วว. จับมือ ธกส. ผลักดันโครงการ "กล้วยทางเลือกเพื่อทางรอด" นำนวัตกรรมเพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพส่งออกกล้วยหอมอุบลราชธานี

พฤหัส ๒๗ เมษายน ๒๐๒๓ ๑๔:๓๓
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี นำเทคโนโลยี นวัตกรรม เพิ่มผลผลิตกล้วยหอม พร้อมยกระดับคุณภาพการส่งออกตามปริมาณความต้องการของคู่ค้าประเทศญี่ปุ่น ภายใต้แผนงานโครงการ "กล้วยทางเลือกเพื่อรอด" เพื่อส่งเสริมพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน
วว. จับมือ ธกส. ผลักดันโครงการ กล้วยทางเลือกเพื่อทางรอด นำนวัตกรรมเพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพส่งออกกล้วยหอมอุบลราชธานี

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์ นักวิจัยอาวุโส ศนก. และนายจิรวัฒน์ วัฒนบุตร ผู้อำนวยการ กองบริการธุรกิจนวัตกรรม วว. ลงพื้นที่ร่วมกับผู้บริหารและทีมงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เพื่อร่วมกันให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นให้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฟรุทส์ฟาร์ม และกลุ่มสมาชิกเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมในพื้นที่ อำเภอเดชอุดมและอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในการนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ วว. ได้แก่ การลดต้นทุนการเพาะปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์เคมีสั่งตัด การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อการจัดการคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิตกล้วยหอมให้ได้ปริมาณและคุณภาพตามมาตรฐานการส่งออก การทำกล้วยหอมต้นเตี้ยเพื่อลดความเสียหายจากวาตภัย และการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช โดยในระหว่างการลงพื้นที่ดังกล่าว นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการ ธ.ก.ส. ได้เข้าร่วมประชุมทางไกลกับทีมงาน ธกส. ทีมผู้บริหาร/นักวิจัย วว. และประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อติดตามผลการลงพื้นที่และแนวทางการจัดทำแผนงานโครงการที่จะดำเนินการต่อไป เมื่อวันที่ 26 - 27 เมษายน 2566 ณ จังหวัดอุบลราชธานี

ทั้งนี้ วว. และ ธกส. จะร่วมกันพัฒนาแผนงานโครงการ "กล้วยทางเลือกเพื่อทางรอด" และแนวทางการดำเนินการร่วมกันในระยะต่อไป เพื่อช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจและกลุ่มเกษตรกรสมาชิก สามารถเพิ่มผลผลิตและยกระดับคุณภาพให้สามารถส่งออกกล้วยหอมได้เพิ่มมากขึ้น ตามปริมาณความต้องการของคู่ค้าในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันทางกลุ่มสามารถส่งออกได้เพียงร้อยละ 10 ของปริมาณความต้องการ

โดยการร่วมกันแก้ไขปัญหาการส่งออกกล้วยหอม เป็นการดำเนินงานภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง วว. และ ธกส. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร ในการนำผลงานวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์ในการผลิต การแปรรูป การตลาด และสร้างความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืน ให้แก่เกษตรกร ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของ ธกส. ภายใต้โครงการการบูรณาการการออกแบบ-การจัดการ เชิงพื้นที่ "แก้หนี้ แก้จน" ตามแนวทาง D&MBA : Design & Manage by Area เพื่อยกระดับรายได้และแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๐ พี อาร์ จี ร่วมยินดีเปิด สนามพิคเคิลบอล แห่งใหม่ที่ริเวอร์เดล มารีน่า
๑๖:๐๖ วว. คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช / วิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
๑๖:๓๙ TIME Consulting จับมือ Orbus Software และ Stelligence จัดงาน AI-DATA SYNERGY: CRAFTING A DATA DRIVEN FUTURE
๑๖:๓๔ คณะจากสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดอุดรธานี ศึกษาดูงานโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย
๑๖:๐๒ จีนโปรโมตกิจกรรม China in Children's Chorus สืบสานศิลปะการแต่งเพลงสำหรับเด็กให้เปล่งประกายโดดเด่นในยุคสมัยใหม่
๑๖:๑๔ คิง เพาเวอร์ เปิดบูติกนาฬิกาแฟรงค์ มุลเลอร์ 2 แห่งใหม่ ณ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ และ คิง เพาเวอร์ ศรีวารี
๑๖:๑๖ WP ประเมินผลงานโค้งสุดท้ายโตแกร่ง! ความต้องการใช้ก๊าซ LPG คึกคัก -เน้นกลยุทธ์คุมต้นทุนอยู่หมัด มั่นใจดันยอดขายเข้าเป้าแตะ 8.2
๑๖:๓๗ โรงพิมพ์กรังด์ปรีซ์ฯ รับรางวัล BRONZE AWARD ใน การประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติ ครั้งที่ 17 ประเภทระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ต จากสมาคมการพิมพ์ไทย ประจำปี
๑๖:๕๕ เอเชี่ยน เคมิคัล จำกัดเข้าร่วมโครงการระบบการบริหารจัดการความปลอดภัย เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินจากสารเคมีในโรงงาน
๑๖:๐๗ NILA พาออกเดินทางเลียบชายฝั่งประเทศอินเดีย สัมผัสรสชาติอาหารท้องถิ่น กับ 'เทสติ้ง เมนู' ใหม่