กทม.ติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังผลกระทบจากซีเซียม-137 ตรวจสอบร้านรับซื้อของเก่า - โรงหลอมในกรุงเทพฯ

ศุกร์ ๓๑ มีนาคม ๒๐๒๓ ๑๗:๒๗
นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม.กล่าวกรณีเกิดเหตุสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ จ.ปราจีนบุรี และถูกพบในโรงงานหลอมเหล็กแห่งหนึ่งใน อ.กบินทร์บุรี

ว่า กรุงเทพมหานคร โดย สปภ.ได้ติดตามสถานการณ์ เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันได้เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัย รถปฏิบัติการกู้ภัยสารเคมีและวัตถุอันตราย พร้อมเครื่องมือตรวจวัดรังสี ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2564 - 2570 และแนวทางปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ.2564 - 2570 โดยคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติได้จัดทำขึ้น เพื่อสนับสนุนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564 - 2570 ในการจัดการเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ และเป็นกรอบมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีทิศทางเดียวกัน อีกทั้งเมื่อวันที่ 1 - 2 ก.ย.2565 ผู้แทน สปภ.ได้เข้าร่วมการฝึกซ้อมฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีระหว่างหน่วยงานที่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อทบทวนความรู้ ซักซ้อม และเตรียมความพร้อมให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี รวมทั้งการประสานระหว่างหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น

นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวว่า สนอ.ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานประกอบการ ปี พ.ศ.2566 โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ สำนักงานเขต สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการโยธา กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และกรมธุรกิจพลังงาน เพื่อตรวจแนะนำความปลอดภัยด้านสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานประกอบกิจการที่มีการจัดเก็บ การผลิต การสะสม การขนส่ง และการใช้สารเคมีและวัตถุอันตรายในพื้นที่กรุงเทพฯ ดำเนินการระหว่างเดือน มี.ค. - พ.ค.2566 ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2565

สำหรับสถานประกอบการรับซื้อของเก่า จำนวน 663 ราย และโรงงานหลอมเหล็ก จำนวน 110 ราย ในพื้นที่กรุงเทพฯ สนอ.จะประสานสำนักงานเขตให้ตรวจสอบสถานประกอบการดังกล่าวระหว่างเดือน เม.ย. - มิ.ย.2566 เพื่อควบคุมกำกับตามอำนาจหน้าที่ว่ามีการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ รวมทั้งแนะนำและกำชับผู้ประกอบการเพิ่มความเข้มงวดการรับซื้อสิ่งของ เช่น การตรวจสอบลักษณะสินค้าและแหล่งที่มาให้ชัดเจน อาจสังเกตจากสัญลักษณ์ หรือรายละเอียดบนวัตถุนั้น ๆ รวมทั้งให้แยกจัดเก็บวัตถุตามประเภท เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและอัคคีภัย โดยตรวจสอบตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ฉบับที่ 5/2549 เรื่อง การควบคุมกิจการการสะสมวัตถุ หรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้ว หรือเหลือใช้ต่อไป

ที่มา: กรุงเทพมหานคร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version