GIT จับมือสมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย ผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินไทย ดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลและความยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ศุกร์ ๑๐ มีนาคม ๒๐๒๓ ๐๙:๓๙
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT โดยนายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบัน ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย โดย นายกิตติศักดิ์ อุดมแดงอร่าม นายกสมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับ สมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย ณ ห้องสุรศักดิ์ 1 ชั้น 11 โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกันตามภารกิจของทั้งสองหน่วยงานในการสร้างการรับรู้ธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินไทยให้มีธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และประสานความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินไทย รวมถึงสร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของแต่ละหน่วยงาน โดยมี นายทนง ลีลาวัฒนสุข รองผู้อำนวยการ (เทคนิค) สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ และนายเธียรพันธุ์ บุญทรงษีกุล เลขาธิการ สมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย เป็นสักขีพยานในการลงนาม

ภายในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ยังมีการจัดเสวนาในหัวข้อ หัวข้อ "การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมา ภิบาล (Good Governance) และ ความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจ (Responsible Business Practices) ในอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับ" โดย นายทนง ลีลาวัฒนสุข รองผู้อำนวยการ (เทคนิค) สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ นายคงศักดิ์ เติมพิทยาเวช นายทะเบียนสมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เท็ท ดีไชน์ จำกัด นายธีรเดช สินธพเรืองชัย เลขาธิการสมาคมค้าทองคำ และการบรรยาย ในหัวข้อ "Carbon Footprint ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ" โดย รศ.ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

"GIT ได้ดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับในทุกมิติ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ ด้วยการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย และสมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิต การค้า และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก และเพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือกันและผลักดันให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ดังนั้น การลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะเป็นการบูรณาการในเชิงขีดความสามารถและสมรรถนะของทั้ง 2 หน่วยงานในการผลักดันให้อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินไทยให้มีธรรมาภิบาลและความยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป "นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย" กล่าว

ที่มา: สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ