โตชิบาพัฒนาต้นแบบมอเตอร์ตัวนำยิ่งยวดกำลังสูงที่มีน้ำหนักเบา ขนาดกะทัดรัด สำหรับการใช้งานในยานพาหนะ

ศุกร์ ๑๐ มีนาคม ๒๐๒๓ ๐๙:๑๕
องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรที่กำหนดวิธีเดินเครื่องบินพาณิชย์ ได้กำหนดเป้าหมายใหม่เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ให้มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการบินระหว่างประเทศให้ได้ร้อยละ 15 ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2567 เป็นต้นไปเมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2562 และลดลงให้เกือบเป็นศูนย์ภายในปีพ.ศ. 2593 ด้วยเหตุนี้ เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้กันอยู่จะค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF)

อย่างไรก็ตาม ในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้โดยสมบูรณ์ เราจำเป็นต้องทดลองทั้งเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนและระบบการบินปลอดคาร์บอนร่วมกันแบบองค์รวม ซึ่งหมายความว่า อุตสาหกรรมจำเป็นต้องพัฒนามอเตอร์กำลังสูง น้ำหนักเบาเพื่อใช้ในระบบขับเคลื่อน

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โตชิบาได้ประกาศว่ากำลังพัฒนาต้นแบบมอเตอร์ตัวนำยิ่งยวดความเร็วสูง ขนาดกะทัดรัดที่มีกำลังขับสูงสุด 2 เมกะวัตต์ ซึ่งผสานเทคโนโลยีการผลิตเครื่องจักรที่หมุนด้วยความเร็วสูงและเทคโนโลยีตัวนำยิ่งยวดของโตชิบาเข้าด้วยกัน มอเตอร์ตัวนำยิ่งยวดที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้มีน้ำหนักเพียงไม่กี่ร้อยกิโลกรัม มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกประมาณ 50 ซม. และความยาวรวมประมาณ 70 ซม. (ไม่รวมเพลา) จึงมีขนาดเล็กกว่ามอเตอร์ที่มีระดับกำลังขับเท่ากัน "กว่าหนึ่งในสิบเท่า" มอเตอร์ที่เพิ่งประดิษฐ์สำเร็จขึ้นครั้งแรกในโลกนี้ได้รับความสนใจทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ จากอุตสาหกรรมอากาศยานและรถยนต์ รถไฟ และบริษัทด้านการขับเคลื่อนอื่นๆ ผู้ผลิตเครื่องยนต์ รวมถึงมหาวิทยาลัยด้วย

อุตสาหกรรมยานพาหนะกำลังจะเปลี่ยนไป กล่าวคือรถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาแทนที่รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ส่วนในอุตสาหกรรมการบินคาดว่า เครื่องยนต์ไอพ่นที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลจะถูกแทนที่ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทั้งนี้ เป้าหมายของเครื่องบินไฟฟ้ารุ่นต่อไปคือการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ปัจจุบันอาจทำให้การบรรลุเป้าหมายนี้ท้าทายยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ด้วยการผสานประสบการณ์อันยาวนานและเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าด้วยกัน มอเตอร์ตัวนำยิ่งยวดของโตชิบาจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เพราะโตชิบานอกจากจะผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกังหันมานานหลายปีและมีเทคโนโลยีมากมายสำหรับการผลิตเครื่องจักรที่หมุนด้วยความเร็วสูงแล้ว ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีตัวนำยิ่งยวดด้วย เมื่อผสานรวมเทคโนโลยีทั้งสองนี้เข้าด้วยกันแล้ว มอเตอร์ตัวนำยิ่งยวดใหม่ที่ได้จึงตอบโจทย์ทั้งด้านน้ำหนักเบา แรงขับเคลื่อนสูง และการหมุนด้วยความเร็วสูง อีกทั้งยังผลิตให้นำไปใช้กับยานพาหนะต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุนี้ มอเตอร์ชนิดใหม่นี้จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผันไปใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งในอากาศยานและยานพาหนะแบบอื่นๆ

ด้วยประสบการณ์การผลิตอันยาวนาน นวัตกรรมเทคโนโลยีล้ำสมัย และความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะสร้างโลกให้น่าอยู่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โตชิบาจะมุ่งพัฒนาต่อไปเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนทั้งในอุตสาหกรรมต่างๆ และการขนส่ง

ที่มา: นิโอ ทาร์เก็ต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version