วันศุกร์ที่ผ่านมาสภาพัฒน์รายงาน GDP 4Q22 ขยายตัวเพียง 1.4%YoY ต่ำกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 3.6%YoY โดยการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดีราว 5.7%YoY หลักๆเป็นผลจากการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวต่อเนื่อง (อาหาร) ขณะที่การใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนชะลอตัวลงตามการซื้อยานพาหนะ ด้านการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลติดลบ 8%YoY หลักๆผลจากการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ลดลง ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 4.5%YoY แต่ข้างพบว่าการก่อสร้างที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงและการก่อสร้างอาคารเชิงพาณิชย์หดตัว 5.5%YoY ส่วนด้านเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัว 5.1%YoY ชะลอตัวลงจาก 3Q22 ที่ 14%YoY ชะลอลงทุกกลุ่มสินค้าทุนทั้งยานพาหนะและเครื่องจักรอุตสาหกรรม ขณะที่การส่งออกหดตัว 10.5%YoY ลดลงทุกประเภทสินค้าทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมเนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอของคู่ค้า อย่างไรก็ตามส่งออกบริการขยายตัวเด่น 94.6%YoY ผลจากการมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยสรุปแล้วมองหุ้นค้าปลีกเกี่ยวข้องกับอาหารได้ประโยชน์ อาทิ (BJC CRC CPALL) ร้านอาหารและท่องเที่ยว (AOT CENTEL ERW MINT SHR SPA) ส่วนสัปดาห์นี้ติดตาม (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของ EU ในวันอังคาร (2) ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯในวันอังคารเช่นกัน Bloomberg คาดที่ 4.09 ล้านหลังคาเรือน (3) ยอดขายบ้านใหม่ในสหรัฐฯในวันศุกร์ Bloomberg ประเมินที่ 6.2 แสนหลังคาเรือน (4) ในประเทศติดตามผลประกอบการ 4Q22 ของบริษัทจดทะเบียน โดยประเมิน SET สัปดาห์นี้เคลื่อนไหวในกรอบ 1630 - 1665 เชิงกลยุทธ์การลงทุนยังเน้นถือครองเงินสดระดับสูง ส่วนหุ้นแนะนำเน้นที่มีปัจจัยบวก อาทิ กลุ่มส่งออก (ASIAN TU) ผลบวกค่าเงินบาทอ่อนค่า Domestic Play ที่เกี่ยวข้องกับการบริการอาหารและท่องเที่ยว (BJC CRC CPALL) (AOT CENTEL ERW MINT SPA) สื่อสาร (ADVANC INTUCH) โรงไฟฟ้า (BGRIM GPSC GULF RATCH) โรงพยาบาล (BCH BDMS CHG)
CPALL (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 72.00 บาท) ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของ CPALL ในไตรมาส 4/22 และปี 2023 คือ 1) จำนวนลูกค้าในร้านที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง 2) การใช้จ่ายที่สูงขึ้นช่วงการแข่งขันบอลโลก และ 3) มาตรการกระตุ้นภาครัฐเพิ่มเติมก่อนไทยเข้าสู่การเลือกตั้ง โดยเราคาดว่ากำไรไตรมาส 4/22 จะโตขึ้น YoY และ QoQ จากยอดขายที่ฟื้นตัวขึ้นในทุกหน่วยธุรกิจ
BDMS (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 34.00 บาท) ประเมินอัตราการเติบโตของกำไรที่ 58% ในปี 2022 ด้วยอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ที่สูงขึ้นเป็น 14.5% ส่วนในปี 2023-24 แม้คาดการเติบโตที่ชะลอลงเป็น 10%-8% YoY แต่ยังอยู่ในแดนบวก ด้วยกำไรปกติที่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ถึง 1.74 เท่า 1.87 เท่า พร้อมกับ ROE ที่ราว 15% ในปี 2023-24
ที่มา: บางกอก ออทัม