ประเภทประถมศึกษา จำนวน ๒ รางวัล ได้แก่
รางวัลชนะเลิศที่ ๑ เด็กหญิงพิมพ์ภัสกร วัฒนกุลวิวัฒน์ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) จังหวัดสุพรรณบุรีรางวัลอันดับที่ ๒ เด็กชายนาวี จันทร์ทอง นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนอนุบาลยะรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
ประเภท มัธยมศึกษา จำนวน ๒ รางวัล ได้แก่
รางวัลชนะเลิศที่ ๑ เด็กหญิงพิมพ์ลภัส รอดจำปา นักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๑ โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก
รางวัลอันดับที่ ๒ นางสาวภัทรฑิราภรณ์ แป้นแก้ว นักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๕ โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์
ประเภท อุดมศึกษา มี ๒ รางวัล ได้แก่
รางวัลชนะเลิศที่ ๑ นางสาวชนม์พศิน แก้วปราง นิสิตระดับชั้นปีที่ ๓ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
รางวัลอันดับที่ ๒ นายภูริณัฏฐ์ ก่อแก้ว นิสิตระดับชั้นปีที่ ๔ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประเภท ประชาชนทั่วไป มี ๓ รางวัล ได้แก่
รางวัลชนะเลิศที่ ๑ นายเกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง กรุงเทพมหานคร
รางวัลอันดับที่ ๒ นายธิรพงษ์ คงด้วง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รางวัลพิเศษ "เป็นกำลังใจให้บุคคคลทำความดี" ได้แก่ นางสาวพิมลนาฏ ไพบูลย์ จังหวัดระยอง
ซึ่งมีผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมารับรางวัลได้ด้วยตนเองมีจำนวน ๒ รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศที่ ๑ นายเกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง ประเภทประชาชนทั่วไป ติดภารกิจด่วนโดยให้น้องชายมาเป็นตัวแทนรับมอบ และ รางวัลพิเศษ นางสาวพิมลนาฏ ไพบูลย์ มีภารกิจดูแลคุณยายซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียง จึงขอให้อาจารย์กฤติญา กวีจารุกรณ์ คณะกรรมการจัดงานฯ รับมอบแทน
ทั้งนี้ ประธานมูลนิธิทรัพย์ปัญญา กล่าวว่า "โครงการประกวดเรียงความ หัวข้อ "คนดีของฉัน" ประจำปี ๒๕๖๖ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ คือ การส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย ส่งเสริมเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ และเป็นการกระตุ้นเตือนให้เชิดชูคนดีในสังคม ให้เกิดความภาคภูมิใจ ขณะเดียวกันมูลนิธิฯ ก็ต้องการรณรงค์ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ถูกต้อง ในการยกย่องเชิดชูคนดี ยึดมั่นในการทำความดี ซื่อสัตย์สุจริต เป็นคนดีในสังคมต่อไป
ทั้งนี้ ก็ต้องขอขอบคุณ ศาสตราจารย์ ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่สนับสนุนให้คณะนิเทศศาสตร์ เป็นคณะกรรมการดำเนินงานจัดการประกวดครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี และทางมูลนิธิทรัพย์ปัญญา จะนำเรียงความที่ได้รับรางวัลทั้งหมดตีพิมพ์ในวารสารของมูลนิธิทรัพย์ปัญญาต่อไปและจะมอบวารสารให้กับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกท่านด้วยครับ"
ทางด้าน คณะนิเทศศาสตร์ โดย ผศ.ดร.พนม วรรณศิริ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี(๙๓.๒๕F.M) ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัลการประกวดเรียงความ หัวข้อ "คนดีของฉัน" ได้กล่าวถึงการประกวดเรียงความฯ ว่า
" คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีบุคลากรและทรัพยากรในการผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสอดรับกับนโยบายของ ศาสตราจารย์ ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดี ที่ต้องการให้องค์กรเพื่อการศึกษาได้ส่งเสริมด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน และพร้อมสนับสนุนโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ดังนั้นการจัดงานครั้งนี้ จึงเป็นการร่วมมือกับองค์กรภายนอกได้ใช้ศักยภาพของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ได้อย่างสร้างสรรค์ครับ และก็ขอแสดงความยินดีกับผู้เข้ารางวัลทุกท่าน ซึ่งแต่ละท่านมาจากหลากหลายจังหวัด เช่น เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี สุรินทร์ พิษณุโลก สุพรรณบุรี และปัตตานี สร้างความประทับใจให้กับผู้ร่วมงานเป็นอย่างยิ่งครับและหวังว่าโครงการนี้จะมีต่อไปประจำทุกปีครับ"
นอกจากนี้ อาจารย์กฤติญา กวีจารุกรณ์ ผอ.สถานีโทรทัศน์ BTU Channel เลขาฯ โครงการ "คนดีของฉัน" และกรรมการตัดสิน ได้กล่าวถึงโครงการนี้ว่า"โครงการฯ นี้ ถึงแม้จะมีระยะเวลาการให้ส่งผลงานเข้าประกวดไม่นานคือประมาณเดือนครึ่ง มูลค่าเงินรางวัลก็เกณฑ์ปกติไม่ได้สูงนัก แต่ก็มีผู้สนใจส่งเข้าประกวดมากเกือบ 300 ผลงาน ก็หมายถึงว่า เงินรางวัลไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญ แต่หัวข้อ "คนดีของฉัน" ได้สร้างแรงบันดาลใจที่ให้ผู้เข้าประกวดอยากจะเล่าถึงใครสักคนที่เขาประทับใจและต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ว่าบุคคลเหล่านี้คือ คนดีของฉัน ดิฉันรู้สึกประทับใจ และขอชื่นชมผู้ที่ส่งเรียงความเข้าประกวดทุกท่านที่มีความตระหนักในเรื่องของการเชิดชูคนดีในสังคมให้เป็นสังคมแห่งการทำความดีที่ต่อเนื่องและควรยกย่องบุคคลที่ทำความดีให้ทราบโดยทั่วกัน เป็นค่านิยมที่น่ายกย่อง และขอขอบคุณมูลนิธิทรัพย์ปัญญาและคณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพธนบุรี ที่ได้ให้การสนับสนุนการประกวดเรียงความครั้งนี้ค่ะ"
ส่วนทางบรรณาธิการสำนักข่าวบางกอกทูเดย์ /นิตยสาร Bangkok Wealth & Biz ได้ให้ความเห็นในเรื่องของการประกวดครั้งนี้ว่า "ในฐานะกรรมการตัดสิน ผลงานของแต่ละประเภทนั้น มี่หลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ซึ่งหลักเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดในการตัดสินผู้ที่จะได้รับรางวัล คือ จะต้องไม่ลอกเลียนแบบหรือนำผลงานของผู้อื่นมาดัดแปลงเผยแพร่ ซึ่งเรียงความที่ได้รับรางวัลทุกผลงานมีความเป็น original หรือเป็นต้นฉบับที่เขียนขึ้นด้วยตนเองแท้ๆ ซึ่งการเล่าเรื่องราวของตนเอง หรือประสบการณ์ของตนเอง หรือแรงบันดาลใจจากบุคคลอื่น จากเหตุการณ์ที่ประสบด้วยตนเอง ส่วนเรื่องราวที่เป็นชีวประวัติของผู้อื่นที่นำมาเป็นส่วนประกอบซึ่งถ้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหน้าที่กำหนด เช่น กำหนด ๓ หน้า แต่นำข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาใส่เกือบ ๒ หน้าแล้วนั้น ก็อาจจะไม่ได้เข้าเกณฑ์ในเรื่องของความเป็นต้นฉบับของตนเองอย่างแท้จริงครับ"ทางด้านคุณเพชรลดา เฟื่องอักษร บรรณาธิการสำนักพิมพ์และนักเขียนนวนิยายมืออาชีพ ได้เสริมความคิดเห็นในเรื่องของคำว่าต้นฉบับซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของงานเขียน ว่า "การเขียนเรียงความถือได้ว่าเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คือต้องมีความรู้ในเรื่องการเขียนเรียงความที่มีทั้งบทนำ เนื้อเรื่องและสรุปให้ชัดเจน เพื่อนำเรื่องให้สู่จุดเป้าหมายหรือจบให้ลงตามวัตถุประสงค์ที่เราวางไว้ ซึ่งเนื้อหาหรือผลงานของแต่ละท่านที่ส่งเข้ามานั้นนับว่าทรงคุณค่าเพราะกว่าเราจะจรดปากกาลงบนกระดาษเปล่าๆ หรือจะพิมพ์เรียบเรียงเรื่องออกมาในแต่ละหน้านั้นต้องมีการวางแผนการเล่าเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ นับว่าการประกวดเรียงความครั้งนี้ เป็นการกระตุ้นทั้งด้านการส่งเสริมให้คนยกย่องเชิดชูคนทำดีแล้ว ยังฝึกฝนให้เยาวชนและประชาชนได้ฝึกการใช้ภาษาที่เหมาะสมและสร้างคุณค่าให้กับสังคมไปพร้อมกันด้วย"
ทั้งนี้ หลังจากพิธีมอบรางวัลเสร็จสิ้น ทีมงานคณะนิเทศศาสตร์ ก็ได้นำคณะผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน เที่ยวชมมหาวิทยาลัย ได้แก่ ศูนย์ผู้สูงวัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (senior complex) ซึ่งเป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจร และ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา(sports complex) ซึ่งมีฟิตเนส สนามมวย สนามฟุตบอล สนามแบดมินตัน ระดับมาตรฐาน เป็นสถานที่ฝึกซ้อมนักกีฬาทีมชาติ มีนักกีฬาทีมชาติที่มาฝึกซ้อมประจำ อาทิ น้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ ซึ่งกำลังศึกษาระดับปริญญาเอก อยู่ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ เยาวชนที่ได้เยี่ยมชมสถานที่อย่างยิ่ง
ที่มา: สำนักข่าวการศึกษาไทย