ฉะนั้นคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร จึงได้กำหนดมาตรฐานการจัดการตลาดกลางสินค้าเกษตรเพื่อให้มีการพัฒนาเกณฑ์คุณภาพและมาตรการควบคุมความปลอดภัยด้านอาหารของสินค้าเกษตร ดังนั้น มกอช. จึงได้จัดการสัมมนาระดมความเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง "การจัดการสำหรับตลาดกลางสินค้าเกษตร" เพื่อรับฟังความเห็นต่อร่างมาตรฐานจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้แทนกรมอนามัย ผู้แทนองค์การตลาด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้แทนผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การจัดการสำหรับตลาดกลางสินค้าเกษตร ให้เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย
ทั้งนี้ ร่างมาตรฐานดังกล่าวให้ข้อกำหนดการจัดการสำหรับตลาดกลางสินค้าเกษตรด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในระบบคุณภาพตามขอบข่ายที่กำหนดไว้ กรณีที่มีการกำหนดชนิดสินค้าเกษตรที่ต้องเป็นไปตามคุณภาพที่ตลาดกลางสินค้าเกษตรกำหนดไว้ต้องมีวิธีการจัดการดูแลคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อให้สินค้าเกษตรมีคุณภาพตามที่กำหนด และมีการกำหนดมาตรการควบคุมความปลอดภัยด้านอาหารบนพื้นฐานการวิเคราะห์อันตราย และควบคุมกระบวนการให้เป็นไปตามที่กำหนดสำหรับพื้นที่ทั่วไปและพื้นที่เฉพาะที่ได้รับรอง รวมทั้งให้ข้อมูลผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าเกษตรให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเกษตรเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยด้านอาหารและการจัดการข้อร้องเรียน ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานตลาดกลางสินค้าเกษตรของประเทศ สร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารของสินค้าเกษตร เพิ่มโอกาสทางการตลาดของสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐาน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทยในทางการค้าระหว่างประเทศ สอดคล้องตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ยุทธศาสตร์ชาติ "อย่างไรก็ดี มกอช. จะได้นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องไปปรับปรุงร่างและเสนอคณะกรรมการวิชาการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป"เลขาธิการ มกอช. กล่าว
ที่มา: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ