สมาคมนิสิตเก่าวิศวะ จุฬาฯ จัดดินเนอร์ทอล์ก แนะไทยเร่งต่อยอดจุดแข็ง-เปิดเกมรุกอุตฯ แห่งอนาคต

พฤหัส ๐๙ ธันวาคม ๒๐๒๑ ๑๐:๕๖
บิ๊กภาครัฐและเอกชนไทย ศิษย์เก่าวิศวะ จุฬาฯ ชี้แนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตโควิด-19 แนะต่อยอดจุดแข็งภาคบริการ พร้อมกระโดดเข้าสู่โลกอุตสาหกรรมแห่งอนาคต กระทุ้งเอกชนรายใหญ่ช่วยอุ้ม SMEs เดินหน้าต่อไปพร้อมกัน
สมาคมนิสิตเก่าวิศวะ จุฬาฯ จัดดินเนอร์ทอล์ก แนะไทยเร่งต่อยอดจุดแข็ง-เปิดเกมรุกอุตฯ แห่งอนาคต

สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน INTANIA DINNER TALK "มุมมองใหม่ ฝ่าเศรษฐกิจไทย ปี 2022" เปิดเวทีให้ผู้บริหารองค์กรชั้นนำของเมืองไทยแสดงวิสัยทัศน์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก พร้อมมองอนาคตภาคพลังงาน อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และศักยภาพตลาดหุ้นไทย

ภายในงาน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานในพิธีและองค์ปาฐก กล่าวว่า รัฐบาลได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบ รวมถึงโครงข่ายดิจิทัล สร้างระบบ Ecosystem  ที่ส่งเสริมการทำธุรกิจของคนไทย พร้อมดึงดูดคนต่างชาติให้ย้ายถิ่นฐานมาประเทศไทยและเข้ามาลงทุน  ซึ่งเชื่อว่า ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอีกมาก โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จะเสร็จสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างยิ่ง ทั้งนี้ มองว่าทุกวิกฤตมีโอกาสอยู่เสมอ และตอนนี้หลายคนได้คว้าโอกาสได้แล้ว มีการวางรากฐานธุรกิจเพื่อเดินหน้าต่อ แต่ก็ยังเหลือกลุ่มคนที่เปราะบางที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตครั้งนี้ ดังนั้นจึงต้องการให้ผู้ที่มีศักยภาพดีดูแลช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ด้วย เพราะไม่ต้องการให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

ขณะเดียวกัน ในการเสวนาหัวข้อ "มุมมองใหม่ ฝ่าเศรษฐกิจไทย ปี 2022" นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิสดอม แคปปิตอล พาร์ทเนอร์ส จำกัด แนะนำว่า หากต้องการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ จะต้องต่อยอดและพัฒนาสิ่งที่ถนัดอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว การเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์แห่งอนาคต ธุรกิจอาหารไทย การส่งออกผลไม้ไทย เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มองว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีศักยภาพในสายตาของนักลงทุน เป็นตลาดหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง และไทยมีโอกาสเป็นศูนย์กลางการระดมทุนได้ในอนาคต  โดยปีนี้ ไทยครองแชมป์การระดมทุนจาก IPO สูงสุดในตลาดอาเซียนติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ซึ่งตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน มีมูลค่าการระดมทุนสูงถึง 4,200 ล้านบาท

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การพัฒนาประเทศไทยหลังวิกฤต ภาครัฐมีหน้าที่ดูแลคนฐานราก ส่วนภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญด้านการลงทุน ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องลงทุนใหม่ (Reinvest) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปอย่างแข็งแกร่ง จะต้องลงทุนบนพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว พร้อมสร้างนวัตกรรมเองหรือร่วมมือกับผู้อื่น โดยปตท.จะดำเนินการทุกอย่างเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรม New S-Curve ของไทยประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเน้นลงทุนด้านพลังงานสะอาด และธุรกิจใหม่นอกเหนือจากพลังงาน เช่น ผลิตภัณฑ์ยา, บริการทางการแพทย์, ธุรกิจที่มีมูลค่าสูง, ธุรกิจไลฟ์สไตล์และ Mobility โลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนเทคโนโลยีหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ (AI Robotics) โดยตั้งเป้าว่าภายในปี 2573 จะมีรายได้จากธุรกิจใหม่ประมาณ 30% ของรายได้ทั้งหมด นอกจากการขยายธุรกิจขององค์กรแล้ว ก็ยังสร้างโมเดลและแพลตฟอร์มธุรกิจที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs และคนในท้องถิ่นให้เติบโตไปพร้อมกัน เช่น ปั๊มน้ำมันที่เป็นจุดรวมของชุมชน และธุรกิจร้านอเมซอน ซึ่งทั้งสองธุรกิจมี SMEs เป็นเจ้าของอยู่ประมาณ 80-90% ของสาขาทั้งหมด

นายสมโภชน์ อาหุนัย  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากต้องการให้ประเทศไทยกลับมาแข็งแกร่ง ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญในปัจจุบัน อาจต้องมีการปรับแก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่างๆ หรืออาจเริ่มจากทำโครงการแบบ Sandbox ที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่พื้นที่อื่นต่อไป นอกจากนี้ ประเทศไทยต้องเร่งเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมโลกใหม่ เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งปตท.จับมือกับพันธมิตรต่างชาติพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล ส่วนบมจ.พลังงานบริสุทธิ์   มุ่งเจาะตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ที่เป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงในอนาคตทั้งตลาดในประเทศและตลาดระดับภูมิภาค

ดร.ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยต้องมองหาโอกาสธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมของคนและกติกาโลกที่เปลี่ยนแปลงไปหลังวิกฤตโควิด-19 ทำให้สินค้าที่เคยขายในรูปแบบเดิมอาจขายไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้นหากปรับตัวได้ก่อน ก็จะคว้าโอกาสได้ นอกจากนี้ ควรพัฒนาโมเดลธุรกิจแบบ Inclusive ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการรายเล็กสามารถเติบโตไปพร้อมกับรายใหญ่ได้ด้วย

กิจกรรม INTANIA DINNER TALK ปีนี้มีผู้ร่วมงานประมาณ 300 คน ซึ่งนอกจากมีการระดมความคิดเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปแล้ว งานครั้งนี้ยังเป็นการระดมทุนให้สมาคมฯ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินงานด้านวิชาการ และกิจกรรมเพื่อสังคมด้วย

ที่มา: เอเชียไลฟ์มีเดีย (ประเทศไทย)

สมาคมนิสิตเก่าวิศวะ จุฬาฯ จัดดินเนอร์ทอล์ก แนะไทยเร่งต่อยอดจุดแข็ง-เปิดเกมรุกอุตฯ แห่งอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version