ความร่วมมือนี้ครอบคลุมการพัฒนาการบริการและการรักษาทางทันตกรรมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยในการวินิจฉัยโรค และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และวัสดุชั้นสูง (Advanced Material) โดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ (Robotics) ของ ปตท. ผนวกกับความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และการบริการทางทันตกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรคทางทันตกรรมได้อย่างแม่นยำ และเพิ่มโอกาสให้คนไทยได้เข้าถึงการแพทย์สมัยใหม่ที่สะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางทันตกรรม ให้เป็นต้นแบบนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานการแพทย์ของประเทศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกด้วย
ที่มา: ปตท.