CHASE ตัวจริงธุรกิจ AMC โชว์ผลงานปี 65 โกยเงินจากพอร์ต NPLs 287 ล้านบาท โตขึ้นกว่า 70% และรับอัตราค่าคอมมิชชั่นในธุรกิจติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สินสูงกว่า 21.6%

พุธ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๓ ๐๙:๔๒
บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) ("CHASE") บริษัทชั้นนำที่ให้บริการติดตามทวงถามและบริหารหนี้เสีย (AMC) ที่มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี โชว์กระแสเงินสดจากพอร์ต NPLs เติบโตกว่า 70% ในปีที่ผ่านมาหรือรวมกว่า 287 ล้านบาท ขณะที่ธุรกิจบริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน เชฎฐ์ เอเชีย ได้รับอัตราค่าคอมมิชชั่นในระดับสูงมากถึง 21.6% ในงวด 9 เดือนสิ้นสุด 30 กันยายน 2565 พร้อมนำเงินจากการระดมทุนไปขยายธุรกิจ โดยตั้งเป้าซื้อ NPLs ปีละ 1,000 ล้านบาท และขยายทีมงานเร่งรัดติดตามหนี้สินที่กำลังโตต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลกำไรอย่างก้าวกระโดดในปี 2566

เชฎฐ์ เอเชีย ตอกย้ำความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบริหารสินทรัพย์ (AMC) คุณประชา ชัยสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เผยว่า "ในธุรกิจ AMC นั้น บริษัทฯ จะต้องนำเงินไปซื้อพอร์ตหนี้เสียจากทางธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ยิ่งจัดเก็บหนี้ได้จากพอร์ต NPLs ที่ซื้อมาได้มากก็ยิ่งได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากเงินสดที่เก็บได้เทียบกับเงินลงทุน จะพบว่า เชฎฐ์ เอเชีย มีศักยภาพการจัดเก็บหนี้อยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับเงินลงทุนสำหรับพอร์ต NPLs ในปีเดียวกัน ซึ่งในอดีตสามารถเก็บเงินสดได้มากถึง 252% เมื่อเทียบกับเงินลงทุนสำหรับพอร์ต NPLs ที่ซื้อมาในปี 2556 และในรอบ 9 เดือนปี 2565 บริษัทฯ สามารถจัดเก็บกระแสเงินสดจากพอร์ต NPLs ได้กว่า 287 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากรอบ 9 เดือนปี 2564 ที่จัดเก็บได้ 167 ล้านบาทถึง 70%"

นอกจากนี้ คุณประชา ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงธุรกิจให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน (Collection) ว่า "บริษัทที่ให้บริการจะได้รับค่าจ้างเป็นค่าคอมมิชชั่นจากการทวงถามหนี้ เช่น ตามเก็บหนี้ได้ 100 บาท ก็อาจจะได้รับคอมมิชชั่นจากทางธนาคารประมาณ 7 บาท เป็นต้น สำหรับ เชฎฐ์ เอเชีย นั้นมีอัตราค่าคอมมิชชั่นที่อยู่ในระดับสูง โดยได้รับอัตราค่าคอมมิชชั่นสูงถึง 21.6% สำหรับงวด 9 เดือนสิ้นสุด 30 กันยายน 2565 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราค่าคอมมิชชั่นที่สูงมากในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งผลตอบแทนที่สูงนั้นมาจากความชำนาญของเราที่คร่ำหวอดในวงการและแน่นด้วยประสบการณ์ ส่งผลให้สามารถตามเก็บหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้รับงานทวงถามหนี้ที่มีความท้าทายสูง เช่น เป็นลูกหนี้ที่ไม่ชำระหนี้มานานแล้ว บางครั้งไม่สามารถติดตามตัวลูกหนี้ได้ หรือบางครั้งลูกหนี้มีปัญหาในการชำระหนี้ งานเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการเจรจาต่อรอง รวมถึงบางครั้งอาจต้องใช้การบังคับใช้ทางกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในความเชี่ยวชาญของ เชฎฐ์ เอเชีย"

ปัจจุบัน เชฎฐ์ เอเชีย มีผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคุณประชา ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง และ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ("RS") ซึ่งจะถือหุ้นประมาณ 51% และ 20% ตามลำดับ คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ อาร์เอส กรุ๊ป ได้ยืนยันว่าจะไม่ขายหุ้นเพิ่มเติมและคงสัดส่วนการถือหุ้นใน เชฎฐ์ เอเชีย ต่อไป โดยย้ำว่า "ตั้งแต่ในปี 2564 ที่อาร์เอส กรุ๊ป ได้เข้าการลงทุนในบริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) (CHASE) เราได้ทำงานร่วมกันอย่างหนักเพื่อขยายระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem) ร่วมกัน ทั้งการเตรียมความพร้อมของเงินทุน และการยกระดับระบบบริหารงานภายใน โดยเล็งเห็นว่าหลังจากเข้าระดมทุน IPO แล้วยังมีโอกาสทางธุรกิจระหว่าง เชฎฐ์ เอเชีย และ อาร์เอส กรุ๊ป ที่จะร่วมมือกันอีกมาก มั่นใจศักยภาพของ เชฎฐ์ เอเชีย ในฐานะผู้นำการให้บริการบริหารจัดการหนี้สินอย่างครบวงจร ผสานกับโมเดลธุรกิจ Entertainmerce ที่แข็งแกร่งของอาร์เอส กรุ๊ป จะทำให้เกิดการเติบโตร่วมกันในหลายมิติ ทั้งในแง่การใช้สื่อ และการขยายฐานลูกค้า ทั้งนี้ หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ทางอาร์เอส กรุ๊ป จะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่กว่า 20.35% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ อาร์เอส กรุ๊ป ถือภายหลังจากการเสนอขาย IPO ด้วยเล็งเห็นว่าการลงทุนใน เชฎฐ์ เอเชีย เป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Investment) ในระยะยาว โดยนักลงทุนของ เชฎฐ์ เอเชีย สามารถมั่นใจได้ว่าหุ้นส่วนที่ไม่ติด Silent ทั้งหมดจำนวน 331 ล้านหุ้นเป็นของอาร์เอส กรุ๊ป ดังนั้นจะไม่มีกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ขายหุ้น เชฎฐ์ เอเชีย ออกมาในตลาดหลัง IPO เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เชฎฐ์ เอเชีย ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสำเร็จทั้งในด้านการบริหารติดตามทวงถามหนี้สิน และการบริหารจัดการหนี้เสียหรือ NPLs เราเชื่อมั่นว่า เชฎฐ์ เอเชีย จะยังคงเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูง พร้อมสร้างโอกาสและการเติบโตในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน อาร์เอส กรุ๊ป ก็พร้อมยืนหยัดสนับสนุนความสำเร็จของ เชฎฐ์ เอเชีย ในก้าวต่อไปอย่างต่อเนื่อง"

คุณประชา ได้กล่าวปิดท้ายว่า "ที่ผ่านมา เชฎฐ์ เอเชีย มีการปล่อยสินเชื่อเพื่อความหวังหรือ Hope Loan โดยเป็นสินเชื่อที่บริษัทปล่อยให้กับลูกหนี้รายย่อยที่เป็นหนี้เสียแล้วเท่านั้น ซึ่งไม่มีสถาบันการเงินอื่นใดให้โอกาสกับลูกหนี้เช่นเดียวกับที่เราได้ทำ โดยในอดีตบริษัทจะสามารถก้าวถึงจุดคุ้มทุน (Break Even) จากการติดตามเงินสด Hope Loan ได้ในปีที่ 5 หรือ 6 ของพอร์ตในแต่ละปี โดยในภายหลัง บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจ โดยชะลอและหยุดให้บริการปล่อยสินเชื่อ Hope Loan และนำเงินทุนที่มีมาใช้ดำเนินธุรกิจ AMC ด้วยเล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโต ซึ่งจะสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นภายหลังการเข้าตลาดฯ ได้เต็มที่มากกว่า ดังนั้น เราจึงวางแผนที่จะขยายทั้งธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (AMC) และธุรกิจให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน (Collection) โดยตั้งเป้าที่จะซื้อ NPLs ปีละ 1,000 ล้านบาท พร้อมขยายทีมเร่งรัดติดตามหนี้สินเพื่อให้บริการติดตามทวงถามหนี้ เพื่อรองรับการติดตามทวงถามหนี้ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในอนาคต"

ที่มา: อาร์เอส กรุ๊ป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ