"TRITN" รับงานมูลค่าสูงขึ้น โฟกัสงานวางท่อใต้ดินกับงานวางรางรถไฟและอาณัติสัญญาณ มั่นใจปี 2566 เห็นการเติบโตชัดเจน

อังคาร ๑๔ มีนาคม ๒๐๒๓ ๑๑:๔๗
ตามที่ บริษัท ไทรทัน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ "TRITN" ชี้แจงผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดย บมจ.ไทรทัน เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น บริษัทย่อยภายใต้การดำเนินงานของ TRITN เปิดเผยข้อมูลว่า "ภาพรวมในปี 2565 งานก่อสร้างซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้สำคัญให้กับบริษัทแม่มีรายได้ 602.82 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 12.23 โดยโครงการในมืออยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างตามแผนงานที่วางไว้ รวมถึงบริษัทฯได้รับโครงการก่อสร้างเข้ามาใหม่ก็อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2565"

นายสัญญา กาญจนวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทรทัน เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น กล่าวว่า "เรามุ่งเน้นการเติบโตไปที่จุดที่เรามีความชำนาญที่สุดคืองานก่อสร้างด้านการวางท่อใต้ดิน เพื่อขนส่งน้ำมัน หรือขนส่งน้ำ กับงานวางรางรถไฟและอาณัติสัญญาณ เราประสบความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งใน Vender list ในหน่วยงานรัฐและเอกชนขนาดใหญ่หลายแห่ง และหลายปีที่ผ่านมาเราเก็บสะสมประสบการณ์จากการเป็นส่วนหนึ่งของงานก่อสร้างขนาดเล็กหลายๆงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในอนาคตที่จะขยับไปรับงานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ ในปีที่ผ่านมาเราขยับมูลค่างานที่รับให้มีมูลค่างานที่เพิ่มสูงขึ้นและรับงานตรงจากเจ้าของงานมากขึ้น ซึ่งทิศทางดังกล่าวจะทำให้เราสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงมากขึ้นและอยู่ในสายงานก่อสร้างที่เราถนัด แม้จะเริ่มขยายงานมาแล้วตั้งแต่ปลายปีก่อน แต่งานส่วนใหญ่จะเริ่มเข้าไปทำงานในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ในต้นปีนี้ คาดว่าปีนี้จะเป็นปีที่ดีของเราที่จะมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ"

"นอกจากนี้ งานโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาในปีนี้เราก็โฟกัสที่งานวางท่อและงานรางรถไฟเช่นเดิมแต่ขยับเข้าไปในโครงการที่มีมูลค่างานใหญ่ขึ้น ดังนั้นเมื่อมองเป้าหมายปลายปีนี้ที่มีงาน Backlog แตะระดับหมื่นล้านจากการเลือกเข้างานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และรับงานตรงกับเจ้าของงานมากขึ้น เราก็จะยังคงความเป็นบริษัทก่อสร้างที่เน้นงานด้านท่อน้ำมันกับรางรถไฟอยู่"

นายสัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า "ในปีนี้งานที่ได้รับเข้ามาถือว่ามากพอเพียงแล้ว อีกทั้งยังมีโครงการก่อสร้างที่อยู่ระหว่างพัฒนาขนาดใหญ่อีกจำนวนหนึ่ง ภารกิจต่อไปของบริษัทจะเป็นเตรียมความพร้อมด้านเงินทุนเพื่อรองรับการขยายงานในอนาคต แม้ตอนนี้บริษัทมีฐานเงินทุนแข็งแกร่ง มีสัดส่วนเงินกู้น้อยมาก โดยอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ Debt to Equity Ratio (DE Ratio) อยู่ที่น้อยกว่า 1% แต่ยังมีขนาดเล็กสำหรับการรองรับงานมูลค่าสูง ดังนั้นเพื่อเตรียมเงินรองรับการขยายตัวสามารถมาได้ทั้งจากส่วนทุนและส่วนของแหล่งเงินกู้ เช่นออกหุ้นกู้ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือจะขอวงเงินสินเชื่อธนาคาร ซึ่งในปีนี้เรามีแผนออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ อายุ 1 ปี 9 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5.5% ขายให้ผู้ถือปัจจุบันตามสัดส่วน โดยผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่จองซื้อและได้รับการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพตามสัดส่วน จะได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท (วอแรนท์ W6) โดยไม่คิดมูลค่า (ศูนย์บาท) ในอัตราส่วน 1 หน่วยหุ้นกู้แปลงสภาพ ต่อ 6,000 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 6 ด้วย"

ที่มา: บางกอก ออทัม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ