ซึ่ง วว. บูรณาการดำเนินงานร่วมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) ในโครงการส่งเสริมศักยภาพและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภายใต้แนวคิด "BCG Model" เป็นการช่วยลูกค้าในการปรับรูปแบบการผลิตให้ปลอดสารเคมี (Bio Economy) ใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบที่เหลือทิ้งจากการผลิต (Circular Economy) และกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ที่ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม (Green Economy) โดย วว. และพันธมิตรได้รับรางวัลนี้ติดต่อกันมาร่วม 3 ปี (ปี 2563-2565)
ในโอกาสเดียวกันนี้ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้มอบรางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น (CSR : ประเภทชมเชย) จากโครงการปรับวิถีการเกษตรสู่ Smart Farming ด้วยนวัตกรรม ให้แก่ผู้ว่าการ วว. ด้วย ในการนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริหาร นางสาวกาญจนา ทุมมานนท์ ผอ.สำนักผู้ว่าการ ร่วมแสดงความยินดี นับเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงของ วว. ในการบูรณาการดำเนินงาน เพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ เกษตรกร ให้มีความเข้มแข็ง เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน (ในวันที่ 24 มีนาคม 2566 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล)
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า การบูรณาการความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ของ วว. ธ.ก.ส. และ EXIM Bank ดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561-2565 เป็นการนำความสามารถที่เชี่ยวชาญมาร่วมกันเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ เกษตรกร ให้มีความเข้มแข็ง เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปภาคการเกษตร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ทั้งนี้ วว. ดำเนินการยกระดับผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐาน สนับสนุนมาตรฐานที่ต้องการ เช่น GAP, GMP, GFP, HACCP และให้คำปรึกษาเรื่องมาตรฐานสินค้า พร้อมทั้งต่อยอดในระยะยาวเพื่อความยั่งยืนร่วมกับ ธ.ก.ส. และ EXIM สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง อาทิ สถานการณ์โควิด-19 โดยใช้แนวคิด BCG Model เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่ไม่สามารถขายผลผลิตได้ การส่งออกสินค้าและการว่างงานของแรงงานคืนถิ่น โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มุ่งเน้นเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้ประกอบมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ จนมีความพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรในชุมชนโดยรอบ จากการสร้างงาน และสร้างรายได้ จนเกิดเป็นการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
สำหรับการดำเนิน โครงการปรับวิถีการเกษตรสู่ Smart Farming ด้วยนวัตกรรม ซึ่งได้รับรางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น (CSR) ประเภทชมเชยนั้น ผู้ว่าการ วว. กล่าวเพิ่มเติมว่า วว. ร่วมกับ หน่วยงาน Stakeholder ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนไม้ดอกไม้ประดับ เพิ่มมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ใน 3 กรอบแนวทาง คือ 1) ส่งเสริม Smart Farmer และสร้างอาชีพใหม่ โดยการสนับสนุนการปรับรูปแบบการเกษตร และการเพาะปลูกส่งเสริมการลดใช้สารเคมี 2) วิจัยและพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ลดต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการได้รับการรับรองมาตรฐาน และ 3) เพิ่มศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร การเป็นพี่เลี้ยงทางธุรกิจ การจับคู่ผู้ซื้อ ผู้ขาย และการขนส่ง จากการดำเนินงานมีผลผลิตและผลลัพธ์ คือ ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เกิดเกษตรกรไม้ดอกไม้ประดับต้นแบบ สร้างรายได้จากการขายไม้ดอกไม้ประดับและผลิตภัณฑ์แปรรูป
"... วว. มุ่งเน้นการสร้างสังคมนวัตกรรมร่วมกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันอย่างเกื้อกูลรวมถึงเป็นฐานต่อยอดเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตได้ในระยะยาว เพื่อบรรลุเป้าหมายตามภารกิจงานหลักของ วว. ตามแนวปฏิบัติที่ดีและครบถ้วนตามมาตรฐาน IS0 26000 ..." ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าว
วว. พร้อมให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ผู้ประกอบการ เกษตรกร สร้างความแข็งแกร่งเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการบริการ Total Solution เบ็ดเสร็จครบวงจร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 เว็บไซต์ www.tistr.or.th อีเมล [email protected]
นำเสนอข่าวโดย กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร วว. โทร. 0 2577 9360 E-mail : [email protected] Line@tistr IG : tistr_ig YouTube / TIKTOK : @tistr2506
ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย