สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช จัดงานนิทรรศการ "ร้องรำทำเพลง: คีตศิลป์แห่งนครศรีธรรมราช"

ศุกร์ ๑๐ มีนาคม ๒๐๒๓ ๑๕:๔๐
สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช

จัดงานนิทรรศการ "ร้องรำทำเพลง: คีตศิลป์แห่งนครศรีธรรมราช" ระหว่างวันที่ 8 - 31 มีนาคมนี้ ณ บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์

นิทรรศการ "ร้องรำทำเพลง: คีตศิลป์แห่งนครศรีธรรมราช" ภายใต้โครงการแผนงานโครงการวิจัยการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช โดย รองศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดการนิทรรศการ ได้ใช้แนวคิดของความสนุกสนานและเสียงดนตรีมานำเสนอผ่านในรูปแบบภูมิปัญญาของงานช่างหัตศิลป์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านงานหัตถศิลป์จากคีตศิลป์ และศิลปะการแสดงอันเป็นเอกลักษณ์และส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของนครศรีธรรมราชและภาคใต้ อาทิ หนังตะลุง เครื่องแต่งกายโนรา ลูกปัดโนราและเทริดโนรา และงานกรงนกกรงหัวจุกที่มีเทคนิคและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่รังสรรค์ขึ้นผ่านวัสดุจากท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่ศิลปะและหัตถศิลป์ท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยงานนิทรรศการจะจัดขึ้นทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ระหว่างวันที่ 8 - 31 มีนาคม 2566 ณ บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ ถนนราชดำเนิน จังหวัดนครศรีธรรมราช

หนังตะลุง โลกทัศน์ของชาวใต้ผ่านแสงและเงา

หนังตะลุง อันเป็นหนึ่งในมหรสพการแสดงเงาของไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของบทพูดและบทกลอนขับกล่าวในการแสดงที่สร้างความครื้นเครงและสนุกสนามให้กับผู้ที่ได้รับชม ตัวหนังตะลุงแต่ละตัวภายในงานถูกรังสรรค์ขึ้นผ่านฝีมือของครูช่างทำหนังตะลุงซึ่งหนังตะลุงแต่ละตัวล้วนจะมีรูปลักษณ์และบทบาทที่แตกต่างกันไป ตามแต่แนวคิดการออกแบบของครูช่างแต่ละท่าน โดยแนวคิดการออกแบบตัวหนังตะลุงมักจะมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตและเหตุการณ์สำคัญของชาวใต้และประเทศในขณะนั้น ซึ่งเป็นการบันทึกและสะท้อนสภาพสังคม ค่านิยมและโลกทัศน์ของชาวใต้ในแต่ละช่วงเวลาไว้

มโนราห์ จากมรดกทางวัฒนธรรมแห่งปักษ์ใต้สู่มรดกโลก

ห้อง "โนรา" จัดแสดงมหรสพการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของชาวใต้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งในห้องจัดแสดงนี้จะเป็นการนำเสนอมุมมองของโนราออกมาในเรื่องของงานช่างหัตถศิลป์ของโนรา อันได้แก่ เครื่องแต่งกายโนราที่มีพัฒนาการในแต่ละยุคสมัยจากชุดแบบโบราณสู่การออกแบบร่วมสมัยในการนำหัวนะโมมาออกแบบผ่านลูกปัดบนเครื่องแต่งกายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพัฒน์ นาคเสน และเครื่องประดับของชุดโนราที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีพัฒนาการของเครื่องแต่งกายที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเทริดที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญและมีคุณค่าทางด้านความเชื่อและจิตใจของลูกหลานชาวโนรา โดยภายในงานได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพัฒน์ นาคเสนที่มอบ เทริดชั้นครูของโนรายก ชูบัว ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (โนรา) มาจัดแสดงในงานนี้ด้วย

คีตศิลป์จากปักษาสู่งานหัตถศิลป์แห่งนครฯ

คีตศิลป์จากธรรมชาติ เสียงดนตรีจากนกกรงหัวจุกตัวน้อยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวใต้ บทเพลงจากนกกรงหัวจุกตัวน้อยนี้เองที่เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นสำคัญของการรังสรรค์งานช่างหัตถศิลป์กรงนกขึ้นมาเพื่อให้นกอันเปรียบได้กับสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวได้อาศัยอยู่และขับกล่อมให้เสียงอันไพเราะฟังในทุกวัน ซึ่งภายในมีการจัดแสดงกรงนกที่มีลักษณะลวดลายและเทคนิคที่แตกต่างกันไป กรงแต่ละกรงนั้นยังคงสะท้อนถึงความประณีตและความงามของฝีมือครูช่างที่ได้สร้างสรรค์กรงนกเหล่านี้ขึ้นมาอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองนครฯและภาคใต้ เช่น กรงนกโบราณทรงโบกี้รถไฟ กรงนกฝังมุกไฟลวดลายดอกไม้ กรงนกแกะงาช้าง

สัมผัสสุนทรียะและร่วมกิจกรรมผ่านงานช่างศิลป์ปักษ์ใต้แบบฉบับเมืองนครฯภายในงานนิทรรศการ

นิทรรศการ "ร้องรำทำเพลง: คีตศิลป์แห่งนครศรีธรรมราช" นอกจากการเผยแพร่ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านงานช่างหัตถศิลป์จากวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ของนครศรีธรรมราชในมุมมองที่แตกต่างออกไปจากเดิมแล้ว ภายในงานยังมีการถอดสุนทรียะของงานหัตถศิลป์เหล่านี้โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ และมีการจัดพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนในด้านการต่อยอดงานหัตถศิลป์ท้องถิ่นอันควรค่าแก่การอนุรักษ์รักษาไว้ผ่านกิจกรรมลูกปัดโนราซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเครื่องลูกปัดบนเครื่องต่างกายชุดโนรา ซึ่งจะเป็นการเปิดประสบการณ์ให้เยาวชนและผู้ที่สนใจได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้องค์ความรู้ทางภูมิปัญญาของท้องถิ่น ทางคณะผู้จัดนิทรรศการจึงขอเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติทุกท่านมาร่วมสนุกและสัมผัสมรดกทางภูมิปัญญาของงานช่างหัตถศิลป์เมืองนครศรีธรรมราชและปักษ์ใต้ไปด้วยกัน

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "ร้องรำทำเพลง: คีตศิลป์แห่งนครศรีธรรมราช" ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ระหว่างวันที่ 8 - 31 มีนาคม 2566 ณ บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ ถนนราชดำเนิน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ที่มา: เอฟวายไอ บางกอก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version