บพท.รวมพลังทีมวิจัยมหาวิทยาลัย ชูธงวัฒนธรรมไทยสู่โลกเมตาเวิร์ส

พุธ ๐๕ เมษายน ๒๐๒๓ ๑๕:๒๓
บพท.ประสานพลังความรู้ทีมวิจัยมหาวิทยาลัย พัฒนาระบบฐานข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัล เดินหน้าพาทุนวัฒนธรรมไทย บุกโลกเมตาเวิร์สอวดคนทั้งโลก ควบคู่การต่อยอดขยายผลการใช้ประโยชน์ในการแก้จน ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่าบพท. ได้เชื่อมโยงความร่วมมือกับคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาต่อยอดขยายผล จากคุณค่าทุนวัฒนธรรมของไทย สู่มูลค่าเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ และเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ภายใต้กรอบงานวิจัยสู่การพัฒนาพื้นที่ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ

ในการดำเนินงานดังกล่าว พบว่า มีผลงานวิจัยดีเด่นด้านการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งมีคุณลักษณะโดดเด่นในการเชื่อมโยงความร่วมมือกับภาคีทุกภาคส่วนในพื้นที่ ในการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของทุนวัฒนธรรม เพื่อการสร้างเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม ที่มีพลังในการยกระดับความอยู่ดี กินดี มีความสุขแก่ประชาชนและเสริมสร้างความแข็งแรงแก่ชุมชนในพื้นที่ รวม 5 โครงการ

"ในจำนวน 5 ผลงานวิจัยดีเด่นด้านทุนวัฒนธรรม ได้แก่ 1).โครงการการจัดการพื้นที่และทุนทางวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ และวิสาหกิจวัฒนธรรม:การขยายพื้นที่และต่อยอดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม จังหวัดปัตตานี หรือโครงการวงแหวนพหุวัฒนธรรมเมืองปัตตานี ของมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2).โครงการนครหาดใหญ่บนฐานทุนวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ชุมชน ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3).โครงการการยกระดับทุนทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาการทำเทียน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างมูลค่าใหม่บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ย่านเมืองเก่า ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4).โครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนในเมืองพิมาย ด้วยทุนทางวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 5).โครงการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เมืองแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา"

ดร.กิตติ เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า นอกเหนือจากผลงานวิจัยดีเด่นแล้ว ยังมีผลงานวิจัยระดับดี ได้แก่ โครงการสมุทรสงครามอยู่ดี: การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ฐานนิเวศน์วัฒนธรรมและวิถีชุมชน ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และโครงการเย่อเด๊เน่อ: การบ่มเพาะและพัฒนานวัตกร ผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเครือข่ายบนฐานทุนศิลปวัฒนธรรมชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยง พื้นที่แถบเทือกเขาตะนาวศรี จังหวัดราชบุรี-เพชรบุรี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้อำนวยการ บพท.ชี้แจงด้วยว่า บพท.ได้ให้ความสำคัญกับงานวิจัยต่อยอดทุนวัฒนธรรมอย่างมาก โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2563-2565 ได้ร่วมกับ 43 มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับทุนวัฒนธรรม รวม 56 โครงการครอบคลุม 63 จังหวัด ก่อเกิดผู้ประกอบการวัฒนธรรมกว่า 6,400 ราย และสร้างรายได้แก่ชุมชนกว่า 200 ล้านบาท อีกทั้งยังได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลวัฒนธรรม ในรูปของเว็บไซต์ www.culturalmapthailand.info สำหรับใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าไปต่อยอดขยายผล โดยแผนที่วัฒนธรรม หรือ culturalmapthailand นี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนายกระดับไปสู่ความเป็น Cultuaral Atlas of Thailand และCultuaral Metaverse Thailand ในอนาคตอันใกล้นี้

"การลงทุนกับงานวิจัยทุนวัฒนธรรม ให้ผลตอบแทนที่ดีมาก คือเฉลี่ยทุกๆ 1 บาทของงานวิจัยเรื่องทุนวัฒนธรรม จะสร้างรายได้แก่คนในพื้นที่ได้ถึง 51 บาท และสร้างผลตอบแทนทางสังคมได้ถึง 6.90 บาท"

ที่มา: วิเสจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ