ต้องเพิ่มความสูงของสะพานไม้ไผ่เป็น 150 ซม. ต้นโกงกางที่ปลูกในแปลงที่ 1, 2, 5 และ 6 มีความเจริญเติบโตได้ดี มีอัตราการรอดร้อยละ 90 เป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน เพิ่มอัตราการรอดของต้นกล้าโกงกางในแปลงปลูกที่ 3, 4, 7 และ 8 ซึ่งเป็นแปลงประสบปัญหาต้นกล้าเสียหายจากความแรงของคลื่นทะเลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 โดยปรับรูปแบบการปลูกเป็นการปลูกในท่อซีเมนต์ เพื่อช่วยยกระดับต้นกล้าไม่ให้จมน้ำเป็นเวลานาน เลียนแบบการปลูกตามธรรมชาติและใช้ท่อซีเมนต์ช่วยชะลอคลื่นแทนแนวไม้ไผ่ที่มีอายุการใช้งานระยะสั้น
สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการกัดเซาะ สำนักงานเขตฯ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยการจัดเจ้าหน้าที่ดูแลต้นโกงกางในแปลงปลูกที่ 1 - 8 ให้มีความเจริญเติบโต เช่น การเปลี่ยนไม้หลักที่ชำรุด การเติมดินเลนในท่อซีเมนต์ การเพาะพันธุ์ต้นกล้า เพื่อปลูกเพิ่มและทดแทนต้นที่เสียหาย เป็นต้น ขณะเดียวกันได้ประสานหน่วยงานภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ทั้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นิคมสหกรณ์บ้านไร่ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งสร้างศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลนบางขุนเทียน เพื่อใช้เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยรูปแบบเป็นการทำแนวทางเดินสะพานไม้ไผ่ภายในศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อให้สามารถสัมผัสกับระบบนิเวศน์ป่าชายเลนบางขุนเทียนอย่างใกล้ชิดให้ผู้มาเยี่ยมชมเกิดความตระหนักถึงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง หากไม่ได้รับความร่วมมือในการแก้ไขจะส่ง ผลกระทบกับประชาชนต่อไปในอนาคต
ที่มา: กรุงเทพมหานคร