การจัดงานในครั้งนี้เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของกลุ่มประเทศผู้ผลิต ผู้ค้าโกโก้ในอาเซียน เป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต ผู้ค้าในประเทศไทยและจะได้รับทราบการความเป็นไปของอุตสาหกรรมโกโก้จากองค์กรที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ โกโก้บอร์ดอินโดนิเซีย (Indonesian Cocoa Board; ICB), มูลนิธิโกโก้ประเทศฟิลิปปินส์ Cocoa Foundation of the Philippines (CocoaPhil) และคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาโกโก้เวียดนาม (Viet Nam Cocoa Committee; VCC) สำนักงานพัฒนาการตลาดและเศรษฐกิจ กระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช กล่าวว่า การประชุมโกโก้อาเซียน ครั้งที่ 23 นี้เป็นโอกาสดีที่จะได้รับรู้รายงานสถานการณ์ การผลิต และการค้าเมล็ดโกโก้และการวิจัยพัฒนาจากสำนักงานเลขาธิการโกโก้อาเซียน ซึ่งตั้งอยู่ประเทศมาเลเซียและประเทศสมาชิก เช่น อินโดนิเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย นอกจากนี้ ภายในการประชุมยังมีรายงานของคณะทำงานความปลอดภัยด้านอาหาร และความปลอดภัยด้านเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) โดยมีการเชิญภาคีเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ ผู้ประกอบการโกโก้ของไทย จากบริษัท Chocolasia, Kad Kokoa Lab, CBA Academy, CP Retaillink, Madam Cocoa, รวมถึงสหกรณ์การเกษตรห้วยคต และสมาคมกาแฟและชาไทยเข้าร่วมประชุม
ในส่วนของผู้เข้าร่วมประชุมจากภาครัฐ ประกอบด้วย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานภายในกรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานในประเทศอาเซียนมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 4 ประเทศ ได้แก่ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเดอลาเซล ประเทศฟิลิปปินส์ อาจารย์ภาควิชาโรคพืชจากมหาวิทยาลัยมุสลิม รัฐมากาซา ประเทศอินโดนิเซีย เกษตรจังหวัด/เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของรัฐโกรอน ทาโร และรัฐลูอูติมอร์ ประเทศอินโดนีเซีย และเจ้าหน้าที่จากเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย นักวิจัยจากสถาบันวิจัยโกโก้มาเลเซีย และผู้อำนวยการด้านสำนักงานพัฒนาการตลาดและเศรษฐกิจ กระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย
การส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรและผลิตภัณฑ์จากอาเซียน ของสมาคมโกโก้แห่งอาเซียนได้ดำเนินกิจกรรมต่าง เพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาดในตลาดต่างประเทศ ด้วยการยกระดับคุณภาพการผลิตระดับฟาร์มและมุ่งมั่นพัฒนาการแปรรูป โดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้านอาหาร ตลอดจนประสานความร่วมมือในการผลิตโกโก้แห้งอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมการแปรรูป โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้แทนประเทศสมาชิกได้ทำความเข้าใจและรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์การผลิต การแปรรูป และการค้าโกโก้ ตลอดจนแสวงหาแนวทางเพื่อเสริมสร้างการค้าโกโก้ภายในและภายนอกภูมิภาคอาเซียนร่วมกัน
ที่มา: กรมวิชาการเกษตร