ไอทีในช่วงรอยต่อของสถานการณ์

จันทร์ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๓ ๑๔:๒๒
องค์กรควรทำอย่างไรกับโซลูชันไอทีมากมาย ที่เคยใช้ปะปนกันอย่างเร่งรีบในภาวะวิกฤตจะกลับมาควบคุมแรงต้านที่ถาโถมเข้ามา จากจำนวนแอปพลิเคชันที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และฐานข้อมูลที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร

บทความโดย นายแอรอน ไวท์ ผู้จัดการทั่วไปและรองประธานฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, นูทานิคซ์

การระบาดของโควิด-19 ทำให้องค์กรทุกรูปแบบ และทุกขนาดนำพับลิคคลาวด์มาใช้อย่างรีบเร่งเพื่อให้สามารถทำงานจากระยะไกลได้ และมีการนำโซลูชันด้านไอทีมากมายมาใช้ผสมปนเปกัน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในแต่ละเรื่อง และทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ก่อน การทำเช่นนี้ทำให้เกิดความท้าท้ายใหม่ ๆ หลายประการ เพราะการใช้คลาวด์อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ค่าใช้จ่ายพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและยากที่จะควบคุม นอกจากนี้ฐานข้อมูลที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็เป็นปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง การเดินหน้าทางธุรกิจด้วยการนำโซลูชันด้านไอทีที่ไม่เข้าขากันมาปะติดปะต่อใช้งานร่วมกัน (แพทช์เวิร์คไอที) จะทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ แย่ลง

แอปพลิเคชันกำลังเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดลักษณะของโครงสร้างพื้นฐานไอที องค์กรต่าง ๆ เริ่มตระหนักว่าคลาวด์เป็นรูปแบบการทำงานอย่างหนึ่ง ไม่ใช่จุดหมายปลายทางที่ตอบโจทย์การเพิ่มจำนวนของแอปพลิเคชันตามที่องค์กรเหล่านั้นต้องการ และการตระหนักรู้นี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เกิดการเลิกใช้โซลูชันแพทช์เวิร์คไอทีที่องค์กรเคยนำมาใช้อย่างรีบร้อน

แม้ปัจจุบันการระบาดจะเบาบางลงแต่เรายังต้องเผชิญ และรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาคที่ทำให้ลูกค้าต้องรักษาสมดุลให้ดี เช่นในเวลาที่พยายามกำหนดวิธีสร้างองค์กรให้แข็งแกร่ง ปรับเปลี่ยนองค์กรและปรับขนาดการทำงาน ก็ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายควบคู่กันไปด้วย

ระบบที่ต่าง ๆ ที่สับสน

การยึดติดกับโซลูชันไอทีที่ใช้อยู่และรอว่าจะมีผลอะไรตามมาอาจเป็นสิ่งทำให้สบายใจ แต่เทคโนโลยีจำนวนมากที่เราใช้ในช่วงการระบาดเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ในช่วงนั้น อาจไม่เหมาะกับวัตถุประสงค์ขององค์กรอีกต่อไป และจะไม่รองรับการขยายตัวของแอปพลิเคชัน และฐานข้อมูลจำนวนมากที่ธุรกิจต้องการ 

ยิ่งองค์กรโหมใช้และทุ่มเทเงินทองให้กับระบบเหล่านี้มากเท่าไร ค่าใช้จ่ายและหนี้สินก็จะยิ่งบานปลาย แพทช์เวิร์คไอทีไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่คุ้นเคยอาจเป็นเรื่องน่ากลัว แต่การไม่ทำอะไรเลยจะส่งผลให้เกิดความถดถอยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

การเพิ่มขึ้นของแอปพลิเคชันอย่างมากมาย และการบริหารจัดการดาต้าด้วยการใช้แนวทางเดียวจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป การขยายตัวของแอปพลิเคชันและฐานข้อมูลบนคลาวด์หลายประเภทและบนสภาพแวดล้อมไอทีที่หลากหลาย ทำให้บริษัทฯ ต่าง ๆ ไม่สามารถรับรู้และมองเห็นว่ามีการใช้งาน ณ จุดใด หรือไม่สามารถจัดการกับข้อมูลที่กระจัดกระจายในวงกว้างได้

สถานการณ์นี้ทำให้เกิดความกังวลด้านความปลอดภัย การกำกับดูแล และการปฏิบัติงาน ถึงเวลาแล้วที่บริษัทต่าง ๆ ต้องลงมือปฏิบัติและพาตัวเองให้ล้ำหน้ากว่าสถานการณ์นี้ โดยเริ่มด้วยการใช้ไฮบริด มัลติคลาวด์

ไฮบริด มัลติคลาวด์ เป็นรูปแบบการใช้คลาวด์เพื่อปรับสมดุลการใช้แอปพลิเคชันและดาต้า ช่วยให้บริษัทรับรู้ มองเห็น และบริหารจัดการคลาวด์ได้อย่างไม่ยุ่งยาก ทั้งพับลิคและไพรเวทคลาวด์ และเป็นการเตรียมองค์กรให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับอนาคตที่ไม่แน่นอน

นำหน้ากระแส

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราได้เห็นบริษัทจำนวนมากให้ความสำคัญกับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันและการปรับปรุงศูนย์ข้อมูลให้ทันสมัย มีการพิจารณานำวิธีแก้ปัญหาที่ถาวรและปลอดภัยมากขึ้นมาใช้แทนพับลิคคลาวด์ และดาต้าเบสที่ใช้ระหว่างการแพร่ระบาด 

ในประเทศเกาหลี Nutanix ช่วยเหลือกลุ่มบริษัทค้าปลีก Shinsegae Group ทำให้บริษัทในเครือทั้งหมดดำเนินการได้อย่างราบรื่น และปราศจากข้อผิดพลาดแม้ในช่วงเทศกาลส่งเสริมการขาย โดยรองรับธุรกรรมทางธุรกิจได้มากกว่าปกติถึง 10 เท่า

Straive บริษัทคอนเทนต์เทคโนโลยีในสิงคโปร์พบว่า การใช้ Nutanix Cloud Clusters (NC2) บน AWS ทำให้การย้ายเวิร์กโหลดไปมาระหว่างโครงสร้างพื้นฐานในองค์กรไปยังพับลิคคลาวด์ของ AWS ทำได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังเข้าถึงแอปพลิเคชันที่จำเป็นต่อการทำงานได้เร็วขึ้น

อีกหนึ่งกรณีศึกษาของ NC2 บน AWS คือการที่เมืองซัปโปโรในประเทศญี่ปุ่นสามารถลดความซับซ้อนด้านไอทีและภาระการดำเนินงานได้อย่างมาก ทำให้โครงสร้างพื้นฐานในองค์กรเชื่อมต่อกับ AWS ได้อย่างราบรื่น

ส่วน Jhaveri Securities ในประเทศอินเดีย นับตั้งแต่เปลี่ยนมาใช้ Nutanix Cloud Platform ปัจจุบัน สามารถปรับใช้แอปพลิเคชันได้เร็วขึ้นถึง 60% และเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ๆ ได้รวดเร็วขึ้นกว่าเคย โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้ดีขึ้นหลังจากเปลี่ยนมาใช้ Nutanix ส่งผลให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

สำหรับ Marist College Canberra ได้ลบการจัดการโครงสร้างพื้นฐานออกจากรายการสิ่งที่ต้องทำแล้ว ทำให้ปัจจุบันนี้มีแบนด์วิธมากขึ้นเพื่อทำโครงการเชิงกลยุทธ์ Nutanix ช่วยให้ทีมไอทีสามารถตั้งค่าสภาพแวดล้อมในการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เพื่อทดสอบแนวคิดของบริการใหม่ ๆ ได้โดยไม่ขัดจังหวะการดำเนินงาน

กรณีตัวอย่างที่กล่าวมา และอีกมากมายล้วนแสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการมีสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งเดียว สามารถรับรู้ และเห็นการทำงานบนคลาวด์ทั้งหมดที่ใช้อยู่ และใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติ โครงสร้างพื้นฐานไอทีที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานที่ต้องประสบกับภัยคุกคามจากภายนอก และความไม่แน่นอนจำนวนมาก ถึงเวลาแล้วที่องค์กรต้องเลิกใช้แพทช์เวิร์คไอที และหาโซลูชันที่ยั่งยืน ปรับขนาดได้ และสามารถรองรับการใช้งานในอนาคตได้ยาวนาน

ที่มา: เอฟเอคิว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย