ซึ่งได้รับการตอบรับจากเยาวชนทั่วประเทศและส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ จำนวนมาก โดยผลงานเรื่อง "ร้อยเอ็ดสถานที่แห่งความทรงจำ" จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คว้ารางวัลชนะเลิศ พร้อมโล่เกียรติคุณ และเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท ไปครอง สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล, รองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 2 รางวัล, รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล และรางวัล Popular Vote จำนวน 1 รางวัล รวมทั้งสิ้น 7 รางวัล เงินรางวัลรวมมูลค่า 200,000 บาท
นายอิทธิพล คุณปลื้ม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมและกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกันจัดทำโครงการ สร้างสรรค์ไทย (Creative Thai) ขึ้นเป็นปีที่ 2 เนื่องจากได้ผลการตอบรับจากเด็กและเยาวชนจากการจัดโครงการฯ ในปีแรกอย่างล้นหลาม ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีที่เด็กและเยาวชนให้ความสนใจ และตระหนักถึงการสร้างสรรค์สื่อไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างค่านิยม จิตสำนึกให้คนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หรือ Soft Power
โดยนำผลงานมาเผยแพร่ผ่านสื่อที่ทันสมัย เข้าถึงได้ง่ายในรูปแบบของคลิปวิดีโอ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการนำต้นทุนทางวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่มาช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากชุมชนผ่านสื่อดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรริเริ่มปลูกฝังวัฒนธรรมทางความคิดที่ดีงาม ถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่ยังเป็นเด็กและเยาวชน
ดร.ธนกร ศรีสุขใส กล่าวว่า การจัดประกวดโครงการ สร้างสรรค์ไทย 2 (Creative Thai) ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 - วันที่ 20 มกราคม 2566 โดยโครงการฯ มีเป้าประสงค์ที่จะเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้รับการส่งเสริมการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการสร้างความตระหนักรู้ในวัฒนธรรมอันดีงามของคนในชุมชน สังคม และเพื่อรณรงค์เสริมสร้างค่านิยม จิตสำนึกให้คนในสังคมเห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรม ทั้งภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible cultural heritage) หรือมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (Tangible cultural heritage) รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัฒนธรรม ในรูปแบบการจัดประกวดคลิปสื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีโอกาสนำของดีหรือเรื่องเล่าภายในแต่ละชุมชนไปต่อยอดผ่านกระบวนการบอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมของชุมชนและสังคม ในรูปแบบของการผลิตสื่อวีดิทัศน์ หรือคลิปวิดีโอ นำมาเผยแพร่อย่างสร้างสรรค์ สร้างความตระหนักรู้ในวัฒนธรรมอันดีงาม และต่อยอดวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ระดับชาติและระดับนานาชาติต่อไป
ทั้งนี้มีชิ้นงานเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 116 ผลงาน โดยตลอดระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ ได้มีการจัดอบรมบทเรียนอิเล็กทรอนิคส์ (e-learning) หลักสูตรการผลิตสื่อวีดิทัศน์ ผ่านระบบออนไลน์ จากวิทยากรสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น การผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, เสน่ห์วัฒนธรรม, การสร้างสรรค์บท, การคัดสรรเลือกสรรและตัดต่อ มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีคุณภาพ และตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมทำการตัดสินคัดเลือกผลงาน จนได้ผู้ชนะการประกวดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งสิ้น 7 รางวัล พร้อมรับโล่รางวัลจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เงินรางวัลรวม 200,000 บาท ดังนี้
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัลๆ ละ 50,000 บาทพร้อมโล่รางวัล ได้แก่ ผลงานชื่อ "ร้อยเอ็ดสถานที่แห่งความทรงจำ" จากทีมฮาโหลววว PRODUCTION ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัลๆ ละ 40,000 บาท ได้แก่ ผลงานชื่อ "ซิ่นน่าน…ผ่านกาลเวลา"
จากทีม NAN FOREVER ภาคเหนือ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 2 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท ได้แก่ ผลงานชื่อ "ย่านอยู่เย็น สายธารชีวิต เศรษฐกิจที่รุ่งเรือง" จากทีม นักสืบสานภูมิปัญญาPRC ภาคเหนือ
และผลงานชื่อ "ชาวอุบล" จากทีมมิดมี่ โปรดักส์ชั่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท ได้แก่ ผลงานชื่อ "มนต์เสน่ห์ แห่งชาติพันธุ์กะเหรี่ยง" จากทีมเย่อ-เม่-เกอะ-ญอ-โพ (ฉันเรียกตัวเองว่า ปว่าเกอะญอ) ภาคเหนือ
และ ผลงานชื่อ บ้านผมเรียกว่า "ซามารอเด็ง" จากทีมห้องแห่งความลับ ภาคใต้
และ รางวัล Popular Vote จำนวน 1 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท ได้แก่ ผลงานชื่อ "ย่านอยู่เย็น สายธารชีวิต เศรษฐกิจที่รุ่งเรือง" จากทีม นักสืบสานภูมิปัญญาPRC ภาคเหนือ
สามารถรับชมผลงานการผลิตคลิปวิดีโอส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นในหัวข้อ "เยาวชนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรม" ภายใต้โครงการ สร้างสรรค์ไทย 2 (Creative Thai) และติดตามข่าวสารและกิจกรรมประกวดต่าง ๆ ของโครงการ ผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และเฟซบุ๊กเพจ : สร้างสรรค์ไทย หรือเพิ่มเพื่อนผ่านไลน์แอด: @creativethai
ที่มา: ฟาสเทอร์ อแวร์เนส