และดร.วดี วิชัยดิษฐ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว. ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน ทั้ง Onsite และ Live สด ผ่านเพจ Facebook วว. นับเป็นอีกก้าวสำคัญของ วว. ในการเสริมแกร่งผู้ประกอบการและเศรษฐกิจของประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย