เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ผนึกกำลังพันธมิตรอุตสาหกรรมทั่วโลก ผลักดันแผนกลยุทธ์ในการควบคู่และสนับสนุนพลังงาน

ศุกร์ ๒๔ มีนาคม ๒๐๒๓ ๑๓:๒๙
ในปี 2565 กำลังผลิตพลังงานลมนอกชายฝั่งที่เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ติดตั้งใหม่ในจีน ครองอันดับหนึ่งเหนียวแน่น 8 ปีซ้อนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบโฟโตเทอร์มัลของดูไบ ที่สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือกับเอซีดับบลิวเอ พาวเวอร์ ได้ดำเนินมาถึงขั้นตอนการก่อสร้างที่สำคัญแล้วเตรียมวางแผนผลิตอุปกรณ์ผลิตไฮโดรเจนด้วยน้ำอิเล็กโทรไลต์แบบใหม่ด้วยเช่นกันเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก (Shanghai Electric) (SEHK: 2727, SSE:601727) เดินหน้าส่งเสริมการสำรวจและดำเนินการตามกลยุทธ์สนับสนุนพลังงานหลากหลายรูปแบบซึ่งอาศัยการจัดเก็บไฮโดรเจนที่บูรณาการกับที่มา-กริด-โหลด บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะแผ่ขยายขอบเขต "การบูรณาการพลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานความร้อน และการจัดเก็บ" และ "การบูรณาการแหล่งกักเก็บไฮโดรเจนกับที่มา-กริด-โหลด" ผ่านนวัตกรรมและการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ พร้อมยกระดับและนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางอุตสาหกรรมมาใช้ กรอบกลยุทธ์การทำงานนี้จะพิจารณาเป้าหมายการพัฒนาซัพพลายพลังงานที่มีเสถียรภาพในระยะสั้น และการสร้างสังคมคาร์บอนปลอดศูนย์ในระยะกลางและระยะยาว

เมื่อขาดแผนที่ครอบคลุมและเป็นระบบแล้ว มาตรการต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่มักกระจัดกระจายออกเป็นส่วน ๆ ทำให้ความพยายามในการกำจัดคาร์บอนอย่างลึกซึ้งนั้นอยู่ในวงจำกัด โดยคุณเล้ง เว่ยฉิง (Leng Weiqing) ประธานกลุ่มบริษัทเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวไว้ในข้อเสนอระหว่างการประชุมสองสภา (Two Sessions) ประจำปี 2566 ว่า "เราควรเร่งสร้างระบบและกลไกที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในหมู่ผู้ให้บริการพลังงานและหน่วยงานต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนยกเลิกกำแพงนโยบายที่ขวางกั้นไม่ให้องค์กรเหล่านั้นจัดตั้งความร่วมมือในการลดคาร์บอนร่วมกันได้"

ในการนี้ เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก จึงได้ร่วมงานกับองค์กรต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรมทั่วเอเชีย จีน ตะวันออกกลาง ซาอุดีอาระเบีย รวมถึงประเทศและภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อเร่งการดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าว

พลังงานลมนอกชายฝั่งในจีน

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัทเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก วินด์ พาวเวอร์ (Shanghai Electric Wind Power) มีโครงการพลังงานลมนอกฝั่งที่ติดตั้งใหม่มากที่สุดในจีน ครองตำแหน่งสูงสุดติดต่อกัน 8 ปีซ้อนด้วยความสามารถในการผลิตพลังงานสะอาดรวม 7.05 กิกะวัตต์ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และเมื่อไม่นานมานี้ บริษัทได้เข้ามามีบทบาทในการก่อสร้างโครงการวิจัยและสาธิตอุปกรณ์โรงไฟฟ้าพลังงานลมผสมผสานการทำฟาร์มประมงโครงการแรกของจีน ทำให้บริษัทได้รับรางวัลนวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงานลมลอยน้ำ ในการสัมมนาว่าด้วยการออกแบบโรงไฟฟ้าพลังงานใหม่และการคัดเลือกอุปกรณ์ (New Energy Power Plant Design and Equipment Selection Seminar) ครั้งที่ 7 ด้วยการสร้างความมั่นใจและรับรองความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของการออกแบบระบบอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ โครงการพลังงานลมนอกชายฝั่งต้าถัง หนานอ้าว เล่อเหมิน (Datang Nan'ao Lemen) ซึ่งบริษัทเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก วินด์ พาวเวอร์ มีส่วนร่วมด้วยนั้น ก็เพิ่งประกาศความสำเร็จในการผลิตไฟฟ้าเต็มรูปแบบนอกเหนือจากการออกแบบ โดยผลิตไฟฟ้าได้ 5,882,200 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อวัน สร้างสถิติใหม่ในการผลิตไฟฟ้าในวันเดียวนับตั้งแต่ที่โครงการนี้ดำเนินการจริง

โครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระดับนานาชาติ

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบโฟโตเทอร์มัลของดูไบ (Dubai Photothermal Photovoltaic Project) ที่สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือกับบริษัทเอซีดับบลิวเอ พาวเวอร์ (ACWA Power) ได้เข้าสู่การก่อสร้างในขั้นสำคัญ เพื่อเป็นความก้าวหน้าทางพลังงานสะอาดครั้งสำคัญ สำหรับการประชุมภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change) ครั้งที่ 28 ซึ่งจะจัดขึ้นในสหรัฐอาหรับเอมิเรตในช่วงปลายปี 2566 และจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสานต่อความร่วมมือในอนาคตในตะวันออกกลางในขอบข่ายที่มีการใช้พลังงานต่ำได้ อาทิเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานไฮโดรเจน และพลังงานใหม่ โครงการนี้เป็นแลนด์มาร์กสำหรับทั้งสองฝ่ายในการสานต่อความร่วมมือด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ลม ไฮโดรเจน และการใช้พลังงานต่ำอื่น ๆ และแหล่งพลังงานใหม่ ๆ ในตะวันออกกลาง นอกจากนี้แล้ว โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 91.54 เมกะวัตต์ ที่ตั้งอยู่ในปาเลาเคาน์ตี เมืองบราซอฟของโรมาเนีย ก็เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้ สัญญาดังกล่าวประกอบด้วยการจัดหาอุปกรณ์ การออกแบบ การก่อสร้าง การทดสอบการเดินเครื่อง และการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 91.54 เมกะวัตต์ ซึ่งจนถึงปัจจุบัน โครงการได้เสร็จสิ้นการออกแบบเบื้องต้นแล้วในส่วนของแผนผัง ถนนทางเข้า และสายเคเบิล และได้มีการลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างสำหรับชิ้นส่วนอุปกรณ์หลัก ตัวยึด อินเวอร์เตอร์ และอื่น ๆ

อุปกรณ์การผลิตไฮโดรเจนด้วยน้ำอิเล็กโทรไลต์รุ่นใหม่จะเข้าสู่แผนการผลิตในประเทศจีน

เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 ตัว คือ อุปกรณ์การผลิตไฮโดรเจนด้วยน้ำอิเล็กโทรไลต์อัลคาไลน์ ที่มีกำลังการผลิตไฮโดรเจนเดี่ยวที่ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และอุปกรณ์การผลิตไฮโดรเจนน้ำอิเล็กโทรไลต์ด้วยเชื้อเพลิงชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน (PEM) ที่มีกำลังการผลิตไฮโดรเจนเดี่ยว 50 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ผลิตภัณฑ์ทั้งสองนี้จะรวมอยู่ในเวิร์กช็อปการผลิตอัจฉริยะที่วางแผนไว้อย่างเป็นทางการเมื่อแล้วเสร็จ ซึ่งได้เร่งดำเนินการก่อสร้างแล้ว โดยการพัฒนานี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฮโดรเจนของจีน รวมทั้งต้นทุนอย่างมีนัยสำคัญ

"เราได้วางแผนกำลังการผลิตอัลคาไลน์อิเล็กโทรไลเซอร์ 500 เมกะวัตต์ในปี 2566 เทียบเท่ากับการผลิตอัลคาไลน์อิเล็กโทรไลเซอร์ขนาด 1,000 ตารางเมตร จำนวน 100 ชุด" อู๋ เหลียง (Wu Liang) รองหัวหน้าวิศวกรของเซี่ยงไฮ้ ไบรท์-เอช เทคโนโลยี (Shanghai Bright-H Technology) ซึ่งบริษัทเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก เป็นเจ้าของ กล่าว "และยังมีการวางแผนสายการผลิต PEM ขนาด 100 เมกะวัตต์ภายในปี 2568 ซึ่งสามารถผลิต PEM อิเล็กโทรไลเซอร์ขนาด 200 ตารางเมตรได้ 100 ชุด"

สถานะและการวางแผนทิศทางในอนาคตเกี่ยวกับการควบคู่ทางพลังงานแบบหลากหลาย และการสร้างระบบไฮโดรเจนที่บูรณาการแหล่ง-กริด-โหลด-พื้นที่จัดเก็บเข้าด้วยกัน

การควบคู่พลังงานแบบหลากหลายและการผสานรวมระบบไฮโดรเจน มีส่วนสำคัญในการสร้างระบบพลังงานคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืน การควบคู่พลังงานแบบหลากหลายได้ผสานรวมตัวนำพลังงานและระบบต่าง ๆ ในขณะที่การผสานรวมไฮโดรเจนจะรวมไฮไดรเจนเข้ากับระบบพลังงาน หลาย ๆ ประเทศลงทุนในระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (smart grid) โรงกักเก็บพลังงาน การผลิตไฮโดรเจนหมุนเวียน และโครงสร้างพื้นฐานตามกลยุทธ์เหล่านี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความยั่งยืน ความน่าเชื่อถือ ลดการปล่อยมลพิษ และเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งการลงทุนอย่างต่อเนื่องสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบพลังงานที่ยั่งยืนได้อย่างมีนัยสำคัญ

เกี่ยวกับเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก

บริษัท เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก กรุ๊ป จำกัด (Shanghai Electric Group Company Limited) (SEHK: 2727, SSE:601727) คือผู้นำระดับโลกด้านการจัดหาโซลูชันระบบอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระดับอุตสาหกรรมซึ่งดำเนินธุรกิจทั่วโลก บริษัททุ่มเทให้กับพลังงานอัจฉริยะ การผลิตอัจฉริยะ และการบูรณาการความฉลาดทางดิจิทัล นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคาร์บอนต่ำและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ด้วยการบุกเบิกภาคส่วนใหม่ ๆ และส่งเสริมกลไกขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ ๆ โดยมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการบรรลุเป้าหมายปล่อยคาร์บอนถึงเพดานสูงสุดภายในปี พ.ศ. 2573 ก่อนที่จะลดลงจนบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2603 รวมถึงในด้านการผลิตอุปกรณ์พลังงานใหม่ระดับไฮเอนด์ในท้องถิ่น โดยอาศัยโอกาสอันไร้ขอบเขตในระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยไปพร้อมกับพันธมิตรทั่วโลก

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2039623/image_1.jpg

คำบรรยายภาพ - กำลังการผลิตไฟฟ้าต่อวันของโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่งต้าถัง หนานอ้าว เล่อเหมิน ทำสถิติใหม่ในวันเดียว



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ