"โวดาแคช" และ "แอคเซส แบงก์" พร้อมให้บริการสินเชื่อเงินด่วนในคองโก โดยใช้โซลูชันของ "อ็อพเทเชีย"

พฤหัส ๑๖ มีนาคม ๒๐๒๓ ๑๐:๐๗
อ็อพเทเชีย (Optasia) ผู้ให้บริการฟินเทคระดับชั้นนำ มีความยินดีที่จะประกาศว่า โวดาแคช (VodaCash) บริษัทในเครือโวดาคอม คองโก (Vodacom Congo) และธนาคารแอคเซส แบงก์ (Access Bank) จะใช้ขีดความสามารถของแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อส่งมอบโซลูชันการปล่อยกู้วงเงินขนาดเล็ก (Micro Lending) ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

บริการเบิกเงินเกินบัญชีหรือการปล่อยกู้วงเงินขนาดเล็กซี่งมีอ็อพเทเชียอยู่เบื้องหลังนั้น จะเปิดบริการในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกผ่านโวดาแคช ภายใต้ชื่อแบรนด์เอ็ม-เปซา (M-Pesa) และร่วมกับธนาคารแอคเซส แบงก์ ในฐานะพันธมิตรทางการเงิน ภายใต้ชื่อทางการค้า เอ็ม-เปซา ลาลงจ์ (M-Pesa Rallonge) ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานเอ็ม-เปซาประมาณ 6 ล้านคนทั่วประเทศ เอ็ม-เปซา ลาลงจ์ เป็นบริการใหม่สำหรับผู้ใช้เอ็ม-เปซา ที่มียอดเงินคงเหลือเป็นศูนย์หรือไม่เพียงพอ ผู้ใช้งานจะได้รับประโยชน์จากบริการดังกล่าว เพื่อขอรับเงินเบิกเกินบัญชีทันที และเติมยอดคงเหลือเพื่อดำเนินธุรกรรมตามเป้าหมาย

บริการนี้จะช่วยยกระดับการเข้าถึงบริการทางการเงินและขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเปิดช่องทางการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ส่งผลกระทบเชิงบวกโดยตรงต่อประชาชนที่ได้รับบริการแต่ไม่ครอบคลุม (underbanked) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยของแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของอ็อพเทเชีย และส่งมอบโซลูชันที่ใช้งานง่ายแก่สมาชิก

"การใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มชั้นเลิศที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของอ็อพเทเชียมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้พันธมิตรของเราทั่วโลกนำไปยกระดับบริการของตน" มาร์ค มูลเลอร์ (Mark Muller) ซีอีโอของอ็อพเทเชีย กล่าว "เรามีความยินดีที่จะช่วยให้ผู้คนในคองโกสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านพันธมิตรที่มีชื่อเสียงอย่างโวดาแคช และธนาคารแอคเซส แบงก์"

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นตลาดใหม่ของอ็อพเทเชีย ซึ่งปัจจุบันทำธุรกิจอยู่ในกว่า 30 ประเทศ โดยส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคกำลังพัฒนาซึ่งการเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นเรื่องสำคัญแต่ยากที่จะทำได้ โซลูชันและความสามารถรอบด้านจากแพลตฟอร์มที่นำโดย AI อันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ทำให้อ็อพเทเชียสนับสนุนประชาชนที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินได้ โดยช่วยให้พวกเขาเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ก่อนหน้านี้เข้าถึงไม่ได้

เกี่ยวกับอ็อพเทเชีย

อ็อพเทเชีย (Optasia) ซึ่งเดิมชื่อแชนแนล วีเอเอส (Channel VAS) เป็นแพลตฟอร์มขั้นสูงที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยให้สามารถเข้าถึงโซลูชันทางการเงินได้ทันทีสำหรับประชาชนและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่ได้รับบริการแต่ไม่ครอบคลุมหลายล้านรายในกว่า 30 ประเทศ โดยส่วนใหญ่อยู่ในตลาดเกิดใหม่ รูปแบบธุรกิจ B2B2X (ธุรกิจกับธุรกิจกับลูกค้าและ SME) ของอ็อพเทเชีย สร้างคุณค่าแก่พันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ ผู้ให้บริการเงินผ่านมือถือ ธนาคาร และช่องทางการชำระเงิน ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ ยกระดับประสบการณ์ลูกค้า และสนับสนุนการรักษาลูกค้า ไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหรือทุนเพิ่มเติม กลไกข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วย AI และอัลกอริทึมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทจะวิเคราะห์ข้อมูลทางเลือกจากอุปกรณ์เคลื่อนที่และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อรองรับการตัดสินใจด้านสินเชื่อที่เกี่ยวข้องในทันทีแก่พันธมิตร ความสามารถเหล่านี้ช่วยให้มีการปล่อยกู้วงเงินขนาดเล็ก เวลาสื่อสารทางอากาศ และดาต้าล่วงหน้า ผ่านกระเป๋าเงินมือถือ ซิมการ์ด และสภาพแวดล้อมดิจิทัลอื่น ๆ

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/2032867/Optasia_Logo.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ