เครดิต สวิส เผยรายงานผลตอบแทนการลงทุนทั่วโลกประจำปี 2023

อังคาร ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๓ ๑๕:๐๗
รายงานประจำปี ฉบับที่ 15 มองภาวะเงินเฟ้อและบทบาทของสินค้าโภคภัณฑ์

รายงานประจำปีเรื่องผลตอบแทนการลงทุนทั่วโลกของเครดิต สวิส เป็นคู่มืออ้างอิงถึงผลตอบแทนในระยะยาวทางประวัติศาสตร์ จัดพิมพ์โดยหน่วยงานฝ่ายวิจัยของเครดิต สวิส ร่วมกับ London Business School โดยมีเนื้อหาครอบคลุมสินทรัพย์หลักทุกประเภทใน 35 ประเทศ ข้อมูลตลาดส่วนใหญ่ รวมถึงดัชนีชี้วัดระดับโลกมีข้อมูลย้อนหลัง 123 ปีตั้งแต่ปี 1900

มุมมองในระยะยาว

  • ตราสารทุนให้ผลดีที่สุดในระยะยาว โดยในช่วง 123 ปีที่ผ่านมา ตราสารทุนทั่วโลกได้ให้ผลตอบแทนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐต่อปีที่ร้อยละ 5.0 เทียบกับพันธบัตรที่ร้อยละ 1.7 และตั๋วเงินที่ร้อยละ 0.4
  • ตราสารทุนให้ผลตอบแทนดีกว่าพันธบัตร ตั๋วเงิน และภาวะเงินเฟ้อในตลาดทั้ง 35 แห่ง และตั้งแต่ปี 1900 ตราสารทุนทั่วโลกให้ผลตอบแทนดีกว่าตั๋วเงินราวร้อยละ 4.6 ต่อปี และสูงกว่าพันธบัตรราวร้อยละ 3.3 ต่อปี
  • ในอนาคต ผู้เขียนประเมินว่าค่าชดเชยความเสี่ยง (Risk Premium) ของตราสารทุน จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.5 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขในอดีตเล็กน้อยที่ร้อยละ 4.6
  • ด้วยค่าชดเชยร้อยละ 3.5 (Premium) นักลงทุนในตราสารทุนคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนจากตราสารทุนเป็น 2 เท่าของอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นในช่วงเวลา 20 ปี
  • ตั้งแต่ปี 1900 ออสเตรเลียเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในแง่ของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยมีผลตอบแทนที่แท้จริงต่อปีที่ร้อยละ 6.43 รองลงมาคือสหรัฐอเมริกาที่ร้อยละ 6.38
  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีมูลค่าร้อยละ 58 ของตลาดหุ้นทั่วโลก (แบบ Free-float และลงทุนได้) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นซึ่งเป็นคู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุดถึง 9 เท่า นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังมีตลาดตราสารหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
  • ในอดีต การกระจายความเสี่ยงในหุ้น ในหลายประเทศ และหลายสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ทำให้อัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง (Return-Risk Tradeoff) ปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก และในอนาคตผลประโยชน์ยังคงมีอยู่มากเช่นกัน

ภาวะเงินเฟ้อ

  • ภายในสิ้นปี 2022 เงินเฟ้อเฉลี่ยของประเทศในรายงานประจำปีฉบับนี้อยู่ที่ร้อยละ 8.0 ซึ่งสูงกว่า ณ สิ้นปี 2020 ถึง 19 เท่า
  • มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อได้พุ่งถึงจุดสูงสุดในสิ้นปี 2022 อย่างไรก็ตาม รายงานประจำปีบ่งชี้ว่า ในอดีต เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 8 อาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะกลับสู่ระดับเป้าหมาย
  • ในช่วง 123 ปีที่ผ่านมา ภาวะเงินเฟ้อส่งผลกระทบในทางลบต่อทั้งพันธบัตรและตราสารทุน ตราสารทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าจะมีการกล่าวอ้างว่ามีก็ตาม
  • ความสัมพันธ์ของหุ้นและพันธบัตรส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบมานานกว่าสองทศวรรษจนถึงสิ้นปี 2021 ทำให้หุ้นและพันธบัตรป้องกันความเสี่ยงของกันและกัน
  • อย่างไรก็ตาม ในรายงานประจำปี 2022 ได้มีการเตือนนักลงทุนว่าสิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องปกติในระยะยาว
  • การบริหารความเสี่ยงล้มเหลวในปี 2022เนื่องจากทั้งตราสารทุนและพันธบัตรมีมูลค่าที่ลดลงทั้งคู่สืบเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว และรอบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงทำให้กลยุทธ์ 60:40 และการผสมสินทรัพย์ที่คล้ายกัน ประสบการขาดทุนเป็นอย่างมาก
  • หลังจาก 40 ปีที่พันธบัตรให้ผลตอบแทนเหมือนตราสารทุน กฎว่าด้วยความเสี่ยงและผลตอบแทนได้รับการพิสูจน์อีกครั้งในปี 2022 โดยถือเป็นปีที่แย่ที่สุดของพันธบัตรในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ และตลาดที่พัฒนาแล้ว
  • รายงานประจำปีระบุว่า ในอดีตผลตอบแทนจากหุ้นและพันธบัตรจะลดลงมากในช่วงที่ดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าช่วงที่ปรับตัวลดลง
  • ในสหรัฐอเมริกา ส่วนชดเชยความเสี่ยงของตราสารทุนเมื่อเทียบกับตั๋วเงินส่วนใหญ่ (ในสหราชอาณาจักรและทุกตลาด) จะได้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่ดอกเบี้ยปรับตัวลดลง
  • นักลงทุนจะกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่อัตราเงินเฟ้อกลับเพิ่มสูงขึ้น (Stagflation) การวิจัยทางประวัติศาสตร์ใหม่ในรายงานประจำปีฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าข้อกังวลเหล่านี้เป็นเหตุเป็นผล
  • ในช่วงภาวะ Stagflation ผลตอบแทนของหุ้นและพันธบัตรที่แท้จริงเฉลี่ยติดลบอยู่ที่ร้อยละ 4.7 และ 9.0 ในกรณีตรงกันข้ามที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างมั่นคง ผลตอบแทนที่แท้จริงโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 15.1 สำหรับตราสารทุน และร้อยละ 8.8 สำหรับพันธบัตร

ปีนี้ ผู้เขียน ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์การเงินชื่อดังอย่างศาสตราจารย์ Elroy Dimson ศาสตราจารย์ Paul Marsh และ Dr. Mike Staunton ได้ตรวจสอบข้อดีของการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 1871 จนถึงปัจจุบัน

สินค้าโภคภัณฑ์และอัตราเงินเฟ้อ

  • ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในภาคพลังงาน เป็นตัวเร่งภาวะเงินเฟ้อให้เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ตั้งคำถามว่าการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
  • สินค้าโภคภัณฑ์จริง/สินค้าโภคภัณฑ์แบบซื้อขายเงินสด (Physical / Spot) ได้ให้ผลตอบแทนต่ำในระยะยาวมาตั้งแต่ปี 1900 ด้วยผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีติดลบที่ร้อยละ 0.5 โดยร้อยละ 72 ของสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตรวจสอบไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้
  • อย่างไรก็ตาม พอร์ตโฟลิโอของสินค้าโภคภัณฑ์หลายประเภทที่ให้น้ำหนักเท่ากัน ให้ผลตอบแทนต่อปีสูงกว่าร้อยละ 2.0 แสดงให้เห็นถึงข้อดีของการกระจายความเสี่ยง
  • ทองคำไม่ได้เป็นเพียงสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ยังเป็นการลงทุนทางการเงินด้วย การลงทุนในทองคำ 1 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 1900 เพิ่มขึ้นเป็น 2.5 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 ซึ่งต่ำกว่าพันธบัตรสหรัฐ (7.8 ดอลลาร์สหรัฐ) และหุ้น (2,024 ดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ตาม ทองคำมีบทบาทในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อและการลงทุนแบบระมัดระวัง
  • นักลงทุนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์แบบซื้อขายเงินสด (Spot) ยกเว้นโลหะมีค่า เนื่องจากมีค่าจัดเก็บและค่าประกันที่สูง สัญญาซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Commodity Futures) มีความสะดวกและราคาที่ถูกกว่า อีกทั้งยังมีการทบสัญญา (Rollover) เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งมอบได้ด้วย
  • สัญญาซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (futures) ได้สร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าสินค้าโภคภัณฑ์แบบซื้อขายเงินสด (Spot) โดยเฉลี่ยสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลราวร้อยละ 1 ต่อปีในระยะยาว
  • พอร์ตโฟลิโอที่มีน้ำหนักเท่ากันของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบเดียวกันนั้น ให้ผลตอบแทนมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลมากกว่าร้อยละ 3 ต่อปี แสดงให้เห็นถึงผลดีของการกระจายความเสี่ยงเช่นกัน
  • ตั้งแต่ปี 1900 พอร์ตโฟลิโอสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีการค้ำประกันโดยสมบูรณ์ให้ค่าชดเชยความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นในตลาดหลักทั้งหมด โดยมีค่าความผันผวนคล้ายกับหุ้นมาก
  • อย่างไรก็ตาม สัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นมีลักษณะเหมือนกับหุ้น ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อการขาดทุนที่ยาวนาน โดยการขาดทุนของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เห็นชัดที่สุดคือในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ช่วงปี 1930 และหลังวิกฤตการเงินโลก
  • ในอดีต สินค้าโภคภัณฑ์มีความสัมพันธ์ต่ำกับตราสารทุนและมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพันธบัตร ทำให้สินค้าเหล่านี้เป็นตัวกระจายความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อด้วย
  • สินค้าโภคภัณฑ์มีลักษณะเฉพาะตัว ต่างจากสินทรัพย์หลัก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น พันธบัตร หรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต่างมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราเงินเฟ้อ
  • ในขณะที่สัญญาซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้ามีแนวโน้มที่จะให้ผลดีเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูง แต่คุณสมบัติการป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อหมายความว่าสัญญาซื้อขายดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนต่ำในช่วงภาวะเงินฝืด
  • จากผลตอบแทนในอดีต ดูจะสมเหตุสมผลที่จะสรุปว่า พอร์ตโฟลิโอที่สมดุล (Balance Portfolio) ของสัญญาซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าที่มีหลักทรัพย์ประกันมีแนวโน้มที่จะให้ส่วนชดเชยความเสี่ยงในอนาคตระยะยาวต่อปีที่ประมาณร้อยละ 3
  • อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ที่น่าสนใจนี้มีข้อเสียอยู่ประการหนึ่ง เนื่องจากตลาดที่สามารถลงทุนได้มีขนาดค่อนข้างเล็ก ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย ถ้านักลงทุนไม่ว่าจะเป็นรายบุคคล หรือนักลงทุนสถาบัน ต่างหันมาเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนในสัญญาซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าพร้อมๆกัน
  • ข้อมูลวิเคราะห์ฉบับนี้ไม่รวมสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีการบ่งชี้ว่าการที่สกุลเงินดังกล่าวสามารถป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อได้นั้น เป็นเรื่องเท็จอย่างชัดเจน

Axel Lehmann, Chairman of the Board of Directors of Credit Suisse Group AG and Chair ของสถาบันวิจัย Credit Suisse Research Institute กล่าวว่า "เรารู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จะได้นำเสนอรายงานประจำปีของเครดิต สวิส ฉบับที่ 15 ซึ่งเป็นความร่วมมืออันยาวนานกับคณาอาจารย์ท่านต่าง ๆ ทั้งนี้ เนื่องด้วยการพัฒนาทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนในตลาดจำนวนมากเข้าสู่สภาวการณ์ที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อสูง เพราะเหตุนี้ มุมมองทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และด้วยความคาดหวังที่ดูเหมือนจะถูกกำหนดโดยอดีตที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนจำนวนมากได้รับการเตือนจากการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในระยะยาวสองสามข้อของรายงานประจำปีฉบับนี้เกี่ยวกับความยากลำบากในปี 2022 อย่างเรื่องของกฎของความเสี่ยงและผลตอบแทน (the laws of risk and reward)"

ศาสตราจารย์ Paul Marsh จาก London Business School กล่าวเสริมว่า "ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน อาจเป็นเรื่องง่ายที่จะสูญเสียมุมมองด้านการลงทุนระยะยาว รายงานประจำปีฉบับนี้ ซึ่งมีฐานข้อมูลย้อนหลังไปถึง 123 ปี มีแหล่งข้อมูลและประสบการณ์มากมายที่จะช่วยให้ผู้อ่านเลือกใช้กลยุทธ์การลงทุนในอนาคตโดยการเรียนรู้จากอดีต"

กลุ่มตลาดหุ้นในรายงานประจำปีฉบับนี้คิดเป็นมากกว่าร้อยละ 95 ของตลาดหุ้นโลกในปี 1990 ซึ่งรวมถึงตลาดใหม่ 12ประเทศที่ได้นำเสนอในฉบับปี 2021 และ 2022 โดยรายงานประจำปีฉบับนี้ซึ่งรวบรวมข้อมูลทั้ง 35 ประเทศ ครอบคลุมตลาดการลงทุนทั่วโลกถึงร้อยละ 98 และดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์ (Composite Index) ของแต่ละประเทศทั่วโลก รวมถึงดัชนีทั่วโลกที่ไม่รวมสหรัฐอเมริกา ยุโรป ตลาดประเทศพัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ โดยมีประวัติยาวนานถึง 123 ปีเต็ม ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ได้มีการรวบรวมดัชนีราคาหุ้นเพิ่มเติมอีก 55 ประเทศเข้าไว้ด้วยกัน รายงานประจำปี 90 ประเทศฉบับนี้ จึงครอบคลุมตราสารทุนทั่วโลกได้ครบถ้วน

รายงานมูลค่าผลตอบแทนการลงทุนระดับโลกประจำปีประกอบด้วย 9 หมวดสำคัญ โดยหมวดที่ 1-8 เน้นเรื่องผลตอบแทนสินทรัพย์ระยะยาว สกุลเงิน ความเสี่ยงและค่าชดเชยความเสี่ยง ผลตอบแทนที่คาดหวัง การลงทุนแบบ Factor Investing สินค้าโภคภัณฑ์และข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ ส่วนหมวดที่ 9 จะเป็นเรื่องการประเมินตลาดสำคัญทั้ง 35 ตลาดและดัชนี Composite Index 5 รายการซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญของรายงานประจำปีนี้

ที่มา: เครดิต สวิส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๒ อาลีเพย์พลัสขยายเครือข่ายพันธมิตรด้านการชำระเงินเป็น 35 ราย เชื่อมโยงผู้ค้ากับนักท่องเที่ยวเข้าด้วยกันผ่านการชำระเงินบนมือถือ การขายของในแอปพลิเคชัน
๑๕:๓๙ ยกระดับบริการหลังการขายขึ้นอีกขั้นกับ Volvo Mobile Service เพียงนัดหมาย เราพร้อมให้บริการถึงหน้าบ้านคุณ
๑๕:๓๔ ประกาศราคาไทย HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนนแบบพับได้ระดับท็อป โฉบเฉี่ยวแต่แข็งแกร่ง พร้อมกล้องเพื่อการถ่ายรูปที่สมบูรณ์แบบ
๑๕:๒๔ มหัศจรรย์แห่งเฟสทีฟกลางลมหนาว ที่ห้างหรูในยุโรปของกลุ่มเซ็นทรัล
๑๕:๑๘ บี.กริม เพาเวอร์ ครองตำแหน่งเรตติ้งสูงสุด SET ESG Rating ระดับ AAA และอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน 7 ปีซ้อน ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
๑๔:๐๑ ธนาคารกรุงเทพ สำรองเงินสดช่วงเทศกาลปีใหม่ 40,000 ล้านบาท แนะลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
๑๔:๔๘ เที่ยวไทยสุขใจ ไทยพาณิชย์ โพรเทค มอบของขวัญปีใหม่ 2568 แจกฟรี! ประกันบ้านหรืออุบัติเหตุ 50,000 สิทธิ์
๑๕:๒๕ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ร่วมงานเลี้ยงการกุศล ส่งเสริมความเสมอภาคและโอกาสในสังคม
๑๕:๔๗ คณะผู้บริหารและพนักงาน ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล เยี่ยมชมโรงงาน 1NUO ที่ประเทศจีน
๑๔:๔๕ TFM เปิดแผนผลิตกุ้งยั่งยืน ดันไทยชิงโอกาสในตลาดโลก ชูนวัตกรรมอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน