ฟิทช์คงอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทไทยรับประกันภัยต่อที่ 'A-' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

อังคาร ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๓ ๐๙:๐๖
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากล (Insurer Financial Strength Rating: IFS Rating) ของบริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือ THRE ที่ 'A-' (หรืออยู่ในระดับ "แข็งแกร่ง") แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

การประกาศคงอันดับเครดิตของ THRE สะท้อนถึงโครงสร้างบริษัทประกันภัยที่ยังแข็งแรง (Favorable Company Profile) ระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง และระดับความเสี่ยงทางด้านการลงทุนและสภาพคล่องที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งนี้การจัดอันดับในครั้งได้พิจารณาถึงผลประกอบการที่ค่อนข้างอ่อนแอในปี 2565 เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส และการคาดการณ์ของฟิทช์ว่ารายได้ของบริษัทจะฟื้นตัวดีขึ้นในปี 2566 เป็นต้นไป

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
ระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง: THRE มีระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามกฎหมาย (Risk-based capital ratio) ณ สิ้นเดือน กันยายน 2565 ที่ปรับดีขึ้นอยู่ที่ 334% จาก 275% ณ สิ้นปี 2564 และสูงกว่าเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดไว้ที่ 140% ทั้งนี้จากการประมาณการของฟิทช์ระดับเงินกองทุนของบริษัทซึ่งประเมินจากแบบจำลอง Prism Factor-Based Capital Model (Prism FBM) ของฟิทช์นั้นอยู่ในระดับ "แข็งแกร่งมากที่สุด" ('Extremely Strong') ในปี 2565 ถึงแม้ว่าผลประกอบการของบริษัทยังคงอ่อนแอ เนื่องจากค่าสินไหมทดแทนของเบี้ยประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับประกันโควิท-19 ที่สูงจากการแพร่ระบาดใหญ่ในช่วงต้นปี 2565 อย่างไรก็ตามอัตราส่วนเบี้ยประกันภัยรับสุทธิต่อส่วนทุน ยังคงอยู่ในระดับที่ประมาณ 1 เท่า ณ สิ้นเดือน กันยายนน 2565 ซึ่งยังคงอยู่ระดับที่ยอมรับได้สำหรับช่วงอันดับเครดิต ณ ระดับปัจจุบันของบริษัท

อัตรากำไรที่ฟื้นตัวในปี 2566: ฟิทช์คาดว่าผลประกอบการของบริษัทจะปรับตัวขึ้นมามีเสถียรภาพมากขึ้นในปี 2566 เนื่องจากกรมธรรม์ประกันโควิด-19 ที่จะสิ้นสุดลง และสภาวะตลาดที่แข็งตัวขึ้น (Hard Market) ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Combined Ratio) ของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 97%-102% ในปี 2566 จากประมาณ 112% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 โดยค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2562-2564 เท่ากับ 107%

ฟิทช์คาดว่า THRE จะมีเกณฑ์และเงื่อนไขการรับประกันภัยที่รัดกุมมากขึ้น และปรับปรุงการบริหารการใช้การประกันภัยต่อช่วงเพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้อัตราการทำกำไรของบริษัทปรับตัวดีขึ้นและจำกัดอัตราการขาดทุน ทั้งนี้ฟิทช์คาดว่าอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) จะฟื้นตัวมาอยู่ที่ระดับ 4-6% (mid-single digit) โดยไม่รวมผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการเสนอขายหุ้นของบริษัทลูกแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) ซึ่งจะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนอันดับเครดิต ณ ระดับปัจจุบันของบริษัท
โครงสร้างบริษัทที่แข็งแรง: ฟิทช์ประเมินโครงสร้างบริษัทของ THRE อยู่ในระดับแข็งแรง เนื่องจากบริษัทมีโครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งและมีบรรษัทภิบาลที่ดี เมื่อเทียบกับบริษัทประกันภัยอื่นภายในประเทศไทย โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการที่ THRE เป็นบริษัทประกันภัยต่อรายเดียวในประเทศและมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่มั่นคงที่ระดับ 30%-40% ของเบี้ยประกันภัยต่อภายในประเทศ และมีประเภทผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมทั้งความสามารถในการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า

ทั้งนี้ความแข็งแกร่งของโครงสร้างธุรกิจได้ถูกลดทอนลงไปบ้างด้วยขนาดของธุรกิจที่ค่อนข้างเล็กสำหรับธุรกิจประกันต่อและผลประกอบการที่ผันผวน ดังนั้นฟิทช์จึงให้อันดับคะแนนด้านโครงสร้างบริษัทที่ระดับ 'a-' ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาปัจจัยเครดิตของฟิทช์ (credit factor scoring guideline)

กลยุทธ์การลงทุนที่ระมัดระวังและการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง:บริษัทมีกลยุทธ์การลงทุนและบริหารสินทรัพย์ที่ระมัดระวัง โดยสัดส่วนการลงทุนมากกว่า 75% อยู่ในเงินฝากและตราสารหนี้ โดยบริษัทมีอัตราส่วนสินทรัพย์เสี่ยง (risky asset ratio) อยู่ที่ระดับ 41% ณ สิ้นเดือน กันยายน 2565 ซึ่งจะอยู่ในช่วงอันดับเครดิตที่ 'A' - 'AA'

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิต
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

  • การปรับตัวลดลงของความสามารถในการทำกำไรซึ่งสะท้อนจากอัตราส่วนรวมค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน (Combined Ratio) ที่สูงกว่า 103% เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง
  • การปรับตัวลดลงของระดับเงินกองทุนที่วัดจากอัตราส่วนเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (RBC) มาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 280% และการปรับตัวลดลงของระดับเงินกองทุนของบริษัทซึ่งวัดจากแบบจำลอง Prism FBM มาอยู่ต่ำกว่าระดับบนของกลุ่ม "แข็งแกร่ง" ('Strong') เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

  • การปรับตัวเพิ่มขึ้นของความสามารถในการทำกำไรซึ่งสะท้อนจากอัตราส่วนรวมค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน (Combined Ratio) ที่ต่ำกว่า 96% ในขณะที่สามารถรักษาอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on equity) ไว้ในระดับสูงกว่า 10% เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง
  • การปรับตัวเพิ่มขึ้นของระดับเงินกองทุนซึ่งวัดจากแบบจำลอง Prism FBM และสามารถคงอยู่ในระดับบนของกลุ่ม "แข็งแกร่งมากที่สุด" ('Extremely Strong') ได้อย่างต่อเนื่อง

การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) หากไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนนี้ แสดงว่าบริษัทมีระดับคะแนนความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต ไม่เกินระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของบริษัท ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของบริษัทก็ตาม

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ ESG หาได้จาก https://www.fitchratings.com/esg

ที่มา: ฟิทช์ เรทติ้งส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO