ม.มหิดลเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม "APAIE 2023 Bangkok" เพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน

พฤหัส ๑๖ มีนาคม ๒๐๒๓ ๑๓:๔๕
ประเทศไทยกำลังเป็นที่ยอมรับในความโดดเด่นด้านเศรษฐกิจ และการศึกษาในเวทีโลก จากเมื่อ "โมเดล BCG" ของไทยได้รับการเสนอให้ใช้ในการขับเคลื่อนกลุ่มผู้นำเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ที่มาร่วมประชุม ณกรุงเทพมหานคร เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา

และในปี พ.ศ. 2566 นี้ที่ประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับความไว้วางใจจากสมาคมการศึกษานานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก (The Asia - Pacific Association for International Education - APIAE) ให้เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดประชุม "APAIE 2023 Bangkok"

โดยมีผู้นำ และบุคลากรทางการศึกษากว่า 2,700 รายจากทั่วโลกมารวมอยู่ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) ระหว่างวันที่ 13 - 17 มีนาคม 2566 เพื่อร่วมค้นหาหนทางสู่การศึกษาที่ยั่งยืนในอนาคต ภายใต้แนวคิด "Towards a Sustainable Future for International Education in the Asia Pacific"

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับในฐานะที่มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติ "APAIE 2023 Bangkok" ว่า ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญของผู้นำและบุคลากรทางการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ได้มาร่วม "ระดมสมอง" สู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs) แห่งสหประชาชาติให้ได้ในภายในปี พ.ศ. 2573

แม้การศึกษาที่เท่าเทียม (Quality Education) ตาม SDG4 จะเป็น "รากฐานสำคัญ" สู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติทั้ง 17 ข้อ แต่ก็ไม่อาจทำให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างแท้จริงหากขาด "การแบ่งปัน" (Contribution) ซึ่งจะเป็นความหวังสู่ทางรอดของมวลมนุษยชาติ และสร้างความเชื่อมั่นสู่การหลอมรวมให้กลายเป็น "พลัง" เพื่อพร้อมฝ่าฟันในทุกอุปสรรคในอนาคต

ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ "เสาหลัก" ของประเทศ "ขับเคลื่อน" ชุมชน จากการมุ่งให้ความสำคัญต่อการส่งเสริม "ทุนปัญญา" (Knowledge Capital) และ "ทุนมนุษย์" (Human Capital) โดย "ไม่ทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง"

ดังเมื่อ 4 ปีก่อนที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ ได้เข้าร่วมการประชุม "APAIE 2019 Kuala Lumpur" แล้วได้ให้คำมั่นสัญญาว่าพร้อมที่จะทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้เป็นสถาบันผู้นำแห่งการส่งเสริมความเท่าเทียมเพื่อลดความต่าง (Inclusiveness) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเปราะบาง และความหลากหลายแห่งเพศสภาวะ

ไม่ว่าจะกี่ปีผ่านไป มหาวิทยาลัยมหิดลยังคงพร้อมทำหน้าที่"ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานฯ ดูแลประชาชนทั้งในประเทศ และภูมิภาคฯ ให้เกิดความสันติสุข (Peace) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Prosperity) และความยั่งยืน(Sustainability)

และจากพลังอันแข็งแกร่งที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเครือข่ายทางการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก "APAIE 2023" นี้เชื่อมั่นว่าจะเป็นแรงผลักดันให้พร้อมก้าวสู่ความสำเร็จของการศึกษายั่งยืนของโลกได้ตามเป้าหมายต่อไปในอนาคต

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

ข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ