นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่า "เราต้องการผลักดันให้กลุ่ม M-SMEs สามารถแข่งขันและก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดโลกได้ รวมทั้งผลักดันให้ไทยกลายเป็น Hub แห่งนวัตกรรมใหม่ๆในกระบวนการผลิต ซึ่งในปีนี้สภาวะสถานการณ์โรคอุบัติโควิด-19 ที่ผ่อนคลายลง ทำให้เราสามารถผลักดันในแง่การสร้างการรับรู้สู่กลุ่มต่างชาติและการเดินทางมาได้เต็มรูปแบบ ดังนั้น แน่นอนว่าในปีนี้เราผลักดันและสนับสนุนกลยุทธ์ในการเป็นหนึ่งในงานที่จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรม MICE ให้เติบโตตามนโยบายภาครัฐ"
นางสาวรุ้งเพชร กล่าวเพิ่มเติมว่า "อุตสาหกรรมอาหารไม่ได้อยู่เพียงโดดเดี่ยว แต่เราเป็นหนึ่งในMICE ที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ เป็น Soft Power ทางด้านวัฒนธรรมอาหาร เป็นแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างชาติให้เข้าประเทศ ดังนั้น การเสริมความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมอาหารตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องช่วยกันสร้างขึ้นมา นอกจากนั้น การจัดงานในครั้งนี้ มุ่งหวังให้เป็นการจุดประกายระบบ Ecosystem แบบครบวงจร ของอุตสาหกรรมทั้งในส่วนของ Processing และ Packaging เรียกว่าครบทั้งกระบวนการแบบครบวงจร"
ภายในงานแถลงข่าวยังมีกิจกรรม ได้รับเกียรติจากเหล่าผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารแห่งอนาคตไทย, คุณสายันต์ ตันพานิช ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยสู่เชิงพานิชย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, คุณเจริญ แก้วสุกใส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์
โดย คุณเจริญ แก้วสุกใส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เล่าถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มของไทยได้อย่างน่าสนใจว่า ในปี 2565 ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารและเครื่องดื่ม เป็นจำนวน 1.54 ล้านๆ บาท เป็นสินค้าเกษตร อาหาร 0.74 ล้านๆ บาท (48%) สินค้าอาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่ม 0.80 ล้านๆ บาท (52%) เป็นผู้ผลิตและส่งออกอันดับ 13 ของโลก เป็นอันดับที่ 4 ของเอเซีย ส่วนยอด ขายภายในประเทศไม่น้อยกว่าการส่งออก การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และการประมง จนถึง โรงงาน แปรรูปขั้นต้น แปรรูปขั้นกลาง และ แปรรูปขั้นที่สำคัญ คือการนำเทคโนโลยีมาใช้ การ ถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาต่าง ๆ เพื่อนำสินค้าต่างๆ สู่การพานิชย์ สิ่งที่ ผู้ประกอบการควรคำนึงหรือตะหนัก คือเรื่ององศ์ประกอบ Foods 3S ได้แก่ 1) Food Safety ความปลอดภัยอาหาร 2) Food Security ความมั่นคงด้านอาหาร และ 3) Food Sustainability ความมั่นคงทางด้านอาหาร
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ ได้กล่าวเสริมเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ ที่เกิดจากการบูรณาการกับภาคเอกชนว่า "FIN ในฐานะที่เป็นหน่วยงานวิชาการ ที่มุ่งเน้นการบริหารโดยใช้แนวทาง SDGs หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และให้การบริการผู้ประกอบการ แบบ 3C ได้แก่ C1 : Creative Food & Packaging, C2: Consolidated Precision Testing, C3: Connect เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ นำนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน ความร่วมมือกับ ฟู้ด เทคโนโลยี อีเว้นท์ส บาย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ธุรกิจ ในระดับภุมิภาคและมุ่งสู่ระดับสากลอย่างแท้จริง และเป็นการสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานไปยังหน่วยงานภายนอกในระดับมหาภาค ที่จะสามารถร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารของไทย เนื่องจากอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ เป็นแพลตฟอร์มหรือเวทีการแสดงสินค้าและนวัตกรรมระดับโลก และมีความเชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้จัดงานในการผลักดันอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยเฉพาะงานในภายใต้การกับกับดูแลของ คุณรุ้งเพชร ถือว่าเบ็ดเสร็จจบกระบวนการตั้งแต่การกระบวนการผลิต การคัดสรรบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ต่อตัวสินค้า และ เป็นแหล่งร่วมของวัตถุดิบเผื่อการผลิตอาหารและเครื่องดื่มจากทั่วโลก ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นโอกาสดีที่ได้ร่วมมือกันผลักดันงานวิจัยเพื่อประโยชน์เชิงอุตสาหกรรม ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันศึกษา ค้นคว้า และวิจัย โดยการสร้างสรรค์นวัตกรรม สู่การใช้ประโยชน์ในพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ในวงกว้าง และยกระดับผลิตภัณฑ์ของไทยเพื่อการส่งออก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมตลอดจนช่วยยกระดับเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพาเยี่ยมชมโรงงานและโครงการต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ พร้อมเรื่องนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านส่วนผสมอาหาร ของประเทศไทย อาทิ
- โครงการ The BCG Initiatives program at CMU Mae Hia ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากการใช้ประโยชน์และต่อยอดงานวิจัยจากทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ ส่งเสริมการบูรณาการศาสตร์ความรู้ที่หลากหลายเกิดงานวิจัยที่มุ่งเป้าและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในพื้นที่แม่เหียะ
- โรงงานซีพีแรม จังหวัดลำพูน เป็นครัวขนาดใหญ่ มีบทบาทสำคัญเรื่องการผลิตอาหารแช่เย็น-แช่แข็งพร้อมรับประทาน โรงงานภาคเหนือ เป็นการผลิต ช่วยเสริมสร้างศักยภาพการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจและการสร้างงาน สร้างรายได้ในพื้นที่ 13 จังหวัดของภาคเหนือ
- YoRice เจ้าของผลิตภัณฑ์ YoRice Amazake ผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าว ที่เรียกว่า สาเกหวานไร้แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มจากข้าวที่เกิดจากการหมัก มีประโยชน์กับร่างกาย อุดมไปด้วยวิตามิน B, กรดอะมิโน และสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงนับว่าเป็นอีกหนึ่ง Super Foodแห่งยุคสมัย
- Sunsweet ผลิตและจำหน่ายข้าวโพดหวานแปรรูปและสินค้าเกษตรอื่นๆ ภายใต้แบรนด์ "KC" และผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหาและจำหน่ายอาหาร และสินค้าเกษตรเพื่อรองรับลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันขยายตลาดให้กับลูกค้าในกว่า 50 ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน
- Nithi Food เป็นผู้ผลิตเครื่องเทศคุณภาพสูงสำหรับอุตสาหกรรม มาเป็นเวลา 19 ปี ตั้งแต่ปี 2541 ได้เปิดแบรนด์ - Pocket Chef & East Kitchen รวมถึง "Let's Plant Meat" เป็นเนื้อสัตว์ปลอดสารจากสัตว์ทางเลือกที่ทำจากพืชที่ส่งเสริมสุขภาพ ขยายงานวิจัยด้านการพัฒนารสชาติสำหรับวิสาหกิจอื่นๆ มีจุดยืนเป็น "บริษัทเกษตรสร้างสรรค์"
ทั้งนี้ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กำลังจะจัดงานมหกรรมแห่งปีถึง 2 งาน ได้แก่ "ProPak Asia 2023" (โพรแพ็ค เอเชีย 2023) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14 - 17 มิถุนายน 2566 และ "Fi Asia 2023" (ฟู้ด อินกรีเดียนส์ เอเชีย 2023) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 20 - 22 กันยายน 2566 ภายใต้การผนึกความร่วมมือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมร่วมเป็นหนึ่งในการกระตุ้นตลาด MICE เติบโตตามนโยบายภาครัฐดันไมซ์ไทยสู่ไมซ์โลก พร้อมมั่นใจศักยภาพดึงต่างชาติเข้าร่วมแสดงนวัตกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สำหรับทั้ง 2 งาน
ที่มา: ฟีนอมมีนอล พีอาร์