เวนเจอร์ โกลบอล ประกาศการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้ายและปิดการระดมทุนสำหรับสถานีส่งออกก๊าซพลาคไมน์ แอลเอ็นจี เฟสสอง

พุธ ๑๕ มีนาคม ๒๐๒๓ ๐๘:๑๐
การระดมทุนสำหรับเฟสสองมูลค่า 7.8 พันล้านดอลลาร์ เป็นการสิ้นสุดการระดมทุนสำหรับโครงการพลาคไมน์ แอลเอ็นจี มูลค่าราว 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาบริษัทออกหนังสือแจ้งให้ดำเนินการก่อสร้างเฟสสองต่อไปโครงการพลาคไมน์เฟสสองเป็นโครงการแรกที่บรรลุการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้ายในปี 2566 และคาดว่าจะเป็นแหล่งผลิตก๊าซแอลเอ็นจีใหม่แห่งต่อไปในอเมริกาเหนือเวนเจอร์ โกลบอล แอลเอ็นจี (Venture Global LNG) ได้ประกาศการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (Final Investment Decision หรือ FID) และการบรรลุความสำเร็จในการปิดระดมทุนมูลค่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สำหรับเฟสสองของโครงการสถานีส่งออกก๊าซพลาคไมน์ แอลเอ็นจี (Plaquemines LNG) โดยโครงการเฟสแรกและเฟสสองคว้าเงินลงทุนรวมกันราว 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ นับเป็นโครงการระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทั้งนี้ เงินที่ได้จากการระดมทุนด้วยการกู้ยืมและการออกหุ้นรอบล่าสุดจะนำไปใช้ในการก่อสร้างและการดำเนินงานเฟสสองของโครงการที่มีกำลังการผลิต 20 ล้านตันต่อปี และในโอกาสนี้ บริษัทได้ออกหนังสือแจ้งให้เคแซดเจวี (KZJV) ดำเนินการก่อสร้างต่อในเฟสสอง

"เวนเจอร์ โกลบอล ภูมิใจที่ได้ประกาศการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้ายสำหรับโครงการพลาคไมน์ แอลเอ็นจี เฟสสอง ภายในเวลาไม่ถึง 10 เดือนหลังจากปิดระดมทุนในเฟสแรก" คุณไมค์ ซาเบล (Mike Sabel) ซีอีโอของเวนเจอร์ โกลบอล แอลเอ็นจี กล่าว "ความสามารถของบริษัทในการดำเนินการเชิงพาณิชย์ การจัดหาเงินทุน และการสร้างโครงการของเราในตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก เป็นเครื่องยืนยันถึงวินัยและความสามารถในการปฏิบัติงานของเราซึ่งเป็นที่ประจักษ์แล้ว ผมขอขอบคุณลูกค้า ผู้ปล่อยกู้ ที่ปรึกษา พันธมิตรด้านการก่อสร้าง และพันธมิตรในรัฐลุยเซียนาสำหรับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทีมงานของเราจะดำเนินภารกิจต่อไปในการส่งออกก๊าซแอลเอ็นจีที่สะอาดและต้นทุนต่ำของสหรัฐอเมริกาไปสู่ตลาดโลกในหลายปีต่อจากนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก"

สถานีส่งออกก๊าซพลาคไมน์ แอลเอ็นจี ได้รับใบอนุญาตที่จำเป็นทั้งหมดแล้ว ซึ่งรวมถึงใบอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (FERC) และใบอนุญาตส่งออกไปนอกเขตการค้าเสรี (non-FTA export) จากกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา สำหรับลูกค้าของโครงการพลาคไมน์ แอลเอ็นจี เฟสสอง ประกอบด้วยเอ็กซอนโมบิล (ExxonMobil), เชฟรอน (Chevron), เอนบีวี (EnBW), นิว ฟอร์เทรสส์ เอเนอร์จี (New Fortress Energy), ปิโตรนาส (PETRONAS), ไชน่า ก๊าซ (China Gas) และ เอ็กซ์เซอเลอเรท เอเนอร์จี (Excelerate Energy) นอกจากนี้ เวนเจอร์ โกลบอล กำลังเจรจากับลูกค้าของสถานีส่งออกก๊าซแห่งที่สามของบริษัท นั่นคือ ซีพี2 แอลเอ็นจี (CP2 LNG) โดยได้มีการลงนามข้อตกลงซื้อขายก๊าซร่วมกับเอ็กซอนโมบิล, เชฟรอน, เอนบีวี, อินเพ็กซ์ (INPEX), ไชน่า ก๊าซ และนิว ฟอร์เทรสส์ เอเนอร์จี ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สำหรับผู้ปล่อยกู้ในโครงการนี้ประกอบด้วยธนาคารชั้นนำของโลกหลายแห่ง โดยผู้ปล่อยกู้ในรอบปิดการระดมทุนประกอบด้วย บีบีวีเอ (BBVA), บังโก ซันตันเดร์ (Banco Santander), แบงก์ ออฟ อเมริกา (Bank of America), แบงก์ ออฟ ไชน่า (Bank of China), ไกชา แบงก์ (Caixa Bank), ดอยช์ แบงก์ (Deutsche Bank), โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs), ไอซีบีซี สแตนดาร์ด (ICBC Standard), ไอเอ็นจี (ING), เจพีมอร์แกน เชส (J.P. Morgan Chase), แอลบีบีดับเบิลยู (LBBW), มิซูโฮ (Mizuho), เอ็มยูเอฟจี (MUFG), เนทิซิส (Natixis), รอยัล แบงก์ ออฟ แคนาดา (Royal Bank of Canada), ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ เอสเอ็มบีซี (Sumitomo Mitsui Banking Corporation หรือ SMBC), แบงก์ ออฟ โนวาสโกเทีย (The Bank of Nova Scotia), เวลส์ ฟาร์โก แบงก์ (Wells Fargo Bank), เนชันแนล แบงก์ ออฟ แคนาดา (National Bank of Canada), เคเอฟดับเบิลยู ไอเพ็กซ์-แบงก์ (KfW Ipex-Bank), เฮลาบา (Helaba), ดีแซด แบงก์ (DZ Bank) และ รีเจียนส์ แบงก์ (Regions Bank)

ทั้งนี้ ไอเอ็นจี, ซันตันเดร์, มิซูโฮ, สโกเทีย และเอสเอ็มบีซี ทำหน้าที่เป็นธนาคารผู้ดูแลการจัดกลุ่มเงินกู้ (Lead Bank) ให้กับเวนเจอร์ โกลบอล ในการทำธุรกรรมครั้งนี้ ขณะที่เลแธม แอนด์ วัตกินส์ แอลแอลพี (Latham & Watkins LLP) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับเวนเจอร์ โกลบอล โดยมีสแคดเดน อาร์ปส์ สเลท มีเกอร์ แอนด์ ฟลอม แอลแอลพี (Skadden, Arps, Slate, Meagher & Flom LLP) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ปล่อยกู้

เกี่ยวกับเวนเจอร์ โกลบอล
เวนเจอร์ โกลบอล (Venture Global) คือผู้จัดจำหน่ายก๊าซแอลเอ็นจีต้นทุนต่ำในระยะยาวจากแหล่งก๊าซธรรมชาติในอเมริกาเหนือที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ โดยแคลคาชูพาส (Calcasieu Pass) ซึ่งเป็นสถานีส่งออกก๊าซแอลเอ็นจีแห่งแรกของบริษัท เริ่มผลิตก๊าซแอลเอ็นจีในเดือนมกราคม 2565 ขณะเดียวกัน บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือพัฒนาสถานีส่งออกก๊าซหลายแห่งในรัฐลุยเซียนา ซึ่งมีกำลังการผลิตรวม 60 ล้านตันต่อปี เพื่อส่งออกพลังงานสะอาดในราคาย่อมเยาไปทั่วโลก นอกจากนี้ บริษัทกำลังพัฒนาโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ในสถานีส่งออกก๊าซแอลเอ็นจีแต่ละแห่งของบริษัทด้วย

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/2031724/venture_Logo.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ