ขณะที่อุตสาหกรรมการบินเริ่มฟื้นตัว แต่แรงงานด้านการบินกลับขาดแคลน สืบเนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 เมื่อปลายปี 2562 ที่ทำให้ทั่วโลกวิกฤติหนัก อุตสาหกรรมการบินก็เช่นกัน โดยอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย มีการปลดพนักงานทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายปฏิบัติการ ซึ่งในปี 2563 พบว่า มีบุคลากรโดยตรงในสายการบินเหลือเพียง 8 หมื่นกว่าคน จากเดิมที่มีจำนวนกว่า 2 แสนคน
น.ต.ดร.วัฒนา กล่าวด้วยว่า ความต้องการแรงงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการบินยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือ อาชีพนักบิน ช่างเครื่อง หรือผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในอุตสาหกรรมการบินมีอาชีพและตำแหน่งงานที่รองรับมากกว่า 69 สายงานอาชีพ นอกจากนี้ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมการบินจะกลับมาเป็นปกติในปี 2567 ซึ่งคาดว่าแรงงานด้านนี้จะขาดแคลน เนื่องจากบุคลากรด้านการบินที่ออกไปประกอบอาชีพอื่นๆ หลายคนก็ไม่กลับมาประกอบอาชีพเดิมแล้ว
วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มธบ. หรือ CADT DPU ในฐานะสถาบันการศึกษา ที่มุ่งมั่น สร้างมืออาชีพด้านธุรกิจการบิน ที่ต้องมีทั้งความรู้ ทักษะและประสบการณ์ และมีใจรักในงานบริการ (Knowledge, Skill and Service Mind) โดยวิทยาลัยฯ มีความพร้อมทั้งหลักสูตรการเรียน การสอน บุคลากร และสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเปิดการสอนในระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาธุรกิจการบิน และ สาขาการจัดการเทคโนโลยีการบิน (วิชาเอกการจัดการอำนวยการบิน) และยังมีหลักสูตรฝึกอบรมด้านการบินสำหรับบุคคลทั่วไป ตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) และ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA) ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้นด้านการบินต่างๆ ที่เป็นหลักสูตรมาตรฐานสากล นอกจากนี้ DPU Aviation Academy (DAA) ของ CADT DPU ยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินครบวงจรที่สำคัญของประเทศ และเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก IATA ถึง 6 ปีซ้อน ตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของอาเซียน
"สำหรับสาขาการจัดการเทคโนโลยีการบิน เป็นหลักสูตร 2 ภาษา ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาตรีสาขาแรกในประเทศไทยที่สร้างหลักสูตรขึ้นมาเพื่อให้น้องๆ ที่สนใจและมีความต้องการทำงานด้านการอำนวยการบิน หรือ สนใจอยากจะต่อยอดไปเป็นนักบินก็สามารถทำได้ โดยวิทยาลัยฯ มีเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง (Flight Simulators) ถึง 3 เครื่องด้วยกัน คือ เครื่องแบบ Boeing 737-800NG จำนวน 1 เครื่อง และแบบ Cessna 172-G1000 จำนวน 2 เครื่อง โดยน้องๆ จะได้สัมผัสประสบการณ์เสมือนจริงด้านการบิน ผู้ที่สนใจอยากเป็นนักบินเราก็มีโรงเรียนการบินที่เป็นพันธมิตรโดยล่าสุดได้ลงนามความร่วมมือกับบางกอกแอร์เวย์ โรงเรียนการบิน Thai Inter Flying และ Thai Flying Service แต่หากนอกเหนือจากเครือข่ายพันธมิตรของวิทยาลัยฯ เราก็สามารถประสานให้ได้" น.ต.ดร.วัฒนา กล่าว
น.ต.ดร.วัฒนา กล่าวเพิ่มเติมว่า CADT DPU พัฒนาการเรียนการสอน เพิ่มทักษะและประสบการณ์ให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับบริษัทในเครือของการบินไทยประกอบด้วย บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด และ บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในรูปแบบการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work-Integrate Education : CWIE) รวมถึงโอกาสในการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ อนาคตสำหรับนักศึกษาที่มีศักยภาพ นับเป็นความร่วมมือในการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะวิชาชีพสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและความต้องการของสถานประกอบการ
"CADT DPU ยังเป็นองค์กรรับรองโดยเป็นศูนย์ทดสอบเพื่อรับใบประกาศนียบัตรของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) สาขาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ทางเรามีการจัดสอบให้นศ.ชั้นปีที่ 4 โดยจะได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพฯ เมื่อสอบผ่าน ที่สำคัญเป็นการสอบโดยรัฐบาลให้เงินสนับสนุน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดี เมื่อเรียนจบจากที่นี่ใครอยากเป็นนักบินเราก็สานฝันให้ ใครอยากเรียนหลักสูตรสากล IATA หรือสอบใบประกอบวิชาชีพเพื่อเป็น Portfolio นำไปสมัครงาน เราก็จัดให้ได้"
"สำหรับน้องๆ ที่เรียนดีทางวิทยาลัยฯ ก็มีทุนให้ด้วย และยังมีหลากหลายทุน ทั้งทุน 100% 50% ทุนสำหรับ influencer และทุนสำหรับน้องๆ ที่อยู่ในครอบครัวการบินด้วย" คณบดี CADT DPU กล่าว
สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อด้านการบิน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://cadt.dpu.ac.th/
ที่มา: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์