เคพีเอ็มจีเผยผลสำรวจซีอีโอเทค ข้อมูลเชิงลึกด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ความเสี่ยง ทาเลนท์ และ ESG ของอุตสาหกรรมเทคปี 2566 เป็นต้นไป

อังคาร ๑๔ มีนาคม ๒๐๒๓ ๑๓:๔๖
การสำรวจล่าสุดด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของเคพีเอ็มจี (KPMG Technology Industry CEO Outlook) ซึ่งนำเสนอข้อมูลเชิงลึกจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ระดับโลก 110 แห่ง พบว่าซีอีโอส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) มองว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อไปอีก 12 เดือน และความกังวลเร่งด่วนที่สุดสำหรับ 'ซีอีโอเทค' คือปัจจัยทางเศรษฐกิจที่กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจของตน อย่างไรก็ตาม ซีอีโอจำนวนมาก (ร้อยละ 86) มีความมั่นใจในโอกาสเติบโตของบริษัทในอีกสามปีข้างหน้า ทั้งจากการควบรวมกิจการ การเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ หรือช่องทางอื่นๆ ทั้งนี้บริษัทเทคโนโลยีที่มุ่งมั่นในการรักษาบุคลากร รวมถึงการเพิ่มมูลค่าองค์กรโดยการลงทุนด้านไซเบอร์และ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล) จะได้รับประโยชน์สูงสุดในระยะยาว"ความกลัวต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงลักษณะการทำงานรูปแบบใหม่ แสดงให้เห็นว่าซีอีโอด้านเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคม ซึ่งมักเป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องสร้างสมดุลที่เหมาะสมเพื่อบริหารความเสี่ยงระยะสั้น โดยไม่ให้กระทบต่อการเติบโตในระยะยาว" มาร์ค กิบสัน หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคม เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีซีอีโอเทค มองว่าองค์กรต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านดิจิทัล ควบคู่กับการบริหารจัดการภัยคุกคามจากภายนอกและอุปสรรคของการบริหารภายใน โดยร้อยละ 64 ให้ความสำคัญกับการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ตรงข้ามกับร้อยละ 36 ที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถของพนักงาน โดยมุมมองดังกล่าวมีความหมายต่อบริษัทเทคโนโลยีดังนี้

  • เริ่มต้นด้วยกลยุทธ์: ซีอีโอเทค ร้อยละ 69 กล่าวว่ากระบวนการตัดสินใจว่าจะใช้เทคโนโลยีใดนั้นเป็นตัวขัดขวางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในองค์กรของตน จึงต้องให้ความสำคัญกับการมุ่งเน้นเป้าหมายมากกว่ากระบวนการ
  • ใกล้ชิดกับลูกค้า: มุ่งเน้นการลงทุนโดยตรงเพื่อผลักดันการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า ทั้งนี้เพื่อรักษาฐานลูกค้าและส่วนแบ่งการตลาด องค์กรต่างๆ ต้องคิดให้แตกต่างในด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งมอบและตอบสนองต่อความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมายให้ดียิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนเพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีที่เลือกใช้และกระบวนการทำงานที่ออกแบบมาจะสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยผสานประสบการณ์ดิจิทัลอันเป็นเลิศเพื่อส่งเสริมความภักดีของลูกค้าทั้งช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี
  • ผสมผสานคนและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน: บริษัทเทคโนโลยีมีการลงทุนจำนวนมากในโซลูชั่นดิจิทัลใหม่ๆ มาโดยตลอด และจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป แต่โซลูชั่นด้านเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ หากมีพนักงานเพียงไม่กี่คนที่เข้าใจและสามารถใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ ดังนั้นองค์กรจึงต้องนำพนักงานทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงผ่านการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้
  • พิจารณากลยุทธ์การควบรวมกิจการ: การปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ภายในองค์กรและการฝึกอบรมที่มีอยู่แบบซ้ำๆ ให้กับพนักงานเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลานาน โดยการควบรวมกิจการสามารถเร่งการเติบโตและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เพื่อเปิดตลาดใหม่ๆ หรือรับทาเลนท์และเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าสู่องค์กร

ข้อมูลเชิงลึกด้านความเสี่ยงภัยคุกคามห้าอันดับแรกต่อการเติบโตของบริษัทเทคโนโลยีในช่วงสามปีข้างหน้า ได้แก่ ปัญหาด้านการดำเนินงาน (ร้อยละ14) เทคโนโลยีเกิดใหม่/เทคโนโลยีดิสรัปชั่น (ร้อยละ 12) ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (ร้อยละ 12) ความไม่แน่นอนทางการเมือง (ร้อยละ 11) และอัตราดอกเบี้ย (ร้อยละ 9) โดยปัจจัยดังกล่าวมีความหมายต่อบริษัทเทคโนโลยีดังนี้

  • ลดปัญหาการดำเนินงานด้วยการเป็นองค์กรที่เชื่อมต่อกัน: การขาดความสอดคล้องกันระหว่างฟังก์ชั่นและระบบงานอาจเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการส่งมอบประสบการณ์ที่ราบรื่นให้แก่ลูกค้า ซึ่งการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของบริษัทเทคโนโลยีสามารถมุ่งเน้นได้ทุกกระบวนการและฟังก์ชันการดำเนินงานต่างๆ ทั้งสำนักงานส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง เพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ทั้งนี้องค์กรที่เชื่อมต่อกันจะได้รับข้อมูลเชิงลึก ความคล่องตัว และความสอดคล้องในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มคุณค่าที่ลูกค้าได้รับให้สูงขึ้น ในโลกที่ดิจิทัลต้องมาก่อนได้อย่างมีประสิทธิภา
  • ตระหนักว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นหน้าที่เชิงกลยุทธ์: ความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะด้านไอทีอีกต่อไป แต่เป็นประเด็นสำคัญทางธุรกิจขั้นพื้นฐานที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับความท้าทายในการตรวจจับการโจมตีได้อย่างทันท่วงที ทำให้ต้องใช้ทั้งโซลูชั่นเทคโนโลยีอัตโนมัติและการสร้าง human firewall หรือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ตระหนักถึงความปลอดภัยด้านไซเบอร์
  • เทคโนโลยีเกิดใหม่เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโต: ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งมีแนวโน้มจะตัดสินใจได้ยากในการเลือกลงทุนด้านเทคโนโลยีเกิดใหม่ อย่างไรก็ตาม ผู้นำด้านดิจิทัลมีแนวโน้มที่จะเร่งการนำเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการลูกค้า แต่ผู้นำด้านดิจิทัลยังสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหลัก เช่น ระบบอัตโนมัติ เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดต้นทุน เมื่อรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันแล้ว จะไม่ใช่แค่การเติบโต แต่เป็นการเติบโตอย่างมีกำไร
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่สามารถถูกละเลยได้: แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะถูกจัดให้อยู่ในภัยคุกคามระดับกลาง แต่หากไม่ได้รับการแก้ไขอาจมีผลกระทบไปสู่ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ปัญหาการดำเนินงาน ชื่อเสียงขององค์กร ข้อกังวลด้านกฎระเบียบ และห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ในอนาคตจะมีเศรษฐกิจแค่เพียงประเภทเดียว นั่นคือ "เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ" และการลงทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่บริษัทเทคโนโลยีที่ทำอยู่ตอนนี้ จะทำให้บริษัทเทคโนโลยีเติบโตตลอดช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจใหม่

ข้อมูลเชิงลึกด้านทาเลนท์ทาเลนท์เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ในด้านการดำเนินงาน ซึ่งกระตุ้นให้บริษัทเทคโนโลยีปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงาน โดยซีอีโอร้อยละ 67 เห็นว่าพนักงานของตนจะทำงานจากระยะไกลหรือไฮบริดอย่างเต็มที่ในอนาคต เทียบกับเพียงร้อยละ 35 ในอุตสาหกรรมอื่น โดยมุมมองดังกล่าวมีความหมายต่อบริษัทเทคโนโลยีดังนี้

  • ยอมรับวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน: เนื่องจากบางอุตสาหกรรมและองค์กรบางแห่งมีแผนให้พนักงานกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ซีอีโอเทคจะต้องพัฒนาโครงสร้างการทำงานที่เหมาะสมกับพนักงานของตน การรับฟังอย่างกระตือรือร้น การสื่อสารด้วยความเห็นอกเห็นใจ และความมุ่งมั่นในการหาแนวทางที่เหมาะสมในระยะยาว จะเป็นกุญแจสำคัญในการมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่พนักงาน ที่จะช่วยลดความเหนื่อยล้า และรักษาพนักงานที่มีทักษะให้อยู่กับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวเลือกการทำงานทางไกลนั้นมีส่วนช่วยขยายกลุ่มทาเลนท์ให้เพิ่มขึ้นเพราะสามารถทำงานได้จากหลากหลายพื้นที่
  • หลีกเลี่ยงการการตัดสินใจระยะสั้นด้านจำนวนแรงงาน แม้ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ: ความสามารถทางปัญญาเป็นทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับบริษัทเทคโนโลยี ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ผู้นำจำเป็นต้องลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรระดับแนวหน้า ซึ่งบริษัทที่พิจารณาการลดจำนวนพนักงาน โดยการตัดสินใจในระยะสั้นเพื่อให้บุคลากรที่มีความสามารถออกจากบริษัทอาจส่งผลเสียในระยะยาว
  • ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาและรักษาทาเลนท์: การลงทุนของบริษัทเทคโนโลยีในเครื่องมือและแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นเองในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลตอบแทนทั้งในแง่ของผลผลิตและการทำงานร่วมกันของพนักงาน กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีเริ่มใช้เทคโนโลยีการทำงานอัตโนมัติได้อย่างไม่ลังเลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานด้านการทำรายการธุรกรรมต่างๆ ส่งผลให้พนักงานมีอิสระในการเพิ่มพูนทักษะเพื่อส่งมอบงานอื่นๆ ที่ใช้ความรู้เฉพาะทาง ซึ่งเป็นที่ต้องการสูงแต่ขาดตลาด ทั้งนี้เทคโนโลยีการทำงานอัตโนมัติสร้างโอกาสในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ การเข้าถึงเทคโนโลยี และการเติบโตในสายอาชีพ
  • อธิบายวัตถุประสงค์ธุรกิจ: วัตถุประสงค์ (Purpose) ของธุรกิจถูกมองว่าเป็นตัวสร้างความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ โดยซีอีโอเทคร้อยละ 75 เชื่อว่าวัตถุประสงค์ขององค์กรจะมีความสำคัญต่อการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและการเสริมสร้างคุณค่าต่อพนักงานในองค์กรตลอดสามปีข้างหน้า

ข้อมูลเชิงลึกด้าน ESGESG เป็นสิ่งดีสำหรับธุรกิจ แต่ยังคงมีความท้าทายอยู่ โดยซีอีโอเทคร้อยละ 55 เห็นด้วยว่า ESG ช่วยปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านการเงิน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38 ในปีที่แล้ว โดยมุมมองดังกล่าวมีความหมายต่อบริษัทเทคโนโลยีดังนี้

  • ยอมรับความสำคัญของ ESG ต่อธุรกิจอย่างเปิดเผย: ซีอีโอเทคเห็นพ้องกันมากขึ้นว่า ESG ช่วยปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านการเงิน ซึ่งรวมถึงการรักษาทาเลนท์ การเสริมสร้างคุณค่าต่อพนักงาน การดึงดูดลูกค้าที่ภักดี และการเพิ่มทุน
  • อย่าละทิ้ง ESG ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย: การพิจารณาลดค่าใช้จ่ายด้าน ESG อาจเป็นเรื่องดึงดูดใจ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเป็นช่วงที่ควรพิจารณาแนวทาง ESG ในระยะยาวและเน้นความพยายามด้าน ESG เป็นสองเท่า ซีอีโอเทคที่รักษาสมดุลการดำเนินงานด้าน ESG ไว้ได้ ไม่เพียงแต่จะปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านการเงินเท่านั้น แต่จะได้รับความไว้วางใจมากขึ้นจากพนักงาน นักลงทุน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อีกด้วย
  • ลงทุนในเทคโนโลยีห่วงโซ่อุปทานแบบเรียลไทม์: บริษัทเทคโนโลยีควรเฝ้าระวังระบบห่วงโซ่อุปทานของตนอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ผู้นำด้านห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกกำลังเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นสองเท่า ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์ end-to-end แบบเรียลไทม์ เพื่อระบุจุดที่มีปัญหาเพื่อปรับปรุงตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า
  • พยายามวัดความก้าวหน้าและประสิทธิผลของ ESG: การเพิ่มการวัดผลและการกำกับดูแลเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและโปร่งใสมากขึ้นของ ESG เป็นหนึ่งในตัวเร่งกลยุทธ์ ESG ที่สำคัญที่สุดของบริษัทเทคโนโลยี ทั้งนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการทราบมากขึ้นว่าบริษัทต่างๆ มีส่วนช่วยเหลือสังคมอย่างไร และหน่วยงานกำกับดูแลได้กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร
  • สร้างการเชื่อมโยงที่แน่นแฟ้นระหว่างฟังก์ชันต่างๆ: ตัวอย่างองค์กรที่ยืดหยุ่นที่มีทีมงานภายในเชื่อมโยงกันอย่างดี มีส่วนช่วยให้ฝ่ายการเงินรู้ว่าทีม ESG กำลังทำอะไร จึงพิจารณาย้ายการรายงานผลด้าน ESG บางส่วนไปยังฝ่ายการเงินเพื่อให้การรายงานผลด้าน ESG มีความเข้มงวดและการควบคุมเช่นเดียวกับการรายงานทางการเงิน

"อุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม S-Curve ของประเทศไทยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยบริษัทเทคโนโลยีที่มุ่งมั่นในการรักษาบุคลากรรวมถึงการเพิ่มมูลค่าองค์กรด้วยการลงทุนด้านไซเบอร์และ ESG จะได้รับประโยชน์สูงสุดในระยะยาว" ศุภเชษฐ คุณาลักษณ์กุล หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคม เคพีเอ็มจี ประเทศไทยกล่าว

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: KPMG Technology Industry CEO Outlook

ที่มา: เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ