กระดูกหักบริเวณมือ เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติของศัลยแพทย์กระดูก การยึดกระดูกมีวิธีการต่างๆที่หลากหลาย การใช้K-wireในแบบดั้งเดิม ซึ่งแม้จะมีใช้กันมานาน แต่ก็ต้องเข้าเฝือกร่วมด้วยทำให้ฟื้นตัวได้ช้าส่วนการใช้ Screw , Plate and Screw จนไปถึง Locked plate ที่มีราคาสูง วิธีเหล่านี้ต้องอาศัยการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้มือและนิ้วเกิดความชอกช้ำ นำไปสู่ความล่าช้าในการฟื้นตัวและการใช้งาน
ทั้งนี้ ศูนย์ผ่าตัดมือของโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาการยึดกระดูกด้วยวิธีที่ง่าย ได้ผลดี และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ มาโดยตลอดระยะเวลานับสิบปี การใช้ K-wire ซึ่งเป็นอุปกรณ์ยึดกระดูกที่มีราคาถูก เป็นการทำให้ค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยจะต้องรับภาระลดลง ลดการซื้อ Plate และ Screw ที่มีราคาสูงจากต่างประเทศ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังทำด้วยเทคนิคที่ไม่ต้องเปิดแผลผ่าตัด ทำให้การฟื้นตัวของการใช้งานของมือหลังการผ่าตัดกลับมาในระยะเวลาอันสั้น
ทางศูนย์ผ่าตัดมือเห็นว่าเทคนิคนี้มีประโยชน์สำหรับแพทย์และผู้ป่วยโดยทั่วไป จึงได้จัดโครงการฝึกอบรบเชิงปฏิบัติการขึ้น ในวันที่ 18 - 19 มีนาคม 2566
ที่มา: เดอะเวย์ คอมมิวนิเคชั่น