ในช่วงหลักสูตรระยะที่ 1 และ 2 ที่ผ่านมาซึ่งเริ่มการเรียนการสอนตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2563 ถึงปี พ.ศ. 2565 ของการดำเนินโครงการ VIA นั้น ทางโครงการได้รับการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมอย่างดีจากมิชลินและโททาลเอเนอร์ยี่ส์ ในประเทศไทย หลังจากเปิดตัวโครงการในเดือนพฤศจิกายน 2564 ผ่านการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและได้ผลลัพท์อย่างดีโดยมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย (AIP Foundation) จัดอบรมเพิ่มทักษะการบูรณาการกิจกรรม VIA ร่วมกับกลุ่มครูแกนนำ จำนวน 50 คน ซึ่งนำกิจกรรม VIA ไปใช้สอนเด็กนักเรียนในห้องเรียนจริง รวมถึงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 5,772 คน จาก 135 ชั้นเรียนเข้าร่วมกิจกรรม และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โครงการ VIA จัดสัมมนาวิชาการถอดบทเรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์การนำกิจกรรมโครงการ VIA ไปใช้จริงในสถานศึกษานำร่อง เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวแทนครูแกนนำได้แบ่งปันประสบการณ์และความสำเร็จในการนำหลักสูตร VIA ถ่ายทอดลงสู่เด็กนักเรียน โดยมุ่งเน้นวิธีการปรับใช้กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนและมุ่งหวังต่อการขยายผลไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนภายใต้นโยบายกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยจากก้าวแห่งการพัฒนาความสำเร็จตลอดช่วงระยะเวลาการดำเนินโครงการ 2 ปี ของโครงการ VIA ในประเทศไทย
หลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากจากโครงการที่ผ่านมาใน 2 ปีแรก ในการนำร่องการพัฒนาหลักสูตรด้านความปลอดภัยทางถนนร่วมกับโรงเรียน 5 แห่ง ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และ 45 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางท้องถนน (Road Safety) ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนจากสถานทูตต่าง ๆ เช่น สถานทูตฝรั่งเศส ฟินแลนด์ อังกฤษ เดนมาร์ก นอร์เวย์ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ผู้อำนวยการโรงเรียนจากโรงเรียนนำร่องโครงการ 22 แห่ง และผู้แทนจากหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันเป็นตัวแทนเปิดตัวโครงการ ระยะที่ 3 ในวันนี้ เพื่อแสดงถึงเจตนาอันแน่วแน่ของทุกภาคส่วนที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ VIA ให้สำเร็จบรรลุเป้าหมายอย่างดี ให้นักเรียนทุกคนในหลักสูตรได้รับการปลูกฝังจิตสำนึก ตระหนักรู้ และรู้จักป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายในการใช้รถใช้ถนน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเยาวชนจะสามารถส่งต่อไปถึงผู้ปกครองและคนรอบตัวในชุมชน ให้ตื่นตัวและร่วมกันสร้างการสัญจรที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นอย่างยั่งยืนสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนในประเทศไทย
ที่มา: ทริปเปิล เอท ไอเดียส์