หัวเว่ยจัดการประชุมสุดยอดด้านเทคโนโลยีเครือข่ายในหัวข้อ "นวัตกรรมที่ต่อเนื่องด้าน IP โดเมน ขับเคลื่อนการเติบโตใหม่"

ศุกร์ ๒๑ เมษายน ๒๐๒๓ ๑๐:๔๗
ในระหว่างการประชุมเอ็มพีแอลเอส เอสดี แอนด์ เอไอ เน็ต เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2566 (2023 MPLS SD & AI Net World Congress) หัวเว่ย (Huawei) ได้จัดการประชุมสุดยอดด้านเทคโนโลยีภายใต้หัวข้อ "นวัตกรรมที่ต่อเนื่องด้าน IP โดเมน ขับเคลื่อนการเติบโตใหม่" (Continuous Innovation in IP Domain, Boost New Growth) ขึ้น ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าปารีส (Paris Exhibition Center) เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเครือข่ายเป้าหมาย วิวัฒนาการของโปรโตคอล และเทคโนโลยีอัตโนมัติเพื่อช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถสร้างเครือข่าย IP แบบรวมเพื่อการยกระดับประสิทธิภาพ พร้อมนำเสนอโซลูชันและสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่มีการจัดการแบบดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเปลี่ยนจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เป็นผู้ให้บริการที่มีการจัดการ (MSP) และขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ ๆ ด้านบริการแบบ B2B

คุณซาเมียร์ มาลิก (Sameer Malik) นักวิเคราะห์อาวุโสของออมเดีย (Omdia) กล่าวถึงแนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมว่า การใช้งาน 5G ในสเกลใหญ่และกิกะบิตโฮมบรอดแบนด์ทั่วโลก รวมถึงการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรม ไม่เพียงแต่จำเป็นต้องอาศัยแบนด์วิดท์เพิ่มขึ้นจากผู้ให้บริการเครือข่ายเท่านั้น แต่ยังต้องพึ่งพาการเชื่อมต่ออัจฉริยะเพื่อส่งมอบบริการต่าง ๆ ที่มีการรับรอง SLA ที่แตกต่างออกไป ทั้งหมดนี้เมื่อรวมเข้ากับความได้เปรียบด้านเครือข่ายจะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถขยายบริการ B2B ได้

ในแง่ของสถาปัตยกรรมเครือข่าย คุณกู่ รุ่ย (Gu Rui) รองประธานสายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเครือข่ายเป้าหมาย IP ที่มุ่งเน้นอนาคต โดยอธิบายว่าสถาปัตยกรรมดังกล่าวต้องประกอบด้วยอัลตราบรอดแบนด์ บริการขนส่งเต็มรูปแบบ ระบบอัตโนมัติระดับสูง บริการแบบครบวงจร และการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น Wi-Fi 7, 800GE และสถาปัตยกรรมที่เป็นอิสระแยกออกจากกันนั้น จะช่วยสร้างเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานอัลตราบรอดแบนด์เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสบการณ์ผู้ใช้ขั้นสูงสุด แพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ที่ครอบคลุมและการแบ่งส่วนเครือข่าย (network slicing) เป็นไปตามข้อกำหนดการขนส่งแบบรวมและมอบการรับรอง SLA ที่แตกต่างกัน ระบบอัตโนมัติระดับสูงถูกใช้งานโดยอิงจาก SRv6 และแผนที่ดิจิทัลบนเครือข่าย มอบบริการแบบครบวงจรสำหรับลูกค้า B2B ผ่าน IP เครือข่ายส่วนตัวของผู้ให้บริการที่มีเครือข่ายการจัดการแบบดิจิทัล นอกจากนี้ นวัตกรรมประหยัดพลังงานและลดการปล่อยมลพิษในระดับอุปกรณ์ เครือข่าย และการปฏิบัติงานจะช่วยสร้างเครือข่าย IP ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับประกันการพัฒนาเครือข่ายแบบยั่งยืน

ในแง่ของวิวัฒนาการโปรโตคอล คุณโรบิน หลี่ (Robin Li) หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านโปรโตคอล IP ของหัวเว่ย กล่าวว่า SRv6 เป็นหนึ่งในโปรโตคอลที่ดีที่สุดสำหรับการวิวัฒนาการของเครือข่าย IP มาตรฐานและเทคโนโลยี SRv6 กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันมีเครือข่ายมากกว่า 160 แห่งทั่วโลกที่หันมาใช้ SRv6 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ คุณคาร์สเตน รอซเซนฮอเฟล (Carsten Rossenhoevel) ผู้ร่วมก่อตั้งและซีทีโอประจำศูนย์ทดสอบเครือข่ายขั้นสูงของยุโรป (EANTC) ยังได้นำเสนอผลการทดสอบความสามารถของ SRv6 ในปี 2566 ด้านการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ค้าหลายราย โดยมีผู้ค้ารายใหญ่จำนวน 8 รายรวมถึงหัวเว่ยเข้าร่วมการทดสอบ การทดสอบ SRv6 ดังกล่าวครอบคลุมทุกสถานการณ์การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นโปรโตคอลการกำหนดเส้นทางพื้นฐาน, นโยบาย SRv6, การบีบอัดข้อมูลเฮดเดอร์, ความน่าเชื่อถือ, การดำเนินงาน ดูแลและบำรุงรักษา (OAM) โดยในช่วงหกปีที่ผ่านมา เริ่มมีผู้ค้าจำนวนมากขึ้นเข้าร่วมในการทดสอบการทำงานร่วมกันของ SRv6 ทำให้สถานการณ์การใช้งานต่าง ๆ ได้รับการตรวจสอบอย่างสมบูรณ์แบบ

ในแง่ของระบบอัตโนมัติ คุณอู่ ฉิน (Wu Qin) สมาชิกคณะกรรมการสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตประจำคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) กล่าวว่า ยุคของเครือข่ายอัตโนมัติ (AN) ได้มาถึงแล้ว เทคโนโลยี AN กำลังมุ่งสู่การพัฒนาด้านความสามารถในการตั้งโปรแกรมเครือข่ายและการเปิดกว้าง การแยกส่วนการใช้งานออกจากข้อกำหนดบริการ การแปลงเครือข่ายเป็นดิจิทัล การจัดการอัจฉริยะ รวมถึงทิศทางสำคัญอื่น ๆ แผนที่ดิจิทัลของเครือข่ายที่ใช้การวัดและส่งข้อมูลทางไกลจะช่วยแสดงภาพเครือข่ายในมิติต่าง ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน, เครือข่าย, ชิ้นส่วน, เส้นทาง, บริการ และแอปพลิเคชัน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบการตั้งค่าและการทำงานของเครือข่าย รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูล ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถจัดการเครือข่ายทางกายภาพได้ดียิ่งขึ้นด้วยขีดความสามารถทางดิจิทัล

ในแง่ของบริการ B2B โดยผู้ให้บริการเครือข่าย คุณเหวิน หุนจือ (Wen Huizhi) หัวหน้าสถาปนิกด้านโซลูชันของสายการผลิตการสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย ได้อธิบายเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมและโซลูชันสำหรับบริการเครือข่ายที่มีการจัดการแบบดิจิทัล โดยระบุว่าผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีการออกแบบ 5 ด้าน ประกอบด้วยเครือข่ายทางกายภาพ, เครือข่ายผู้ใช้, การบำรุงรักษา, ความปลอดภัย และบริการ ตลอดจนจัดเตรียมความสามารถด้าน NaaS เพื่อตอบสนองการรับรองที่แตกต่างกัน, การทำงานร่วมกันข้ามโดเมน, การป้องกันทุกสถานการณ์ และข้อกำหนดด้านการบำรุงรักษาในระดับผู้เช่า

ท้ายสุด คุณจัว เหมิง (Zuo Meng) รองประธานสายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า หัวเว่ยพร้อมที่จะทำงานร่วมกับผู้ให้บริการและพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมวิวัฒนาการของเครือข่าย IP เป้าหมาย สร้างเครือข่าย IP อัลตราบรอดแบนด์แบบรวมที่ดีกว่า สำรวจสถานการณ์การใช้งาน บริการ และ โมเดลธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จทางธุรกิจและขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ ๆ

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2059191/Zuo_Meng_Vice_President_Huawei_s_Data_Communications_Product_Line.jpg
คำบรรยายภาพ - คุณจัว เหมิง (Zuo Meng) รองประธานสายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ