ทำไม Passion ถึงมีสำคัญต่อความสำเร็จต่อ ดร. ศรีกัญญา ยาทิพย์
Passion คืออะไร? ถ้าให้แปลง่ายๆ คำว่า Passion คือ ความหลงใหล, กิเลส, ความลุ่มหลงม, ความกระตือรือร้น, การมีใจรักในอะไรสักอย่าง หรือแรงผลักดันเราให้ทำในสิ่งที่เราต้องการ ชอบ ปราถนาให้สำเร็จรุล่วง ส่วนใหญ่คนที่ประสบความสำเร็จ จะใช้คำว่า Passion เป็นตัวขับเคลื่อนให้มีความพยายาม และค้นพบความสำเร็จของชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการ
อย่าง Passion is an intense emotion compelling feeling, enthusiasm, or desire for something หมายถึง ความปรารถนาอันแรงกล้าของคนๆ หนึ่งเพื่อต้องการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทำให้เราตื่นเช้าขึ้นมาอย่างมีพลังในหัวใจพร้อมจะทำสิ่งนั้น (ไม่ใช่ตื่นมาแล้วไร้ซึ่งจุดหมาย) เพราะเรารักที่จะทำมัน และทำต่อไปอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยจนกว่าความฝันของเราจะเป็นจริงนั้นเอง
ภารกิจที่มุ่งมั่นอยากทำให้สำเร็จ ของ ดร. ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ กบข.
ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2563 เป็น เลขาธิการ กบข คนใหม่ ผู้บริหาร กบข แม้จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์การ ทำงาน กบข. มาเป็นระยะเวลากว่าสิบปี แต่การเข้ารับตำแหน่งในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทั่วโลกจากวิกฤตโควิด-19 ดูจะยิ่งท้าทายมากยิ่งขึ้น
ซึ่งโจทย์เป้าหมายหลักของการเข้ามารับตำแหน่งในครั้งนี้ คือการสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่สมาชิก กบข. แล้ว ภารกิจที่ท้าทายไม่แพ้กันคือ การวางรากฐานอันแข็งแกร่งด้วยการสร้างความเชื่อมั่นจากภายในองค์กร กบ ข. เองด้วย และสร้างความไว้วางใจให้กับ Stakeholder ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการ สมาชิก รวมถึงสื่อมวลชน ต่างๆ
"ถ้าพูดในมุมผู้บริหารที่เข้ามารับตำแหน่งในองค์กรที่ไม่คุ้นเคย ความท้าทายคือ จะทำอย่างไรให้ผลตอบแทนการลงทุนดี เนื่องจากผลตอบแทนการลงทุนเป็น Core Value ที่ต้องทำให้กับสมาชิก แต่เพื่อให้สำเร็จจริงๆ อย่างยั่งยืน ต้องทำที่ตัวองค์กรด้วย นี่เป็นความท้าทายที่เราอยากทำให้สำเร็จ ซึ่งถ้าไม่มี Passion มาช่วยผลักดันเราในทุกๆ วัน เราก็อาจจะยอมแพ้ต่ออุปสรรคไปแล้ว
ภารกิจที่มุ่งมั่นอยากทำให้สำเร็จอันดับแรกเลยก็คือ การสร้างความไว้วางใจกับทุก Stakeholders ของ กบ ข. ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการต่างๆ สมาชิก รวมถึงสื่อมวลชน เพราะพอเรารับตำแหน่งแน่นอนมีหลายคนที่ยังไม่ได้ไว้ใจเรา ไม่เชื่อในฝืมือ และยิ่งเราทำงานทางด้านกองทุนที่เราต้องเชิญชวนให้ลูกค้าเข้ามาเป็นสมาชิกความไว้ใจเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว หรือเรียกง่ายๆ ว่ายังไม่รู้จักกันจะชวนเขามาร่วมกับเราได้อย่างไร เราต้องทำลายกำแพงตรงนี้ก่อน โดยใช้คอนเซปต์ 'In GPF We Trust-ไว้ใจใน GPF'
เป้าหมายแรก ของ ดร. ศรีกัญญา ผู้บริหาร กบข สร้างความไว้ใจด้วย In GPF WE TRUST
คำว่าไว้ใจใน กบข. คือทุกคนต้องไว้วางใจซึ่งกันและกัน พนักงานต้องไว้วางใจผู้บริหาร ผู้บริหารต้องไว้วางใจพนักงาน สมาชิกต้องไว้วางใจองค์กร ดังนั้น คำว่า Trust คือ ภายใต้ผลตอบแทนในแต่ละปีฝ่าย เราอยากให้สมาชิกเชื่อมั่นว่าเราทำดีที่สุด ให้เห็นถึงความพยายามที่ตั้งใจอยากให้สมาชิกทุกคน นอกจากรายได้ เงินเดือน พนักงาน กบข ที่ได้ในทุกๆ เดือนแล้ว เราก็อยากให้เขาได้ตอบแทนที่ดีด้วย เป็นการลงทุนที่ดี และ Win Win ทั้ง 2 ฝ่าย แม้จะเป็นผลตอบแทนที่ยังไม่ถูกใจ แต่เราก็อยากให้เชื่อใจว่าเราทำเต็มที่ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ ข้างในองค์กรต้องแข็งแรงจึงจะสร้างความเชื่อมั่นได้ ต้องปรับวิธีคิด วิธีทำงาน ความยากต่อจากนั้นคือ ต้องรักษามาตรฐานเอาไว้ให้ได้"
"เรามีสโลแกนที่พูดกับพนักงานตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานคือ In GPF WE TRUST ซึ่ง we มีความหมาย 2 กลุ่ม ได้แก่ พนักงานในองค์กรต้อง trust กันเอง โดย Stephen Covey เขียนหนังสือบอกว่า ถ้ามี trust ในที่ทำงานจะทำให้ speed เร็วขึ้น และ cost ต่ำลง หมายความว่า ไม่ใช่แค่ฉันไว้ใจเธอในคอนเซ็ปต์ทั่วไป แต่หมายถึงฉันไว้ใจเธอว่าเธอจะทำงานให้ดีที่สุดประสิทธิภาพสูงสุดให้กับองค์กร
ส่วน we อีกความหมายคือ สมาชิก trust กบข. ดังนั้นทุกอย่างต้องโปร่งใสและต้องสื่อสารให้เข้าใจได้" เลขาธิการ กบข. ปิดท้ายถึงนิยามความสำเร็จที่เริ่มตั้งแต่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร และความโปร่งใสในการทำงานที่สื่อสารถึงภายนอกองค์กรเพื่อสร้างความเชื่อมั่นอย่างยั่งยืนในระยะยาว
เพราะนอกจากความเชื่อใจแล้ว ดร. ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ กบข. ยังบอกอีกว่าเราคือทีมเดียวกัน ต้องลงไปพูดคุยช่วยคิดกลยุทธ์กับผู้บริหาร หรือพนักงานทุกคน ให้เกิดความรู้สึกร่วมในการทำงาน มีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มทำแผนจนแผนสำเร็จเสร็จสิ้น เข้าไปรู้ในทุกปัญหา ปฏิวัติแนวคิดจาก 'ผู้บริหารรู้ดีทุกเรื่อง ต้องเอาใจ สั่งเก่ง' มาเป็น 'ผู้บริหารและพนักงานคิดแผนด้วยกัน ทำงานด้วยกัน'
ที่มา: PRMANIA