ผลงานวิจัยจากองค์กรภายนอกระบุว่า บริการหลักของผู้ให้บริการทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 4% ตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2565 ขณะที่บริการที่เปี่ยมนวัตกรรม เช่น IoT, คลาวด์ และสมาร์ทโฮม เพิ่มขึ้นกว่า 10% ผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้รับโอกาสใหม่ ๆ ท่ามกลางคลื่นแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล บริการดิจิทัลที่เฟื่องฟูกำลังผลักดันให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมก้าวเข้าสู่สาขาใหม่ของบริการดิจิทัลแบบบูรณาการอย่างรวดเร็ว รายงานของไอดีซี (IDC) ระบุว่า อัตราการเพิ่มขึ้นแบบทบต้นจากการลงทุนของผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลกในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลสูงแตะ 17% ในช่วงปี 2564 ถึง 2568 ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งด้านสินทรัพย์โทรคมนาคมเพื่อเข้าสู่ดิจิทัล การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้เข้าสู่ระยะใหม่แล้ว ซึ่งโดดเด่นด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล พลังการประมวลผลสูง และระบบอัจฉริยะที่แข็งแกร่ง ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของผู้ให้บริการที่ดีขึ้น
คุณเฉินย้ำว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีต้องมาเป็นอันดับหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โดยสินทรัพย์หลักของผู้ให้บริการอย่างข้อมูล เครือข่าย และแอปพลิเคชัน (หรือ DNA) ล้วนเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ดังนั้น การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีสามารถสร้างรายได้จากสินทรัพย์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และปลดปล่อยมูลค่าที่มากขึ้น ผู้ให้บริการได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขนาดใหญ่และซับซ้อนในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา และพวกเขาต้องการสถาปัตยกรรมเป้าหมายเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต
สถาปัตยกรรมด้านไอทีสำหรับผู้ให้บริการประกอบด้วย 4 เลเยอร์ ได้แก่ ทรัพยากรทางกายภาพ เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ความสามารถของอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ดิจิทัล สถาปัตยกรรมอ้างอิงเป้าหมายที่มุ่งเน้นอนาคตสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของผู้ให้บริการที่เปิดตัวในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส นั้นมุ่งเน้นไปที่ทรัพยากรทางกายภาพและเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ทั้งยังเป็นโซลูชันที่ครอบคลุมซึ่งมีคลาวด์แบบกระจาย (คลาวด์ในองค์กร คลาวด์สาธารณะ และเอดจ์คลาวด์) แหล่งรวมทรัพยากรการจัดเก็บข้อมูลแบบครบวงจร (แหล่งรวมทรัพยากรประสิทธิภาพสูง และแหล่งรวมทรัพยากรขนาดใหญ่) และการประมวลผลที่หลากหลาย สถาปัตยกรรมนี้โดดเด่นด้วยการทำงานร่วมกันระหว่าง CT และ IT, ออนไลน์และในองค์กร และซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ซึ่งช่วยให้สามารถปกป้องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเดิมได้สูงสุดในระหว่างการย้ายไปยังระบบคลาวด์ ขณะที่การลงทุนด้านไอทีถูกใช้เพื่อเร่งการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ CT
- การทำงานร่วมกันของ CT และ IT: โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทียุคใหม่ถูกผนวกรวมเข้ากับอุปกรณ์เครือข่ายล่วงหน้า ตลอดจนรองรับการจัดตารางเวลาแบบครบวงจร และการจัดการทรัพยากรระบบคลาวด์และเครือข่าย ทำให้สามารถจัดเตรียมบริการแบบครบวงจรสำหรับลูกค้าได้ นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีนี้ยังได้ผนวกรวมเข้ากับแอปพลิเคชันโทรคมนาคมหลักล่วงหน้า เช่น ระบบสนับสนุนธุรกิจ (BSS) และระบบสนับสนุนการดำเนินงาน (OSS) ซึ่งยกระดับประสิทธิภาพการใช้งานบริการอย่างมากและลด OPEX
- การทำงานร่วมกันทั้งออนไลน์และในองค์กร : แอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพบนคลาวด์แบบกระจาย (คลาวด์สาธารณะ และคลาวด์ในองค์กร) นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทั้งคลาวด์สาธารณะ คลาวด์ในสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลภายใน ขณะที่รับรองความปลอดภัยของข้อมูล เพิ่มมูลค่าของข้อมูลสูงสุด และยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานบริการ
- การทำงานร่วมกันของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์: การพัฒนาสถาปัตยกรรมโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีต้องอาศัยการผสานรวมอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและเครือข่ายที่มีอยู่ รวมทั้งฮาร์ดแวร์อื่น เข้ากับสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่อปกป้องการลงทุนเดิม ลดความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันและข้อมูล และพัฒนาความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพการใช้งาน
หัวเว่ยทำงานร่วมกับผู้ให้บริการมานานกว่า 30 ปี โดยจะใช้ความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของผู้ให้บริการ ตลอดจนประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของผู้ให้บริการมากกว่า 140 ราย เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการพัฒนาจากผู้เล่น CT เป็นผู้เล่น ICT
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2014627/David_Chen_Director_Huawei_Carrier_IT_Marketing_Solution_Sales.jpg
คำบรรยายภาพ - คุณเดวิด เฉิน ผู้อำนวยการฝ่ายขายโซลูชันและการตลาดไอทีสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายของหัวเว่ย
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2014628/Target_reference_architecture_carrier_IT_infrastructure.jpg
คำบรรยายภาพ - สถาปัตยกรรมอ้างอิงเป้าหมายสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของผู้ให้บริการเครือข่าย