ดังนั้น อาหารฟังก์ชันถือเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคในการรักษาร่างกายหรือสุขภาพที่ดีผ่านการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าอาหารภายในประเทศ ซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารฟังก์ชันด้วย ดังนั้น มกอช. ได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนาเรื่อง "กฎระเบียบระบบอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารฟังก์ชันของญี่ปุ่น" ขึ้น เพื่อเรียนรู้กฎระเบียบอาหารฟังก์ชันของญี่ปุ่นเชิงลึก ทั้งด้านแนวความคิดในการพัฒนากฎระเบียบ การบังคับใช้ รวมถึงศึกษาแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับอาหารฟังก์ชันของญี่ปุ่นอย่างถูกต้อง ให้แก่ผู้ที่สนใจจากภาคการศึกษา มหาวิทยาลัย องค์กร และภาคเอกชน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยและญี่ปุ่น ที่ มกอช. ผลักดันให้เกิดขึ้น ภายใต้การประชุมคณะอนุกรรมการพิเศษร่วมในความร่วมมือด้านความปลอดภัยอาหาร กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานกิจการผู้บริโภคญี่ปุ่น (Consumer Affairs Agency) เพื่อถ่ายทอดความรู้ เรื่องกฎระเบียบอาหารฟังก์ชันของญี่ปุ่นเชิงลึก ทั้งด้านกฎระเบียบพื้นฐาน ตลอดจนถึงแนวความคิดในการพัฒนากฎระเบียบ การบังคับใช้ รวมถึงเป็นโอกาสในการศึกษาแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับอาหารฟังก์ชันของญี่ปุ่นที่ผ่านมาได้อย่างถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การผลักดันและส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารฟังก์ชันของไทย และเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและสมุนไพรของไทยต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้ มกอช. ได้บูรณาการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของอาหารและการบริโภคอาหาร ให้ความรู้และร่วมอภิปรายเกี่ยวกับกฎระเบียบการกล่าวอ้างเชิงสุขภาพในอาหารของไทย เพื่อเชื่อมโยงกับกฎระเบียบของญี่ปุ่น"การสัมมนาฯ ครั้งนี้ จะสร้างเสริมความเข้าใจในระบบและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอาหารฟังก์ชันของญี่ปุ่นอย่างถูกต้อง สามารถสอบถามประเด็นที่สนใจจากผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นโดยตรง รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการพัฒนาระบบส่งเสริมการขับเคลื่อนระบบอาหารเชิงหน้าที่ที่มีการกล่าวอ้างเชิงสุขภาพของประเทศไทยได้ ตามที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องภายใต้คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพและมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารของไทยต่อไป"เลขาธิการ มกอช. กล่าว
ที่มา: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ